Sunday, 29 December 2024

สสส. ชวน ‘แกล้งลูก’ หลังพบปัญหาใหญ่!! เด็กไทยอ้วน ติดอันดับ ๓ ในภูมิภาคอาเซียน

25 Jan 2024
114

สสส. ชวน ‘แกล้งลูก’ ผ่านกลวิธีสร้างสุขภาวะดี ในแคมเปญ ‘สามเหลี่ยมสมดุล’ หลังพบปัญหาใหญ่!! เด็กไทยอ้วน ติดอันดับ ๓ ในภูมิภาคอาเซียนถึงเวลาแล้วที่ “พ่อแม่” ต้องทวงคืน “ความสมดุล” ในชีวิตให้กับเด็กร่วมกัน ด้วยการมาเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของลูกให้เป็น “เด็กสมดุล” ด้วยการร่วมท้าทายให้พ่อแม่หา “กลวิธีต่างๆ” มาชักชวนให้ลูกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลักสามเหลี่ยมสมดุล “วิ่งเล่น กินดี นอนพอ” ผ่านคลิปวิดีโอที่ใช้ชื่อว่า ‘แกล้งลูก’ ที่ต้องการสื่อสารจุดประกายให้ผู้ปกครองลุกขึ้นมาชวนลูกวิ่งเล่น เตรียมอาหารบนโต๊ะกินข้าวให้ถูกหลักโภชนาการ และรู้เวลานอนหลับพักผ่อนที่ถูกต้องเพื่อที่จะทำให้เด็กเติบโตสมวัยและสมดุลเคล็ดไม่ลับที่สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำมาฉายภาพผ่านคลิปวิดีโอชื่อว่า ‘แกล้งลูก’ ไม่ได้ต้องการทำให้ผู้ปกครองหรือสังคมเข้าใจผิดว่าต้องใช้วิธีที่แกล้งเด็กจริงๆ ถึงทำให้พวกเขามีสุขภาวะทางกาย ใจ สังคมที่ดีได้ แต่ในคลิปวิดีโอแคมเปญ ‘สามเหลี่ยมสมดุล’ สอดแทรกเรื่องราวที่ทำให้เห็นว่าผู้ปกครองสามารถทำให้ลูกได้ ‘วิ่งเล่น กินดี นอนพอ’ ได้อย่างง่ายๆ ไม่ว่าจะมีลูกคนเดียวหรือมีลูกหลายคนหากพูดถึงหลักวิชาการที่นำมาใช้ทำคลิปวิดีโอชุดนี้ สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย กลั่นประเด็นที่ผู้ปกครองต้องรู้ในการเลี้ยงเด็กเอาไว้ ๓ เรื่อง ได้แก่ ๑. วิ่งเล่น (Physical Activity) คือการทำให้เด็กมีกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายในระดับปานกลางขึ้นไป อย่างน้อย ๖๐ นาทีต่อวัน ๒. กินดี (Healthy Eating) ผู้ปกครองต้องทำอาหาร หรือเลือกอาหารวางบนโต๊ะให้เด็กกินถูกต้องตามหลักโภชนาการ ๕ หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมเป็นประจำทุกวัน และ ๓. นอนพอ (Sleep Hygiene) คือการที่ผู้ปกครองต้องทำให้เด็กนอนหลับในช่วงเวลาที่ดี เหมาะสม และเพียงพอ คือเข้านอนแต่หัวค่ำช่วง ๓ ทุ่มอย่างสม่ำเสมอ และต้องนอนรวมให้ได้ ๙-๑๒ ชั่วโมงต่อวัน tt ttตัวอย่างกลวิธีในคลิปวิดีโอ “แกล้งลูก” เป็นหนึ่งในการรณรงค์เชิงสัญลักษณ์ผ่านแคมเปญ ‘สามเหลี่ยมสมดุล’ ที่ สสส. ต้องการเชิญชวนให้ผู้ปกครองพาเด็กๆ ของพวกเขา มาเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสร้างความสมดุลให้กับเด็กผ่านรูปแบบกิจกรรมที่ต้อง “ไม่บังคับเด็ก” ให้ ‘วิ่งเล่น กินดี นอนพอ’ เช่น ชวนลูกวิ่งแย่งโทรศัพท์มือถือคืน เปลี่ยนเมนูอาหารที่ไม่ตามใจลูกทั้งหมด