Sunday, 19 January 2025

จับตาสวมทะเบียน "ตุ๊กแกไทย" ขบวนการใต้ดิน ส่งขายจีนทำยาโด๊ป

23 Jan 2024
211

กรมอุทยานฯ พบความผิดปกติส่งออก “ตุ๊กแก ตากแห้ง” ไปจีน โดยช่วงปีหลังมียอดส่งออกพุ่งถึง ๕ ล้านตัว/ปี คาดมีขบวนการลักลอบนำตุ๊กแกจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย ที่มีการจำกัดโควตาส่งออกจำกัด มาสวมทะเบียนเป็นตุ๊กแกไทย โดย “พ่อค้าจีน” ให้ราคางามตัวละ ๖๐-๗๐ บาท ขนาดตัวโตเต็มวัย ซึ่งนำไปทำเป็นยาโด๊ป และเมนูเปิบพิสดารจากปริมาณการส่งออกตุ๊กแก ตากแห้ง ของไทย เพิ่มขึ้นมากผิดปกติช่วง ๒ ปีหลัง ทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์ สอบถามไปยัง “ประเสริฐ สอนสถาพรกุล” ผู้อำนวยการกองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา (CITES) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้ข้อมูลว่า ตุ๊กแก เป็นสัตว์ที่ขึ้นทะเบียนไซเตส ในบัญชีที่ ๒ การนำเข้าหรือส่งออกต้องมีการขออนุญาต แต่ที่ผ่านมาไทย ได้ขอสงวนสิทธิ์ไว้ เนื่องจากมีการค้าขาย เลยขอสงวนสิทธิ์ไว้ ๖ ปี โดยจะหมดในปี ๒๕๖๘ ซึ่งหมายความว่าตุ๊กแกในประเทศอื่นถือเป็นสัตว์สงวนที่ห้ามขายส่งออก หรือมีการจำกัดโควตาในการส่งออก แต่ไทยยังอยู่ในช่วงการขอยกเว้น ทำให้สามารถส่งออกได้โดยไม่มีโควตาจำกัดtt tt“ตอนนี้การส่งออกตุ๊กแกไทย แม้มีการขอสงวนสิทธิ์ แต่การจะส่งออกยังต้องมีการขออนุญาตอยู่ ที่น่าตกใจคือ ปริมาณการส่งออกตุ๊กแกตากแห้งของไทยเพิ่มขึ้น จนผิดสังเกต โดย ๓-๔ ปีที่ผ่านมา มีการส่งออกตุ๊กแกประมาณปีละประมาณ ๑ ล้านตัว พอมาช่วงหลังปริมาณการส่งออกตุ๊กแกตากแห้ง เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวอย่างผิดสังเกต”จากข้อสงสัยในปริมาณส่งออกตุ๊กแกตากแห้ง ที่มีความผิดปกติของไทย นำสู่การตรวจสอบค้นหาความผิดปกติ จนพบว่าตุ๊กแก ส่วนใหญ่ในไทยจะจับจากที่มีอยู่ในธรรมชาติ จึงมีความเป็นไปได้ยากว่า จะมีตุ๊กแกอยู่ในธรรมชาติมากถึงขนาดส่งออกไปต่างประเทศได้ปีละ ๒-๕ ล้านตัว แม้ผู้ที่ส่งออกบางรายอ้างว่ามีตุ๊กแก จำนวนมากอยู่ในธรรมชาติแถบพื้นที่อีสานและภาคเหนือ แต่ก็ยังเป็นประเด็นที่น่าสงสัยtt ttด้วยจำนวนตุ๊กแกตากแห้ง มีการส่งออกไปต่างประเทศจำนวนมากผิดปกติ มีการตั้งข้อสันนิษฐานว่า มีการนำตุ๊กแกตากแห้ง จากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย ลาว ลักลอบนำเข้าไทย แล้วสวมทะเบียนส่งออก เพราะประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่มีการจำกัดจำนวนตุ๊กแกตากแห้งในการส่งออก โดยเฉพาะอินโดนีเซีย มีโควตาส่งออกตุ๊กแกตากแห้งไม่ให้เกินปีละ ๑ ล้าน/ตัว ทำให้เมื่อมีการส่งออกเต็มโควตา จึงหันมาลักลอบส่งผ่านไทย ซึ่งมีการสวมทะเบียนตุ๊กแกไทย เพราะเรายังเป็นประเทศที่สงวนสิทธิ์ ไม่มีโควตาในการส่งออกตุ๊กแกตากแห้งที่ผ่านมามีการจับขบวนการลักลอบนำเข้าตุ๊กแกตากแห้ง จากอินโดนีเซีย เข้ามาไทยทางภาคใต้ เพราะตุ๊กแกตากแห้ง ประเทศปลายทางจะเป็นจีน หรือไต้หวัน โดยมีการนำไปทำเป็นยาอายุวัฒนะ ราคาขายในประเทศปลายทางตัวละ ๖๐-๗๐ บาท ซึ่งเป็นขนาดโตเต็มวัยประมาณ ๖-๗ นิ้ว แต่ความแตกต่างของตุ๊กแกตากแห้งไทย จะผ่าลำตัวเอาไส้ข้างในออก แล้วแผ่ลำตัวขึงกับไม้นำไปตากแห้ง แตกต่างจากตุ๊กแกตากแห้งของอินโดนีเซีย จะไม่มีการผ่าเอาไส้ออก แต่ตากแห้งทั้งตัวขายtt ttน่าสนใจว่าขบวนการลักลอบนำเข้าตุ๊กแก จากอินโดนีเซีย มาไทยทางเรือในพื้นที่ จ.สตูล ที่ผ่านมามีการจับผู้ลักลอบรายใหญ่แอบนำตุ๊กแกตากแห้งเข้ามากว่าแสนตัว โดยตุ๊กแกที่นำเข้ามาจากอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่เข้ามาทีละจำนวนมากอีกด้านนึงก็เริ่มเห็นขบวนการลักลอบนำตุ๊กแก เข้ามาจากฝั่งลาว มีทั้งตุ๊กแกที่มีชีวิตและตายแล้ว แต่จำนวนยังไม่มากเท่ากับขบวนการที่ลักลอบนำเข้ามาจากอินโดนีเซียtt tt“จีนเป็นประเทศปลายทางที่มีการซื้อตุ๊กแกตากแห้งไปจำนวนมาก ถ้าดูจากสถิติการส่งออกตุ๊กแกตากแห้งของไทย อย่างถูกกฎหมาย จะส่งไปจีนทั้งหมด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์”การแก้ปัญหาลักลอบนำเข้าตุ๊กแก ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ติดตามขบวนการที่มีการลักลอบอย่างใกล้ชิด ตอนนี้กำลังรอการพิสูจน์ว่ามีเครือข่ายเป็นขบวนการในไทย เชื่อมโยงกับประเทศอินโดนีเซีย และลาว หรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมาเวลาจับของได้ คนร้ายมักทิ้งของกลางไว้tt ttขณะเดียวกัน มีการกำชับเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ให้มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด เพราะตุ๊กแกตากแห้ง ที่ส่งไปขายจีนส่วนใหญ่จะผ่านออกไปยังด่านผ่านแดนไม่กี่แห่ง โดยการส่งออกแต่ละครั้งน้อยสุดอยู่ที่ ๖ หมื่นตัว เพราะการลักลอบนำเข้าซากสัตว์มายังในประเทศ มีโอกาสที่โรคจากซากสัตว์แพร่กระจายสู่มนุษย์หรือสัตว์ในไทยได้.