Sunday, 19 January 2025

จุฬาฯ ร่วม WEF เผย ไทยอยู่อันดับ ๕๑ ผลประเมินอนาคตการเติบโต ประเทศทั่วโลก

22 Jan 2024
110

คณะบัญชีฯ จุฬาฯ ร่วม WEF ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ไทยอยู่อันดับ ๕๑ อัตราเติบโตในระดับน่าห่วง ควรเร่งพัฒนาด้านความยั่งยืนและความเหลื่อมล้ำรายได้ ขณะอันดับ ๑ “สวีเดน”วันที่ ๒๒ ม.ค. ๖๗ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) องค์กรหนึ่งเดียวของไทยที่ได้ร่วมกับ World Economic Forum (WEF) ในการจัดทำและเผยแพร่รายงานอนาคตการเติบโต The Future of Growth Report ๒๐๒๔ เพื่อวัดคุณภาพการเติบโตของประเทศต่างๆ พบว่าประเทศไทยการเติบโตอยู่ค่อนไปทางครึ่งหลังของโลก แต่ควรเร่งพัฒนาด้านความยั่งยืน ความเหลื่อมล้ำของรายได้ และกฎหมายคุ้มครองอย่างเต็มกำลังtt ttศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์วิเลิศ ภูริวัชร คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) กล่าวว่า CBS เป็นตัวแทนหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ได้ร่วมกับ World Economic Forum (WEF) มากว่า ๕ ปี ได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์ทิศทางการเติบโตในอนาคตของประเทศต่างๆ ซึ่งครอบคลุม ๑๐๗ ประเทศทั่วโลก ประเทศไทยอยู่ลำดับที่ ๕๑ โดยอันดับหนึ่งในโลก ได้แก่ ประเทศสวีเดน และตามด้วยสวิตเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และเดนมาร์ก ในแถบประเทศเอเชีย ญี่ปุ่นนำโด่งในลำดับที่ ๑๑ ตามด้วยเกาหลี (๑๒) และสิงคโปร์ (๑๖) ในขณะที่ มาเลเซีย มาลำดับที่ ๓๑ เวียดนาม ๓๖ อินโดนีเซีย ๕๐ และไทยลำดับ ๕๑ จากคะแนนรวมที่ถ่วงน้ำหนักทั้ง ๔ มิติแห่งการเติบโตของประเทศแนวทางการพิจารณาการเติบโตของประเทศ ซึ่งไม่เพียงแต่มุ่งเน้นด้านความรวดเร็วในการเติบโตเท่านั้น แต่ควรมุ่งเน้นในด้านคุณภาพของการเติบโตด้วย ซึ่งจะช่วยให้มีการสร้างความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพและความเท่าเทียมในระยะยาว โดยปัจจัยที่สำคัญของอนาคตการเติบโตของประเทศตาม World Economic Forum ประกอบด้วย ๔ มิติ ได้แก่ ด้านนวัตกรรม (Innovativeness) ด้านความครอบคลุมของโครงสร้างพื้นฐาน (Inclusiveness) ความยั่งยืน (Sustainability) และความยืดหยุ่น (Resilience) THE FUTURE OF GROWTH INDEX ดัชนีการเติบโตของอนาคตนอกจากนี้ รายงานฉบับนี้เน้นย้ำถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสําคัญ ซึ่งคาดว่า จะลดลงสู่อัตราที่ต่ำที่สุดในรอบสามทศวรรษภายในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ ท่ามกลางผลกระทบทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์อย่างต่อเนื่อง ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนี้ทำให้เกิดความท้าทายระดับโลกที่รุนแรงขึ้น รวมถึงวิกฤติสภาพภูมิอากาศและสัญญาทางสังคมที่อ่อนแอลง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในการพัฒนา ดังนั้น การมุ่งเน้นการเติบโตอย่างมีคุณภาพของประเทศต่างๆ จึงมีความสำคัญต่อการรับมือกับ ความท้าทายที่หลากหลายนี้tt ttศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์วิเลิศ กล่าวต่อไปว่า จากการเปรียบเทียบผลประเมินของประเทศไทยกับผลประเมินโดยรวมของประเทศต่างๆ ทั่วโลก และผลประเมินของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน พบว่าประเทศไทย มีคะแนนด้านนวัตกรรม (Innovativeness) เท่ากับ ๔๗.๙๔ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก (๔๕.๒) และค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (๓๙.๓) สะท้อนให้เห็นถึงความโดดเด่นของไทยในการเพิ่มขีดความสามารถด้านนวัตกรรมด้านความครอบคลุมของโครงสร้างพื้นฐาน (Inclusiveness) ประเทศไทยได้คะแนน ๕๕.๖๖ ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยโลก (๕๕.๙) และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (๕๔.๘) แสดงให้เห็นว่าไทยยังคงดำเนินการเพื่อการเติบโตที่เป็นธรรมและรวมทุกภาคส่วนเข้าไว้ด้วยกันด้านความยั่งยืน (Sustainability) คะแนนของประเทศไทยเท่ากับ ๔๐.๘๔ ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก (๔๖.๘) และค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (๔๔.๐) จึงเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงความจำเป็นที่ต้องมีการเร่งดำเนินการเพื่อพัฒนาด้านความยั่งยืนของไทยให้เพิ่มมากขึ้นด้านความยืดหยุ่นและการปรับตัว (Resilience) ซึ่งแสดงถึงการปรับตัวต่อผลกระทบต่างๆ คะแนนของประเทศไทยเท่ากับ ๕๑.๕ ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก (๕๒.๗๕) เล็กน้อย แต่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (๕๐.๐) สะท้อนให้เห็นว่าไทยมีความสามารถในการตอบสนองและฟื้นฟูจากวิกฤติต่างๆ ได้พอประมาณ และควรมีการพัฒนาในด้านนี้ต่อไปดังนั้น ประเทศไทยควรเร่งเพิ่มขีดความสามารถในทุกด้าน แม้ว่าด้านนวัตกรรมจะทำได้ดีแต่ยังต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาในด้านต่างๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะด้านความยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของการเติบโตของประเทศให้ดียิ่งขึ้นtt ttศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์วิเลิศ กล่าวปิดท้ายว่า การนำเสนอรายงานในครั้งนี้แสดงให้เห็นข้อมูลระดับประเทศที่ช่วยให้ผู้มีส่วนกำหนดนโยบายและทิศทางในการพัฒนาการเติบโตของประเทศจาก ๔ มิติ ที่สำคัญต่อการเติบโตของประเทศ ซึ่งจะเป็นเข็มทิศในการกำหนดแนวทางนโยบาย และกลยุทธ์สำหรับประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างการเติบโตที่มีทั้งในด้านนวัตกรรม ด้านความครอบคลุมของโครงสร้างพื้นฐาน ด้านความยั่งยืน และด้านยืดหยุ่นให้ดียิ่งขึ้นไปสามารถดาวน์โหลดรายงานและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wilertvision.com/wef