เข้าไปในห้องนอนบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ลูกแอบเล่นแท็บเล็ต หากดูอย่างลึกซึ้งหรือตั้งใจ จะเห็นว่าการคิดเรื่องราวในคลิปวิดีโอนี้ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ทุกครอบครัว โดยที่ทำให้เด็กรู้สึกฝืน กดดัน หรือถูกบังคับให้อยู่ในกรอบและกฎเกณฑ์มากเกินไปสุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการอาวุโสสำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. อธิบายความจำเป็นของการผลักดันแคมเปญ “สามเหลี่ยมสมดุล” ว่า ต้องการทำให้เรื่องนี้เป็นที่รู้จักในสังคม ด้วยการสร้างความตระหนักรู้ถึงพ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมถึงครูในโรงเรียน ให้หันมาสนใจและใส่ใจปรับพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กๆ ในสังคมไทย ด้วยการชวนให้ทุกคนที่ได้ดูคลิปวิดีโอ ‘แกล้งลูก’ ตระหนักเรื่องความสมดุลในชีวิตของเด็ก ทั้งเรื่องการมีกิจกรรมทางกาย กินอาหาร และการนอนหลับพักผ่อน ที่ไม่ใช่แค่การวัดกันที่น้ำหนักกับส่วนสูงที่ต้องมีมาตรฐานตามเกณฑ์ แต่หมายถึงการสร้างพฤติกรรมของเด็ก เพราะเป็นโอกาสทองที่จะทำให้เขามีสุขภาวะดีรอบด้าน ตั้งแต่การกิน การนอน การทำกิจกรรมต่างๆ หากทำ ๓ สิ่งนี้ได้อย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ จะทำให้เด็กไทยสมดุลได้“อยากเชียร์ให้ผู้ปกครองลุกขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับลูกๆ ของพวกเขาเอง เราก็เลยใช้คอนเซปต์เรื่องแกล้ง เพื่อบอกพ่อแม่ว่า จะต้องหาวิธีแบบเนียนๆ ที่ทำให้ลูกเกิดกิจกรรม วิ่งเล่น กินดี นอนพอ โดยที่เขาไม่ทันรู้ตัว ไม่รู้สึกว่าถูกบังคับหรือยัดเยียดให้ทำ ดังนั้นหนังสั้น “แกล้งลูก” จึงเป็นการท้าทายพ่อแม่ชาวไทย ให้ร่วมสนุกไปกับเรา ด้วยการสร้างสรรค์กลวิธีต่างๆ ที่จะสร้างสามเหลี่ยมสมดุลให้เกิดขึ้นกับลูก ทำให้ลูกรู้สึกยอมรับมันด้วยตัวเอง”ผู้อำนวยการอาวุโสสำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. บอกทิ้งท้ายเกี่ยวกับคลิปวิดีโอ ‘แกล้งลูก’ ในแคมเปญ ‘สามเหลี่ยมสมดุล’ ว่า หัวใจสำคัญของ สสส. คือการพยายามจะชวนให้สังคมตระหนักถึงการคอยสังเกตพฤติกรรมและการเติบโตของลูกหลานได้ เป้าหมายใหญ่คือการทำให้ผู้ปกครอง โรงเรียน ครู รับรู้เรื่องหรือสร้าง Awareness ในเรื่อง ‘วิ่งเล่น กินดี นอนพอ’ อย่างถูกวิธีในวงกว้างและมากที่สุด รับชมคลิปวิดีโอ ‘แกล้งลูก’ ในแคมเปญ ‘สามเหลี่ยมสมดุล’ ของ สสส.กดติดตามข้อมูลข่าวสาร แคมเปญที่น่าสนใจ และกิจกรรมดีๆ จาก สสส. เพิ่มเติมได้ที่ :Facebook : Social Marketing Thaihealth by สสส.Line : @thaihealththailandTiktok: @thaihealthYoutube: SocialMarketingTHWebsite : Social Marketing การตลาดเพื่อสังคม