Sunday, 22 December 2024

สังคมไทยตื่นรู้

นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ดีสำหรับประเทศไทย ที่จากนี้ไปนักการเมืองไม่สามารถ “ตบตา” ประชาชนได้แล้วเพราะทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องถูกตรวจสอบถึงความเป็นไปได้ ประเทศชาติและประชาชนจะได้อะไรจากนโยบาย หรือโครงการที่รัฐบาลคิดหรือปรุงแต่งขึ้นมาเพื่อสร้างคะแนนนิยมและหาเศษหาเลยเข้ากระเป๋าโดยเฉพาะที่เรียกกันว่า “ประชานิยม” ที่ปูพื้นมาตั้งแต่การหาเสียง เพื่อให้ประชาชนพึงพอใจและลงคะแนนให้ตัวอย่างที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ก็คือ “ดิจิทัลวอลเล็ต” แจกเงินหัวละ ๑๐,๐๐๐ บาท ที่เรียกกันว่านโยบาย “ไม่ตรงปก” เพราะหาเสียงบอกว่าจะไม่มีการกู้เงินอย่างเด็ดขาดแต่เอาเข้าจริงไปไม่ได้ก็ต้องกลืนนํ้าลายออก พระราชบัญญัติกู้เงิน ๕ แสนล้านบาทแต่บทเรียนที่ผ่านมาโครงการลักษณะนี้ ทำให้คนไทยต้องเจ็บปวดมาแล้วจากนโยบาย “จำนำข้าว” ที่ต้องเป็นหนี้หลายแสนล้านบาท เพราะมีการทุจริตโกงกินกันอย่างมโหฬารเนื่องจากขาดการตรวจสอบตั้งแต่เริ่มโครงการ มองเพียงด้านเดียวว่าชาวไร่ชาวนาจะขายข้าวไปราคาดี รวยกันแน่คราวนี้จึงไม่ต้องแปลกใจ เมื่อสังคมไทยได้เรียนรู้นโยบาย “ดิจิทัลวอลเล็ต” จึงมีทั้งเสียงคัดค้านและสนับสนุนแต่องค์กรต่างๆได้ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง เช่น ธปท. กฤษฎีกา ป.ป.ช.บางส่วนแสดงถึงด้วยการคัดค้านไม่เห็นด้วย เนื่องจากไม่คุ้มค่าไม่ได้แก้ปัญหาจริงๆ ทำให้ต้องเป็นหนี้เป็นสินจำนวนมากมายองค์กรอื่นๆก็ทำตามหน้าที่ คือให้คำแนะนำว่า หากรัฐบาลดำเนินการจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หากฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษป.ป.ช.บอกตรงๆ กังวลจะเกิดการทุจริตได้นี่เป็นการทำหน้าที่ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบร่วมกันขององค์กร และกล้าที่จะบอกรัฐบาลตรงๆว่าควรทำไม่ควรทำไม่ใช่ขวางลำหรือตีปลาหน้าไซไปเองอีกมุมหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องของภาคประชาชน ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงกับโครงการ “แลนด์บริดจ์” ที่ระนองเชื่อมฝั่งชุมพรเป็นโครงการใหญ่ที่ตกทอดมาจากรัฐบาลชุดที่แล้ว แน่นอนว่าโครงการนี้หากมองอย่างผิวเผินก็ต้องบอกว่าดีและเกิดประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนแต่ก็ต้องถามว่าดีจริงหรือ?แม้รัฐบาลไม่ต้องลงทุนเอง แต่เชิญชวนนักลงทุนจากต่างประเทศ ที่นายกรัฐมนตรีได้ปฏิบัติหน้าที่เซลส์แมนมาแล้วแต่อีกด้านหนึ่งก็มีฝ่ายค้านที่เคลื่อนไหวไม่เห็นด้วย เนื่องจากรัฐบาลไม่มีโรดแม็ปที่ชัดเจน ทำให้ไม่แน่ใจจะเกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากน้อยแค่ไหนแต่ที่ชัดเจนก็คือภาคประชาชน คนจังหวัดหนึ่งเห็นด้วยคนอีกจังหวัดหนึ่งไม่เห็นด้วย เนื่องจากไม่แน่ใจว่าจะดีและคุ้มค่าหรือเปล่า ต้องการให้รัฐบาลชี้แจงให้ชัดเจนคำถามต่อมาคือวิถีชีวิตของพวกเขาจะเป็นอย่างไรต่อไป พวกเขาจะได้อะไรจากสภาพที่เปลี่ยนไป รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยนี่ถือเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่ง ที่ชาวบ้านควรจะได้คำตอบที่ชัดเจน เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตของพวกเขา ไม่ใช่รัฐบาลว่าอย่างไรก็ต้องว่ากันตามนั้น ที่ผ่านมามีการจัดทำประชาพิจารณ์แต่ละโครงการ ซึ่งเป็นการตบตาเท่านั้น ไม่ใช่เสียงของชาวบ้านแท้จริงเป็นความเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญของสังคมไทย!“สายล่อฟ้า”คลิกอ่านคอลัมน์ “กล้าได้กล้าเสีย” เพิ่มเติม