Thursday, 19 December 2024

พลุระเบิดซ้ำซาก อะไรคือ..จุดอ่อน

22 Jan 2024
126

เกิดเหตุโรงงานพลุกลางทุ่งนาระเบิดอย่างรุนแรงที่บ้านข่อยงาม หมู่ ๓ ตำบลศาลาขาว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ตาย ๒๐ ศพ โดยอ้างว่ามีใบอนุญาตถูกต้อง…ประเด็นสำคัญมีว่าโรงงานนี้ เคยเกิดระเบิดมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕…มีคนงานเสียชีวิต ๑ ศพ บาดเจ็บ ๓ คนเหตุการณ์เช่นนี้…เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เสมือนทำได้แต่เพียงวัวหายแล้วก็มาล้อมคอก?อาจารย์สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อม บอกว่า ส่วนประกอบหลักของ “พลุ” และ “ดอกไม้ไฟ” เกิดจากการผสมกันของสารเคมีหลากหลายชนิดที่สำคัญคือสารโปแตสเซียมเปอร์คลอเรต, สารซัลเฟอร์หรือกำมะถันและสารออกซิไดซ์อื่นๆทำหน้าที่ให้ก๊าซออกซิเจนเพื่อให้เกิดการเผาไหม้ สารเคมีที่ใช้จะเป็นพวกสารไนเตรทคลอเรตหรือเปอร์คลอเรต เช่น แอมโมเนียมเปอร์คลอเรต, แบเรียมไนเตรท, โปแตสเซียมไนเตรท, สตรอนเทียมไนเตรทหากมีความร้อนหรือประกายไฟเกิดขึ้นจะเกิดการระเบิดขึ้นอย่างรุนแรงtt ttอาจารย์สนธิ คชวัฒน์คำถามมีว่า…กฎหมายการขออนุญาตการตั้งโรงงานพลุ ดอกไม้ไฟ เป็นอย่างไร?คำตอบก็คือ ตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.๒๕๓๕ กำหนดให้ “พลุ” “ดอกไม้ไฟ” หรือ “ดอกไม้เพลิง” เป็นวัตถุอันตรายโดยจัดเป็นวัตถุระเบิดชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีดินปืนเป็นส่วนประกอบหลัก สถานประกอบการหรือโรงงานผลิตจึงต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน และได้รับใบอนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมายพร้อมกับดำเนินการตามมาตรฐานความปลอดภัยทุกขั้นตอน ที่สำคัญไม่อนุญาตให้ดัดแปลงที่พักอาศัยเป็นโรงงานผลิตพลุและดอกไม้ไฟถัดมา…ตามประกาศร่วมกันระหว่างกระทรวงกลาโหม, มหาดไทย, สาธารณสุข, แรงงาน และอุตสาหกรรมเรื่องหลักเกณฑ์การควบคุมและการกำกับดูแลการผลิต การค้า การครอบครอง การขนส่งดอกไม้เพลิงและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตดอกไม้เพลิง พ.ศ.๒๕๔๗ซึ่งในส่วนของการผลิตมีข้อบังคับคือกำหนดลักษณะของอาคาร สถานที่หรือบริเวณที่ผลิตดอกไม้ไฟต้องไม่ตั้งอยู่ในชุมชน กำหนดระยะห่างจากอาคารอื่นๆและห่างจากแนวรั้วอย่างน้อย ๒๐ เมตรโดยรอบ ต้องเป็นอาคารเอกเทศชั้นเดียว ต้องติดสายล่อฟ้าที่มีประสิทธิภาพ อาคารต้องสร้างด้วยวัสดุไม่ติดไฟ มั่นคง แข็งแรง ป้องกันไฟจากภายนอกลุกลามเข้าภายในได้ พื้นต้องเป็นวัสดุที่ไม่ก่อประกายไฟ ราบเรียบ ไม่ลื่น ไม่แตก ทำความสะอาดง่าย ไม่ดูดซับของเหลวหรือสารเคมี ต้องถ่ายเทอากาศได้ดีและมีข้อกำหนด “ห้ามทำการใดๆหรือกิจการใดๆที่อาจทำให้เกิดประกายไฟหรือความร้อน เช่น การปรุงอาหาร การจุดธูปเทียน การเจาะ การเชื่อมและประสานโลหะหรือสิ่งอื่นใด เป็นต้น หากดำเนินการดังกล่าวต้องอยู่ห่างจากอาคารหรือสถานที่ใช้ผลิตดอกไม้ไฟอย่างน้อย ๑๕ เมตร”สาม…ขั้นตอนการตั้งโรงงานผู้ประกอบการจะต้องขออนุญาตจากนายอำเภอและนายอำเภอจะเป็นผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตโดยใบอนุญาตจะมีอายุเพียง ๑ ปี ดังนั้นจึงต้องขออนุญาตปีต่อปีโดยต้องแจ้งรายละเอียดชนิดของพลุ วัตถุที่เป็นส่วนประกอบ จำนวน ปริมาณอย่างละเอียดเพราะถือเป็นวัตถุอันตรายและต้องขออนุญาตจากเทศบาล หรือ อบต.