Sunday, 19 January 2025

ขุมทรัพย์ใต้ทะเลไทย-กัมพูชา

อีกขุมทรัพย์ใต้ทะเลที่ว่ามีมูลค่ามหาศาล เนื่องจากมีการสำรวจเบื้องต้น แล้วพบว่ามีก๊าซปริมาณมาก คือพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่าง “ไทย-กัมพูชา”ว่ากันว่าพื้นที่มีความแน่นอนกว่าสินทรัพย์ใต้ดิน ที่กำลังถกเถียงกันว่าของจริงหรือของปลอม คือ “ลิเทียม” ซึ่งเป็นแร่ที่นำไปผลิตแบตเตอรี่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า ที่กำลังเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมของโลกอีกครั้งเปลี่ยนจาก “นํ้ามัน” เป็น “ไฟฟ้า”แต่ข่าวนี้ยังไม่ยืนยันชัดเจนว่า มีความแน่นอนแค่ไหน ที่ว่าจะทำให้ไทยมีแร่ชนิดนี้ถึง ๑๔.๖ ล้านตัน มากเป็นอันดับ ๓ ของโลก แร่ชนิดนี้พบมากที่พังงาหากเป็นความจริงตามนี้ก็จะสอดรับกับการที่ไทยเชิญชวนบริษัทยักษ์ใหญ่ระดมให้มาลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยถ้าไม่เป็นไปตามนั้นก็แล้วไป…เดือนกุมภาพันธ์ “ฮุนมาเน็ต” นายกรัฐมนตรีกัมพูชา จะเดินทางเยือนไทยเป็นทางการ ในฐานะมิตรประเทศที่มีชายแดนติดต่อกัน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกหลังจากเข้ารับตำแหน่งใหม่ ก่อนหน้า “เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทยเช่นเดียวกันผู้นำ ๒ ประเทศนี้ เคยพบกันมาแล้วในต่างประเทศ ดังนั้นเบื้องต้นคงรู้จักมักคุ้นกันดีพอสมควร ขนาดว่า “เศรษฐา” เคยยกหูโทรศัพท์คุยกันเพื่อให้รัฐบาลกัมพูชาร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหา “ฝุ่นพิษ”บนพื้นฐานอย่างนี้น่าจะคุยการบ้านการเมือง และผลประโยชน์ของแต่ละฝ่ายได้ง่ายขึ้น แม้ปูมประวัติที่ผ่านมาไทย-กัมพูชา หลายฉากหลายรูปแบบเคยรักกันเคยรบกัน ทั้งจากปัญหาการเมืองและปัญหาชายแดน โดยเฉพาะกรณี “เขาพระวิหาร”ประเด็นที่จะมีการเจรจากันครั้งนี้ หัวข้อใหญ่ๆน่าจะเป็นเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ที่ไม่สามารถตกลงกันได้ครั้งนี้มีเค้าว่าจะประสบความสำเร็จ เพราะแต่ละประเทศต่างก็ต้องการที่จะยกระดับการพัฒนาประเทศ ด้วยการนำทรัพยากรมาใช้พื้นที่ทับซ้อนนั้นไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากติดขัดว่าจะแบ่งพื้นที่กันอย่างไร ประเด็นแบ่งพื้นที่คงไม่สามารถตกลงกันได้แต่ประเด็นผลประโยชน์ร่วมกันนั้นน่าจะไปด้วยกันได้หมายความว่าพวกก๊าซที่ได้จากพื้นที่ทับซ้อนขึ้นมาแล้ว มาแบ่งกันด้วยข้อตกลงร่วมกัน ว่าจะมีสัดส่วนอย่างไรก็ตกลงกันให้ชัดแนวทางนี้ทั้ง ๒ ฝ่าย คงจะมีการหยิบยกขึ้นมาพูดและตกลงกันให้ได้ หากผ่านขั้นตอนนี้ไปได้ทั้ง ๒ ประเทศก็จะสามารถนำก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้หรือหากมีจำนวนมากพอก็สามารถขายได้นี่เป็นประเด็นสำคัญที่หวังว่าทุกอย่างจะดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยนอกจากนั้นก็เป็นความร่วมมือของ ๒ ประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาจากผลกระทบร่วมกันคือ “ฝุ่นพิษ” ซึ่งแก้ไขเพียงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้มีอีกเรื่องซึ่งเป็นของไทยโดยเฉพาะก็คือ ทางขึ้นเขาพระวิหารจากฝั่งไทยที่ “ช่องจอม” เนื่องจากมีปัญหาขัดแย้งกันทำให้รัฐบาลกัมพูชาสั่งปิดเขตแดน ห้ามไม่ให้คนไทยและนักท่องเที่ยวผ่านทางเส้นทางนี้ถ้าตกลงกันได้จะทำให้ไทยมีรายได้ไม่น้อยที่จะให้นักท่องเที่ยวไปชมเขาพระวิหารผ่านทางประเทศไทยจะเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวคึกคักอย่างแน่นอน!“สายล่อฟ้า”คลิกอ่านคอลัมน์ “กล้าได้กล้าเสีย” เพิ่มเติม