Thursday, 14 November 2024

"เลือดหมดคลัง" วิกฤติผู้ป่วยฉุกเฉิน สถิติผู้รับโลหิตปี ๖๖

25 Jan 2024
137

บริจาคเลือดแล้วไปไหน วิกฤติเลือดหมดคลัง เป็นปัญหารุนแรงมากขึ้น เนื่องจากมีผู้ป่วยฉุกเฉินต้องได้รับเลือดเพิ่ม ขณะเดียวกันมีผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับโลหิต ต้องได้รับเลือดทุกเดือน ทำให้ สภากาชาดไทย กระตุ้นให้มีการบริจาคเลือดปีละ ๔ ครั้ง เพื่อให้มีโลหิตเพียงพอใช้งานตลอดปีรองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ตลอดปี ๒๕๖๗ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย พยายามรณรงค์ให้ผู้บริจาคโลหิตมีการบริจาคโลหิตอย่างสม่ำเสมอทุก ๓ เดือน หรือปีละ ๔ ครั้ง เพิ่มขึ้น หรืออย่างน้อยบริจาคโลหิตเพิ่มปีละ ๒-๓ ครั้งtt ttจากสถิติการบริจาคโลหิตทั่วประเทศ ปี พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวนผู้บริจาคโลหิตทั้งหมด ๑,๖๐๖,๗๔๓ คน พบว่ามีผู้บริจาคโลหิตปีละ ๑ ครั้ง มีปริมาณมากถึง ๑,๐๕๗,๘๙๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๕.๘๔ ขณะที่ ผู้บริจาคโลหิตปีละ ๔ ครั้ง มีจำนวนเพียง ๗๓,๗๗๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๔.๕๙ และยังมีผู้บริจาคโลหิตปีละ ๒ ครั้ง จำนวน ๓๑๓,๐๒๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๙.๔๘ บริจาคโลหิตปีละ ๓ ครั้ง จำนวน ๑๕๖,๐๕๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๙.๗๑ ส่วนผู้บริจาคโลหิตมากกว่า ๔ ครั้ง จำนวน ๕,๙๙๘ คิดเป็นร้อยละ ๐.๓๗ หากมีผู้บริจาคโลหิตบริจาคทุก ๓ เดือน หรือปีละ ๔ ครั้งเพิ่มมากขึ้น จะทำให้มีโลหิต เพียงพอสำหรับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอตลอดปีโลหิต เป็นยารักษาโรคที่ยังไม่มีนวัตกรรมใดมาทดแทน จึงจำเป็นต้องมีการรับบริจาคโลหิตจากเพื่อนมนุษย์ เพื่อให้ได้มาซึ่งโลหิตสำหรับใช้ในการช่วยชีวิตผู้ป่วย โดยโลหิตที่ได้รับบริจาคร้อยละ ๒๓ นำไปใช้รักษากลุ่มผู้ป่วยโรคเลือด เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ฮีโมฟีเลีย เกล็ดเลือดต่ำในรายที่เป็นชนิดรุนแรงต้องได้รับโลหิตในการรักษาเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ ๑-๒ ยูนิต หากไม่ได้รับโลหิตผู้ป่วยจะมีภาวะซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันtt ttอีกร้อยละ ๗๗ นำไปใช้รักษาผู้ป่วยที่สูญเสียโลหิตเฉียบพลันจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด ตกเลือดหลังคลอดบุตร เลือดออกในทางเดินอาหาร ต้องมีโลหิตสำรองไว้ระหว่างการผ่าตัด ๒-๓ ยูนิต ในกรณีที่มีอาการรุนแรง ๕-๑๐ ยูนิต ถ้าโลหิตไม่เพียงพอต้องเลื่อนการผ่าตัด อาจเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยถึงชีวิตได้tt ttจึงต้องมีการรณรงค์ให้ผู้บริจาคโลหิต เพิ่มความถี่ในการบริจาคโลหิต เพิ่มเป็น ๔ ครั้งต่อปี จะทำให้โลหิตมีปริมาณเพียงพอสำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทั้งปี.