เป็นไปตาม พระราชบัญญัติการสาธารณสุข ๒๕๓๕ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน และต้องขออนุญาตจากอุตสาหกรรมจังหวัด ส่วนตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตรายtt tttt ttพุ่งเป้าไปที่…กรณีโรงงานทำพลุระเบิดที่สุพรรณบุรีนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วมีผู้เสียชีวิต ๑ ราย บาดเจ็บหลายคนแต่…ก็ยังเปิดดำเนินการต่อไปได้จนมาเกิดระเบิดอีกในวันนี้ตาย ๒๐ ราย…คงต้องมีอะไรในขั้นตอนการอนุญาตที่ผิดพลาด?อาจารย์สนธิ ย้ำว่า ความปลอดภัยในโรงงานผลิตพลุ ดอกไม้ไฟตามหลักสากล…สอดคล้องกับกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงแรงงาน เริ่มจากการผลิตดอกไม้ไฟจะมีการใช้สารเคมีซึ่งทำหน้าที่สำคัญ ๖ ส่วน ด้วยกันคือ เชื้อเพลิง สารที่นิยมใช้เป็นเชื้อเพลิง ได้แก่ ดินปืน สารออกซิไดซ์ ทำหน้าที่ให้ออกซิเจนเพื่อให้เกิดการเผาไหม้สารเคมีที่ใช้จะเป็นพวกไนเตรทคลอเรต หรือเปอร์คลอเรต, สารรีดิวซ์ ทำหน้าที่เผาไหม้ออกซิเจนที่สารออกซิไดซ์ปลดปล่อยออกมา เพื่อให้เกิดก๊าซร้อน, สารควบคุมความเร็วของการเผาไหม้ โดยโลหะบางชนิดจะถูกเติมลงไปเพื่อควบคุมความเร็วของปฏิกิริยาเผาไหม้ ความเร็วของปฏิกิริยาโดยแปรผันตามพื้นที่ผิวของโลหะ สารที่ทำให้เกิดสี ตัวอย่างเช่น สตรอนเทียมให้สีแดง, ทองแดงให้สีน้ำเงิน, แบเรียมให้สีเขียว, โซเดียมให้สีเหลืองและส้ม และแคลเซียมให้สีส้ม, ตัวประสาน ทำหน้าที่ยึดส่วนผสมต่างๆให้เกาะติดกันสารที่นิยมใช้ ได้แก่ เด็กทริน นอกจากนี้ยังมีสารที่ให้คุณสมบัติพิเศษอื่นๆ เช่น แมกนีเซียมซึ่งจะให้แสงสว่างจ้ามากๆ ใช้เพื่อเพิ่มความสว่างไสวของดอกไม้ไฟtt tttt ttสำหรับการป้องกันการระเบิดและเกิดเพลิงไหม้กำหนดว่า…ผู้ผลิตต้องไม่สูบบุหรี่ในอาคารผลิต ไม่มึนเมาจากแอลกอฮอล์หรือยาที่ทำให้ง่วงนอน…มีชุดปฏิบัติงานให้เปลี่ยนก่อนเข้าทำงาน และห้ามสวมชุดปฏิบัติงานออกนอกอาคารผลิต จัดสถานที่เปลี่ยนเสื้อผ้า ล้างทำความสะอาดไว้เฉพาะ ทำความสะอาดอาคารสถานที่ให้ปราศจากฝุ่นและขยะกรณีหากมีวัตถุดิบรั่วไหลต้องทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายจากบริเวณที่หกทันที ใช้ทรายดูดซับวัตถุดิบที่หกแล้วนำไปฝังกลบ…อุณหภูมิภายในโรงงานผลิตต้องไม่เกิน ๓๐ องศาเซลเซียส และต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับพื้นฐานดูแลและจัดทำเอกสารความปลอดภัยในการทำงาน ต้องจัดหาเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งอย่างเพียงพอ อย่างน้อยๆ ๒ เครื่องทุกๆ ๑๐๐ เมตรนอกจากนี้ให้รู้กันต่อไปอีกเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยในส่วนกระบวนการผลิต มีว่า หนึ่ง…กรรมวิธีการผลิตต้องไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ เปลวไฟ ความร้อนสอง…การชั่งวัตถุดิบต้องใช้แผ่นกระดาษที่สะอาดรองก่อน เมื่อชั่งและเทวัตถุดิบออกแล้วให้ทิ้งกระดาษที่ใช้แล้วลงในถังน้ำสาม…ห้ามเปิดฝาภาชนะบรรจุวัตถุดิบทิ้งไว้สี่…การผสมวัตถุดิบต้องผสมทีละครั้ง…ครั้งละปริมาณน้อยๆ การผสมต้องทำในที่มีอากาศระบายได้ดีtt ttห้า…ภาชนะที่ใช้ผสมต้องไม่ทำจากโลหะ ห้ามบด โม่ หรือป่นวัตถุดิบพร้อมกันในภาชนะเดียวกัน ห้ามอัด ตอก หรือกระทุ้งส่วนผสมวัตถุดิบในการผลิตดอกไม้ไฟในภาชนะรูปทรงกระบอกหก…ห้ามเก็บวัตถุดิบไว้ในสถานที่ผลิตเด็ดขาด ต้องเก็บวัตถุดิบที่ผสมแล้วในภาชนะปิดสนิท และนำมาใช้ผลิตได้ไม่เกิน ๒๐๐ กิโลกรัมเจ็ด…ให้เก็บดอกไม้ไฟไว้ในอาคารผลิตได้ไม่เกิน ๑๐๐ กก. ต้องมีระบบกำจัดฝุ่นละอองในอาคาร ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ต้องจัดให้มีการอบรมผู้ปฏิบัติงานและมีชุดปฐมพยาบาลพร้อม“พลุระเบิด”…กฎหมายมีควบคุมรัดกุม แต่เกิดเหตุซ้ำซาก อะไรที่เป็นช่องว่างจุดอ่อน.tt ttคลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม