Sunday, 22 September 2024

สทน.ปลื้ม ผู้ประกอบการอาหารพื้นถิ่น อีสานใต้ ตอบรับเทคโนโลยีฉายรังสี

สทน.ปลื้ม ผู้ประกอบการอาหารพื้นถิ่น อีสานใต้ ตอบรับเทคโนโลยีฉายรังสี หลังลงพื้นที่สร้างการรับรู้ สร้างเข้าใจเรื่องอาหารฉายรังสี ใน ๓ จังหวัดอีสานใต้ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ พร้อมลุยต่อร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เปิดรับสมัครผลิตภัณฑ์เข้าประกวด “Product Champion” เพื่อเฟ้นหาสุดยอดอาหารพื้นถิ่นต่อไปเมื่อวันที่ ๒๕ ม.ค. ๖๗ ด็อกเตอร์กนกพร บุญศิริชัย ผู้จัดการศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ สทน. เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่ สทน.ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ๔ แห่ง ได้แก่ มรภ.อุดรธานี มรภ.บุรีรัมย์ มรภ.สุรินทร์ และ มรภ.ศรีสะเกษ เมื่อวันที่ ๕ มกราคมที่ผ่านมา หลังจากนั้น ในช่วงระหว่างวันที่ ๑๕-๑๙ ม.ค. สทน.ได้นำทีมนักวิจัยลงพื้นที่ใน ๓ จังหวัด จัดกิจกรรม “การถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างมูลค่าให้กับอาหารพื้นถิ่น และอาหารฟังก์ชันด้วยการฉายรังสี” ซึ่งครั้งนี้ สทน.ได้เพิ่มเติมกลุ่มอาหารฟังก์ชัน (Functional Food) ขึ้นมา เนื่องจากต้องการสร้างโอกาสให้กับอาหารฟังก์ชันของผู้ประกอบการชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายย่อย ได้เข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น ยิ่งปัจจุบันประชาชนหันมาตระหนักถึงการใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้ เทรนด์ ‘ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสุขภาพ’ และ ‘อาหารฟังก์ชัน’ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จึงถือเป็นโอกาสทองที่ผู้ประกอบการจะได้พัฒนาสินค้าใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ด้านสุขภาพออกมาจำหน่าย ซึ่งเทคโนโลยีการฉายรังสี ถือมีส่วนสำคัญอย่างมากกับการยกระดับความปลอดภัยในอาหารให้ผู้บริโภคเชื่อมั่น และสร้างมาตรฐานการผลิตให้กับผู้ประกอบการได้tt tt สำหรับการจัดกิจกรรมทั้ง ๓ แห่ง ถือว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี โดยในจุดดำเนินการที่ ๑ จ.บุรีรัมย์ มีผู้ประกอบการเข้าร่วมอบรม จำนวน ๒๒ กลุ่ม ผู้เข้าร่วมงาน จำนวน ๓๕ คน ผู้เข้าร่วมแบบออนไลน์ จำนวน ๒,๓๗๑ คน/จุดดำเนินการที่ ๒ จ.สุรินทร์ มีผู้ประกอบการเข้าร่วมอบรม จำนวน ๑๕ กลุ่ม ผู้เข้าร่วมงาน จำนวน ๘๖ คน ผู้เข้าร่วมแบบออนไลน์ จำนวน ๒,๑๗๘ คน/จุดดำเนินการที่ ๓ จ.ศรีสะเกษ มี ผู้ประกอบการเข้าร่วมอบรม จำนวน ๒๗ กลุ่ม ผู้เข้าร่วมงาน จำนวน ๘๙ คน ผู้เข้าร่วมแบบออนไลน์ จำนวน ๒,๓๗๔ คนtt tt “สทน.ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง ๓ แห่ง รวมถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ที่จัดกิจกรรมไปก่อนหน้านี้แล้ว ทุกแห่งเราได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น และได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการเป็นอย่างดี หลังจากนี้ เราจะได้ทำงานร่วมกันอีกครั้ง เพื่อเฟ้นหาสุดยอดอาหารพื้นถิ่น หรือ “Product Champion” เพื่อต่อยอดโอกาสทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการในแต่ละจังหวัดต่อไป โอกาสนี้ จึงอยากขอเชิญชวนผู้ประกอบการอาหารพื้นถิ่น และอาหารฟังก์ชัน ส่งผลิตภัณฑ์ของท่านเข้าร่วมประกวดกันได้นะคะ” ผู้จัดการศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ สทน. กล่าวเชิญชวนทิ้งท้ายtt ttสำหรับผู้สนใจร่วมประกวด Product Champion สามารถเข้าไปติดตามรายละเอียด พร้อมดาวน์โหลดเอกสารใบสมัคร ทั้งอาหารพื้นถิ่น และอาหารฟังก์ชัน ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง โดยสมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึง ๒๙ ก.พ. ๖๗ สนใจข้อมูลเพิ่มเติม https://lin.ee/rDLRBBBtt tt