Thursday, 19 December 2024

สำรวจตลาดรถไฟฟ้าอินเดีย ปัจจัยใดทำให้คนยังไม่กล้าใช้

ยอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในอินเดียมีแนวโน้มเติบโตขึ้นต่อเนื่อง แต่ชาวกรุงนิวเดลีของอินเดียบางส่วนยังไม่กล้าเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าด้วยปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่ รวมทั้งหน่วยชาร์จไฟฟ้าที่อาจจะยังมีไม่เพียงพอด้านรัฐบาลท้องถิ่นกรุงนิวเดลีของอินเดียได้พยายามหามาตรการต่างๆ มาสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้รถไฟฟ้ากันมากขึ้น ทั้งการให้เงินอุดหนุน การลดภาษีและติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้า เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ให้มากที่สุดนอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่กระตุ้นให้ชาวอินเดียหันมาใช้รถไฟฟ้ากันมากขึ้น อย่างเช่น ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น รวมทั้งปัญหามลพิษทางอากาศที่ยังคงรุนแรงในอินเดียเวลานี้ด้วยรัฐบาลอินเดียได้ประกาศนโยบายสนับสนุนการใช้รถไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี ๒๐๑๗ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดมลพิษทางอากาศ และลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยปัจจุบันกรุงนิวเดลี มีสถานีชาร์จรถไฟฟ้าทั้งของภาครัฐและกึ่งภาครัฐอยู่มากกว่า ๔,๐๐๐ สถานีแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างติดตั้งและผลักดันให้เพิ่มขึ้นให้ถึง ๑๘,๐๐๐ จุด ภายในปี ๒๐๒๕ โดยนับว่าหลายเมือง โดยเฉพาะกรุงนิวเดลีของอินเดียกำลังเดินหน้าสนับสนุนการใช้รถไฟฟ้าอย่างเต็มที่ เห็นได้จากรัฐบาลท้องถิ่นที่มีความก้าวหน้าอย่างมากในการเปลี่ยนยานพาหนะขนส่งสาธารณะและยานพาหนะเชิงพาณิชย์ไปใช้ระบบขนส่งไร้มลพิษ หรือปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์อย่างไรก็ตาม ยังคงพบว่าประชาชนบางส่วนยังไม่แน่ใจที่จะเปลี่ยนจากการใช้รถยนต์ส่วนตัวที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า เนื่องจากยังมีความกังวลในหลายปัจจัยtt ttการส่งเสริมให้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าเมื่อปีที่แล้ว ยอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลในกรุงนิวเดลี ก้าวกระโดดขึ้นเป็น ๔๖ เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปี ๒๐๒๒ โดยรัฐบาลท้องถิ่นกรุงนิวเดลี ระบุว่า นโยบายส่งเสริมให้ใช้ยานพาหนะที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแทนยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ออกมาใหม่ ที่เอื้อให้ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้รับประโยชน์จากเงินอุดหนุนและภาษีการใช้รถที่ลดลง เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว อีกทั้งการขยายสถานีชาร์จไฟฟ้าจำนวนมากเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย ก็ทำให้รถไฟฟ้าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความสนใจนายโชรเยนดู เรย์ หนึ่งในผู้ใช้รถไฟฟ้าในยุคแรกๆ บอกเล่าประสบการณ์ของเขาว่า เขาตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาคันแรกเมื่อสองปีก่อน เพิ่มเติมจากรถใช้น้ำมันคันเดิมที่เขามีอยู่ โดยเขาพบว่ารถไฟฟ้าคันนี้วิ่งได้ระยะทางประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง โดยพบว่าการชาร์จไฟจนเต็มจากที่บ้านของเขานั้น เสียค่าใช้จ่ายไม่ถึง ๖ ดอลลาร์ หรือราว ๒๑๕ บาทเท่านั้น คิดเป็นหนึ่งในสิบของค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันรถคันเก่าแบบเต็มถัง ซึ่งจะอยู่ได้ประมาณสองสัปดาห์โดยเขายอมรับว่าบิลค่าไฟของเขาเพิ่มขึ้น แต่ก็เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เทียบกับการติดตั้งแอร์ที่บ้านเพิ่มอีกสองสามตัว โดยรถยี่ห้อ Nexon EV ของเขา ซึ่งผลิตโดยบริษัท Tata มอเตอร์ส ของอินเดีย จะใช้เวลาในการชาร์จไฟจนเต็มราว ๔ ชั่วโมง ซึ่งเขามองว่าการชาร์จไฟรถยนต์ง่ายพอๆ กับชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือเลยทีเดียว เพราะรถไฟฟ้ามันจะมีตัวเลือกให้เลือกระหว่างการชาร์จเร็ว และการชาร์จแบบช้า ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกการชาร์จเร็ว เพราะสะดวกและไม่ต้องรอนาน แถมตอนนี้ตามห้างสรรพสินค้า รวมทั้งศูนย์การค้าต่างๆก็ยังมีบริการตู้ชาร์จไฟฟ้าไว้ให้ ซึ่งมันสะดวกมากtt ttสำหรับราคารถยนต์ Nexon EV ของเขาเมื่อ ๒ ปีก่อน อยู่ที่ ๒๒,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว ๗๘๓,๐๐๐ บาท โดยรถรุ่นนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก และพบเห็นได้ทั่วไปในอินเดียในเวลานี้ โดยปัจจุบันราคาของรถรุ่นนี้ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิม ราว ๑,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นอีกประมาณ ๓๕,๐๐๐ บาท และมีค่ายรถยนต์ของอินเดีย ๒ ค่ายที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าออกจำหน่าย ซึ่งหากเปรียบเทียบราคากับรถยนต์ไฟฟ้าจากต่างชาติแล้ว จะพบว่ารถยนต์ของค่ายรถอินเดียมีราคาถูกกว่า จึงเป็นตัวเลือกต้นๆ ของชาวอินเดียมากกว่าสำหรับรายละเอียดของมาตรการส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้าของรัฐบาลอินเดียนั้น จะมีการให้เงินอุดหนุนสำหรับผู้ซื้อรถไฟฟ้าทั้งแบบ ๒ ล้อ และ ๔ ล้อ โดยวงเงินอุดหนุนจะขึ้นอยู่กับขนาดแบตเตอรี่ของรถไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น รถไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่ขนาด ๓๐ กิโลวัตต์ชั่วโมง จะได้รับเงินอุดหนุนสูงสุด ๑๕,๐๐๐ รูปีส่วนการลดภาษี รัฐบาลอินเดียได้ลดภาษีสรรพสามิตสำหรับรถไฟฟ้าทั้งแบบ ๒ ล้อ และ ๔ ล้อ โดยรถไฟฟ้าแบบ ๒ ล้อ ได้รับการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด ๕๐% และรถไฟฟ้าแบบ ๔ ล้อได้รับการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด ๒๕%นอกจากนี้ รัฐบาลยังช่วยอำนวยความสะดวกในการติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้า โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนลงทุนติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้า แลกกับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การยกเว้นภาษีที่ดินและภาษีเงินได้ พร้อมกำหนดเป้าหมายให้ยอดขายรถไฟฟ้าคิดเป็นสัดส่วน ๓๐% ของยอดขายรถยนต์ใหม่ทั้งหมดภายในปี ๒๐๓๐tt ttความลังเลใจต่อรถยนต์ไฟฟ้าเนื่องด้วยปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้ายังคงมีราคาแพงกว่ารถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงธรรมดา อย่างรถยนต์ยี่ห้อ Nexon รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงธรรมดาก็มีราคาเพียงครึ่งเดียวของรถยนต์ที่เป็นรุ่น EV โดยปัจจัยสำคัญก็คือราคาของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ยังสูงมาก เพราะเป็นการนำเข้ามาจากจีนและไต้หวัน ซึ่งหากในอนาคตแบตเตอรี่ของรถไฟฟ้ามีราคาที่ถูกลง ก็จะช่วยให้รถยนต์ไฟฟ้ามีราคาที่คนทั่วไปเข้าถึงได้มากขึ้น โดยรัฐบาลอินเดียกำลังพิจารณาแผนนำร่องที่จะริเริ่มการผลิตแบตเตอรี่รถไฟฟ้าภายในประเทศ เพื่อให้ราคารถไฟฟ้าในประเทศถูกลงในอนาคตtt ttนางมูซูมิ โมฮานตี หัวหน้าฝ่ายการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า จากศูนย์วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม องค์กรวิจัยและสนับสนุนในกรุงนิวเดลี ระบุว่า รัฐบาลไม่ควรมุ่งเน้นแค่การสร้างศักยภาพของรถไฟฟ้า แต่ยังต้องสร้างความสามารถเพิ่มเติม จากการลงทุนวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเทศอินเดียด้วยสำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาชนยังคงลังเลเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้า แม้แต่กับคนที่ตัดสินใจใช้รถไฟฟ้าแล้วก็คือความกังวลใจเกี่ยวกับการทำงานของแบตเตอรีที่อาจจะขัดข้อง หลังจากผ่านช่วงระยะรับประกันไปแล้วอีกหนึ่งประเด็นก็คือการหาจุดชาร์จไฟฟ้าที่อาจจะยังไม่สะดวก เหมือนกับการหาปั๊มน้ำมัน โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลจากเมืองหลวง ซึ่งจะส่งผลต่อการเดินทางในระยะไกลได้tt ttนายไกลาส กาห์ล็อต รัฐมนตรีกิจการขนส่งเดลี ระบุว่าปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในขณะนี้ที่เขาได้ยินมาก็คือ ระยะห่างของจุดชาร์จไฟฟ้า โดยเฉพาะรัฐข้างเคียงและพื้นที่ใกล้เคียงกรุงนิวเดลี ที่ยังตามความก้าวหน้าของเมืองหลวงไม่ทัน ทำให้รถไฟฟ้ายังไม่ใช่ตัวเลือกที่ดี สำหรับการเดินทางไปมาระหว่างรัฐต้องยอมรับว่าการเติบโตของยอดขายรถไฟฟ้าในนิวเดลีเป็นผลมาจากมาตรการสนับสนุนของรัฐบาลอินเดีย ตามที่กล่าวมา แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นและปัญหามลพิษทางอากาศที่รุนแรงมากขึ้น ที่ล้วนเป็นแรงจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหากการชาร์จไฟของรถพลังงานไฟฟ้ามีความสะดวกมากขึ้น และมีอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่ทนทานคุ้มค่าการลงทุน เชื่อว่าประเทศอินเดียจะมีประชากรที่หันมาใช้รถพลังงานไฟฟ้าเป็นอันดับต้นๆ ของโลกในเร็วๆ นี้.tt ttผู้เขียน :อาจุมมาโอปอลที่มา : channelnewsasia ,Hindustantimesคลิกอ่านข่าวรายงานพิเศษต่างประเทศ ที่นี่