Thursday, 19 December 2024

ทลายโรงงานลูกชิ้นเถื่อน ๕ เมนูยอดนิยม "อร่อยถูกใจ อนามัยถูกลืม"

23 Jan 2024
108

ตำรวจ ปคบ. บุกทลายโรงงานผลิตลูกชิ้นเถื่อน ๒ แห่ง ในพื้นที่ชานเมือง พบดัดแปลงบ้านพักเป็นโรงงาน มีกำลังการผลิตวันละ ๓๐๐ – ๕๐๐ กิโลกรัมขึ้นไป ก่อนหน้านี้ได้เข้าจับกุมมาแล้วหลายแห่ง โดยเมนูยอดนิยมคือ “ลูกชิ้นหมู” และ “ไส้กรอกหมู” มีการปลอมแปลงฉลาก ปนเปื้อนสารกันบูดที่เป็นอันตราย ขณะที่ผู้บริโภคค่อนข้างสังเกตได้ยาก ซึ่งผู้ประกอบการร้านอาหารควรมีมาตรการในการซื้อลูกชิ้นที่มีแหล่งผลิตชัดเจน น่าเชื่อถือ เพราะอันตรายที่ตกมาถึงผู้บริโภคสะสมถึงขั้นตับไตอักเสบ หรือท้องร่วง ถึงขั้นเสียชีวิตtt ttวันนี้ (๒๒ ม.ค. ๖๗) ตำรวจ ปคบ. ร่วม อย. บุกทลายโรงงานผลิตลูกชิ้นเถื่อนย่านปทุมธานี ๒ แห่ง ส่งขายปทุมธานี และพื้นที่ใกล้เคียง ยึดของกลางจำนวนมาก โดยก่อนหน้านี้มีการบุกทลายโรงงานลูกชิ้นเถื่อนมาแล้วหลายแห่งทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์ สอบถามไปยัง กองกำกับการ ๔ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (กก.๔ บก.ปคบ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์โรงงานลูกชิ้นเถื่อน มีการกวาดล้างอยู่เสมอ ส่วนใหญ่ลักลอบผลิตอยู่ในพื้นที่ปริมณฑล เช่น ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐมtt ttผู้กระทำผิดจะดัดแปลงบ้านพักอาศัย ลักษณะบ้านเดี่ยวชานเมืองต่อเติมเป็นโรงงานเถื่อน และจากการจับกุมผู้กระทำผิด พบว่าโรงงานผลิตลูกชิ้นเถื่อนมีการผลิตแบบวันต่อวัน จากข้อมูลที่จับกุมตรวจค้นได้พบมีการผลิตประมาณวันละ ๓๐๐ – ๕๐๐ กิโลกรัมขึ้นไปสำหรับโรงงานผลิตลูกชิ้นเถื่อน ผู้กระทำความผิดจะส่งขายใน ๒ ลักษณะ คือ ส่งขายลูกค้า ซึ่งเป็นร้านค้าวัตถุดิบตามตลาดสดค้าส่งในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อจำหน่ายให้ร้านอาหารเพื่อประกอบอาหารจำหน่ายอีกทอด กลุ่มลูกค้าที่รับลูกชิ้นไปจำหน่ายเป็นกลุ่มลูกค้าร้านอาหาร ขายส่งวัตถุดิบสำหรับขายบะหมี่หรือก๋วยเตี๋ยว อีกส่วนส่งขายให้พ่อค้าคนกลาง ที่นำไปขายตามตลาดนัดtt ttประเภทลูกชิ้นที่โรงงานเถื่อนมักผลิตคือ ๑. ลูกชิ้นหมู ๒. ไส้กรอกหมู ๓. ไส้กรอกไก่ ๔. หมูยอ ๕. ไก่ยอ โดยประเภทลูกชิ้นดังกล่าวเป็นที่นิยมในท้องตลาด มีการนำไปใช้ประกอบอาหารจำหน่ายได้หลายอย่าง เช่น ร้านขายก๋วยเตี๋ยว,บะหมี่ ซึ่งมีอยู่อย่างแพร่หลาย ก็จะใช้ลูกชิ้นหมูเป็นวัตถุดิบหลักโดยเหตุที่มีการลักลอบผลิตกันมากในประเภทลูกชิ้นดังกล่าว นอกจากเป็นที่นิยมของตลาดแล้ว วัตถุดิบในการผลิตลูกชิ้นดังกล่าวยังหาง่าย มีราคาถูก และใช้ผสมเจือปนกัน เพื่อลดต้นทุนได้ เช่น ลูกชิ้นหมู มีการผสมเศษเนื้อไก่ไปด้วย เนื่องจากเศษเนื้อไก่ราคาถูก เมื่อนำมาผสมกันจะลดต้นทุนการผลิตได้มากtt ttปลอมฉลาก ใส่สารผสมอันตรายต่อคนกินพฤติกรรมผู้กระทำผิดส่วนใหญ่ มีลักษณะจำหน่ายลูกชิ้นแสดงฉลากไม่ถูกต้อง คือ ผลิตจำหน่าย บรรจุถุงส่งขายแบบถุงเปล่า