“สัญญาว่าจะให้” ยังเป็นประเด็นการเมืองที่โต้เถียงกันต่อไป มีรายงานข่าวว่า กกต.มีคำวินิจฉัยให้ส่งศาลฎีกาเพื่อเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือสิทธิเลือกตั้งของนายสมชาย ภิญโญ ผู้สมัคร สส.นครราชสีมา เขต ๖ พรรคภูมิใจไทย ฐานปราศรัยหาเสียงสัญญา จะพาชาวบ้านเที่ยวเมืองกาญจน์เมื่อเป็น สส.กกต.ถือว่านายสมชายฝ่าฝืนกฎหมายการเลือกตั้ง ม.๗๓ (๑) ที่ห้ามผู้สมัคร (๑) สัญญาว่าจะให้ เพื่อจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนให้ตนและให้ดำเนินคดีอาญาฐานทุจริตการเลือกตั้ง ด้วย ข่าวนี้ต้องถือว่าน่าแปลกใจ เพราะเคยมีข่าวว่า กกต.ถือว่าโครงการแจกเงิน หมื่นหาเสียงของพรรคเพื่อไทยไม่ผิดกฎหมายมีรายงานข่าวจาก ป.ป.ช.เปิด เผยว่า ในการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคต่างๆที่ผ่านมา มีการสัญญาจะแจกเงินคล้ายกับพรรคเพื่อไทยถึง ๗๕๖ โครงการเป็นเงินถึง ๗๐ ล้านล้านบาท อาจเข้าข่ายเป็น “สัญญาจะให้” เลขาธิการ กกต.บอกว่า ต้องดูว่าผิดกฎหมายหรือไม่ เป็นการหลอกลวงหรือไม่ถ้า กกต.มองว่ากรณีผู้สมัคร สส.นครราชสีมา สัญญาว่าจะพา อสม.หรือประชาชนไปล่องแพเมืองกาญจน์ร้องเพลง เป็น “สัญญาว่าจะให้” เป็นความผิดทางอาญา แต่ไม่ถือว่าโครงการแจกเงินให้ผู้ที่อายุ ๑๖ ปีขึ้นไป ๕๖ ล้านคนทั้งประเทศ คนละ ๑ หมื่นบาท ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย ต้องถือเป็นเรื่องแปลกอย่างยิ่งยังมีคำสัญญาของพรรคอื่นๆอีกถึง ๗๕๖ โครงการ สัญญาจะแจกเงินถึง ๗๐ ล้านล้านบาท จะต้องตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมายโดยเคร่งครัด กฎหมายมุ่งทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม จึงห้ามซื้อเสียงหรือให้ผลประโยชน์ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ห้ามแม้แต่ “สัญญาว่าจะให้”เปรียบเทียบคำสัญญาที่จะแจกเงินหมื่นให้ประชาชนถึง ๕๖ ล้านคน (ต่อมาลดลงเหลือ ๕๐ ล้านคน) และจะต้องกู้เงินมาแจกถึง ๕ แสนล้านบาท ย่อมสั่นสะเทือนผู้มีสิทธิทั่วประเทศและทุกเขตเลือกตั้งทั้งหมด ๓๕๐ เขตเปรียบเทียบกับคำสัญญาบนเวทีปราศรัย จะนำพาชาวบ้านเที่ยวกาญจนบุรี เมื่อได้เป็น สส. และพูดถึง “งบดูงาน” แสดงว่าเป็นเงินรัฐ เช่นเดียวกับเงินดิจิทัลหรือไม่ สองรายการนี้เปรียบเทียบกันไม่ได้เลย รายการไหนจะทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรมมากที่สุด และทำลายการเมืองมากที่สุด.คลิกอ่านคอลัมน์ “บทบรรณาธิการ” เพิ่มเติม
Related posts