Sunday, 22 September 2024

ส่องคำวินิจฉัย “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ ๘ ต่อ ๑ คืนความเป็น สส.

เผยคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ มีมติ ๘ ต่อ ๑ กรณี “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ถือหุ้นไอทีวี ชี้ ไม่ได้ประกอบกิจการสื่อแล้ว จึงไม่เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ศาลติง ไม่สมควรแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคดีวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่ผลการวินิจฉัย คดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๒ ว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๑ (๖) ประกอบมาตรา ๙๘ (๓) หรือไม่ (เรื่องพิจารณาที่ ๒๓/๒๕๖๖) มีเนื้อหาดังนี้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ผู้ร้อง) ส่งคำร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัยกรณี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ผู้ถูกร้อง) เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ซึ่งประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ อยู่ในวันที่สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๐๑ (๖) ประกอบมาตรา ๙๘ (๓) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๒ วรรคสอง และขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องว่างลงนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยให้แก่คู่กรณีฟังตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๑๕ วรรคหนึ่ง (๒)ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า คำร้องถูกต้องครบถ้วนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๔๒ จึงมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย และเห็นว่าข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้อง หลักฐานทะเบียนผู้ถือหุ้น วัตถุประสงค์ตามหนังสือบริคณห์สนธิและงบการเงิน (แบบ ส.บช. ๓) ของบริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) เป็นเหตุเพียงพอให้ผู้ร้องควรเชื่อว่าผู้ถูกร้องเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่ามีกรณีตามที่ถูกร้อง ประกอบกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกร้องอาจก่อให้เกิดปัญหาข้อกฎหมายและการคัดค้านโต้แย้งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานสำคัญของที่ประชุมรัฐสภา และที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ จึงมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๖ จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย ผู้ถูกร้องยื่นคำร้อง ฉบับลงวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ขอขยายระยะเวลาการยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ออกไปอีก ๓๐ วัน นับแต่วันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๖๖ และคำร้องฉบับลงวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๖ ขอขยายระยะเวลายื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ครั้งที่ ๒ ออกไปอีก ๓๐ วันนับถัดจาก วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรกแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา คำชี้แจงและเอกสารหลักฐานของบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งไต่สวนพยานและรับคำแถลงการณ์ปิดคดีของคู่กรณีรวมไว้ในสำนวนแล้ว เห็นว่าคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงยุติการไต่สวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๕๘ วรรคหนึ่ง กำหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๑ (๖) ประกอบมาตรา ๙๘ (๓) หรือไม่ นับแต่เมื่อใดtt tttt ttผลการพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก (๘ ต่อ ๑) วินิจฉัยว่า ในวันที่พรรคก้าวไกลยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อต่อผู้ร้อง ผู้ถูกร้องเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) แต่ข้อเท็จจริงในทางไต่สวนรับฟังได้ว่า บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ไม่ได้ประกอบกิจการหรือมีรายได้จากกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ ผู้ถูกร้องจึงมิใช่ผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๘ (๓) สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๑ (๓) โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อยจำนวน ๑ คน คือ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เห็นว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๑ (๖) ประกอบมาตรา ๙๘ (๓) อนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ก่อนศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย คู่กรณีไม่สมควรแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคดีเพราะอาจเป็นการชี้นำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้tt tttt tttt tt