ไม่แสดงเลขสารอาหาร ไม่แสดงตรา ข้อความรายละเอียด ขณะเดียวกัน ตั้งโรงงานผลิตอาหาร โดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น ดัดแปลงสภาพอาคารเป็นที่ผลิตอาหาร โดยไม่ได้ขออนุญาต จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยานอกจากนี้ ผลิตโดยใส่สารเคมี วัตถุเจือปนอาหาร ใส่สารวัตถุกันเสีย เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด บางกรณีใส่สารต้องห้าม โดยผสมสารฟอกขาว หรือบอแรกซ์tt ttขณะเดียวกัน มีพฤติกรรมจำหน่ายอาหารที่ได้สับเปลี่ยนใช้วัตถุอื่นแทนบางส่วน หรือคัดแยกวัตถุที่มีคุณค่าออกเสียทั้งหมดหรือบางส่วน บางกรณีแสดงข้อความในฉลากว่าเป็นลูกชิ้นหมู แต่เจือปนด้วยเศษเนื้อไก่ที่รับซื้อมาจากท้องตลาดในราคาถูก เพื่อลดต้นทุนการผลิตหลายกรณีมีการปลอมแปลงในลักษณะอาหารที่มีฉลากลวง หรือพยายามให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพ ในเรื่องสถานที่ที่ผลิต คือ กรณีลูกชิ้นที่แสดงฉลากซึ่งจัดทำขึ้นเอง โดยระบุสถานที่ผลิตเป็นลวง กรณีดังกล่าวผู้กระทำความผิดจัดทำฉลากขึ้นมาเอง โดยปลอมฉลากของแบรนด์ที่มีชื่อเสียง นำเลขสารบบอาหาร ของผู้อื่นมาใช้แสดงบนบรรจุภัณฑ์ที่ตนเองปลอมขึ้นสำหรับผู้บริโภค สามารถตรวจสอบได้ว่าลูกชิ้นดังกล่าวมาจากโรงงานผลิตที่ถูกต้องจากเลข อย. ที่อยู่ข้างถุง หากมีการซื้อลูกชิ้นสดที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ หากเป็นลูกชิ้นที่ไม่มีบรรจุภัณฑ์ จะทำการตรวจสอบได้ยาก ดังนั้น ควรเลือกซื้อจากแหล่งจำหน่ายที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือtt ttผู้บริโภคสังเกตความผิดปกติได้ด้วยตัวเองข้อสังเกต สำหรับการเลือกกินลูกชิ้นให้ปลอดภัย หากซื้อเป็นลูกชิ้นสด ควรเลือกที่ได้รับการรับรองจาก อย. ที่แสดงว่าไม่ใส่วัตถุกันเสียและสีผสมอาหาร รวมถึงเลือกจากร้านที่ควบคุมความเย็น ที่มีเครื่องหมาย อย. ระบุวัน เดือน ปี หมดอายุ เพราะเป็นตัวรับประกันได้ถึงความสะอาดของกระบวนการผลิต แต่ถ้าเลือกซื้อที่ปรุงสุกแล้วควรดูความสะอาดเป็นหลักความอันตรายที่ผู้บริโภคกินลูกชิ้นที่มีการผลิตไม่เหมาะสม โดยเฉพาะในโรงงานผลิตลูกชิ้นเถื่อน เพราะส่วนประกอบหลักคือ แป้ง เนื้อสัตว์ และไขมัน ไม่นับสารสังเคราะห์ต่างๆ ส่วนสารสำคัญๆ ในอาหารแปรรูปประเภทนี้คือ บอแรกซ์ สีผสมอาหาร สารกันบูด และโซเดียม แต่ละตัวก่อโรค และอาการเจ็บป่วยได้อย่างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตเนื่องจากสารบอแรกซ์ ทำให้อ่อนเพลีย ตับไตอักเสบ เบื่ออาหาร หรือในรายที่มีอาการเฉียบพลัน อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ถ่ายเป็นเลือด และชักหมดสติ ขณะที่สีผสมอาหาร สีสันจัดจ้าน หรือสีผิดจากธรรมชาติที่ควรเป็น ทั้งแดง ชมพู เหล่านี้ทำให้ตับไตทำงานหนัก เพื่อขับสารเคมีออกจากร่างกาย ขณะที่ สารกันบูด หากได้รับบ่อยๆ ก็ทำให้เกิดการสะสมเป็นอันตรายกับระบบทางเดินอาหาร ส่งผลต่อตับไต ทำให้ความดันโลหิตสูง.