Sunday, 19 January 2025

ลูกหลานเยาวชนคนฮาติงห์ของข้าพเจ้า…

คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง เชิญศิษย์เก่ารามคำแหง ที่ชื่อ ร.ต.อ.ด็อกเตอร์นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย บรรยายในโครงการสัมมนาบุคลากรเรื่องบทบาทของเอไอกับการพัฒนาศักยภาพในการทำงาน ๑๕.๐๐-๑๗.๐๐ น. ๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๒๔ ที่โรงแรมระยองรีสอร์ทบีชแอนด์สปา จ.ระยองฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเข้าร่วมการประชุมประจำปีครั้งที่ ๕๔ ของ World Economic Forum (WEF) ที่เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อ ๑๖ มกราคม ๒๐๒๔ นายฝ่ามพูดว่า เวียดนามกำลังจะกลายเป็นประเทศพัฒนาที่ทันสมัย มีรายได้ปานกลางระดับสูงใน ค.ศ.๒๐๓๐ และใน ค.ศ.๒๐๕๐ เวียดนามตั้งเป้าที่จะเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีรายได้สูง แม้ว่าจะมุ่งสังคมนิยม แต่เวียดนามก็พัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นอิสระ พึ่งพาตนเอง มีบูรณาการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ มีนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระ ใฝ่สันติภาพ มิตรภาพ ความร่วมมือ และการพัฒนา สร้างวัฒนธรรมขั้นสูงที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นหุ้นส่วนที่เชื่อถือได้ เป็นสมาชิกที่มีความรับผิดชอบของประชาคมระหว่างประเทศเวียดนามจะสร้างวิศวกร ๕ หมื่นถึง ๑ แสนคน สำหรับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ขณะนี้เวียดนามกำลังสร้างฐานข้อมูลระดับชาติ + จัดทำนโยบายเพื่อดึงดูดการลงทุนและปรับปรุงประสิทธิภาพการฝึกอบรม เวียดนามกำลังดำเนินโครงการพัฒนาข้าวคาร์บอนต่ำคุณภาพสูงในพื้นที่ ๑ ล้านเฮกตาร์ เพื่อส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารและเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนค.ศ.๒๐๐๓-๒๐๐๔ มีหลักสูตรเวียดนามศึกษาของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ระยะเวลาเรียน ๖ เดือน เป็นหลักสูตรที่นำคนไทยมาศึกษาเกี่ยวกับเวียดนามโดยมี ร.ต.อ.ด็อกเตอร์นิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย เป็นผู้อำนวยการหลักสูตร เป็นโครงการที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยวิงห์ จ.เงห์อาน ของเวียดนาม ซึ่งพวกเรามีโอกาสไปร่วมฟังการบรรยายและลงพื้นที่จริงในเวียดนามหลายครั้งทุกครั้งที่เชิญผู้ใหญ่ฝ่ายเวียดนามมาให้คำบรรยาย ท่านจะพูดเรื่องเป้าหมายเสมอ โดยกำหนดให้ในแต่ละปี เวียดนามจะต้องประสบความสำเร็จในด้านใดบ้าง หลายคนฟังแล้วก็คิดว่าเป็นเรื่องโม้ ทว่าเมื่อเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนไป ทุกอย่างที่กำหนดไว้ได้กลายเป็นความจริงอย่างน่าทึ่ง ทั้งที่ในสมัยก่อนตอนนั้น เวียดนามไม่พร้อมแทบทุกด้านผมยังจำคำพูดของผู้ว่าราชการจังหวัดฮาติงห์ที่พูดกับเยาวชนเรื่องการมาทำงานตามภัตตาคารในประเทศไทยว่าให้ขยันทำงาน คนไทยมักจะไม่ใช้ลูกหลานทำงานในร้านอาหาร องค์ความรู้ด้านการทำอาหารไทยและด้านการบริหารภัตตาคารจึงไม่ตกอยู่กับลูกหลานของคนไทย แต่ไปอยู่กับคนต่างชาติที่เข้าไปเป็นลูกจ้าง คนงานบางชาติสนใจแต่เงินเดือน แต่ไม่ได้สนใจการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นเจ้าของกิจการในอนาคต“เยาวชนคนฮาติงห์ของข้าพเจ้าทั้งหลาย…” ผมยังจำคำเริ่มต้นของการบรรยายของผู้ว่าฯ ฮาติงห์เมื่อ ๒๐ กว่าปีที่แล้วได้ “…จงไปเป็นคนทำงานในร้านอาหารในไทย อย่าสนใจเงินเดือน ขอเพียงให้มีที่ซุกหัวนอนและมีอาหารการกินครบ ๓ มื้อก็พอ จงสนใจความรู้ด้านการทำอาหารและการบริหารภัตตาคาร” “…ลูกหลานของข้าพเจ้าทั้งหลาย จงไปทำงานในประเทศไทยเถิด เรามีองค์กรที่จัดส่งไปทำงานอย่างเป็นระบบ” “…อย่าทำงานเป็นคนรับใช้ในบ้านเรือนของคนไทย เพราะได้แต่เงินเดือน ทำงานซ้ำซาก โดยไม่ได้ความรู้และประสบการณ์เพิ่มเติม อย่าไปทำงานในโรงงาน จงไปทำงานตามร้านอาหารและศึกษาสูตรอาหารไทย…”ปัจจุบันทุกวันนี้ เจ้าของร้านอาหารอาเซียนในประเทศต่างๆ เป็นชาวเวียดนาม มีทั้งอาหารญวนและไทย โดยที่ไม่ได้แคร์ว่าจะมีเชฟคนไทยหรือไม่ เพราะองค์ความรู้ด้านอาหารไทยถูกถ่ายทอดมายังคนที่มารับจ้างตามร้านอาหารไทยเมื่อ ๒๐ กว่าปีที่แล้วสมัยก่อนตอนโน้น พ่อผมไปเวียดนามรายเดือน ผู้ร่วมทีมกับพ่อก็มีคุณสุรพงษ์ ประเสริฐ อดีตประธานหอการค้า จ.นครพนม ศ.ด็อกเตอร์อรรถ นันทจักร์ ดุษฎีบัณฑิตชาวไทยคนแรกจาก ม.ฮานอย แม้เวลาผ่านไปไวเหลือเกิน แต่ได้พิสูจน์ทั้งคำพูดและการกระทำของชาวเวียดนามได้เป็นอย่างดี.นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัยsonglok๑๙๙๗@gmail.comคลิกอ่านคอลัมน์ “เปิดฟ้าส่องโลก” เพิ่มเติม