Thursday, 19 December 2024

ปมเยาวชนก่อเหตุร้าย สิ่งรุนแรงถูกยั่วยุฝังใจ

26 Jan 2024
127

คดีสะเทือนใจวัยรุ่น ๕ คน อายุ ๑๓-๑๖ ปี “ทำร้ายป้าสติไม่สมประกอบวัย ๔๗ ปีเสียชีวิต” นำศพโยนลงสระน้ำข้างโรงเรียนใน จ.สระแก้ว สะท้อนให้เห็นถึงความรุนแรงของเยาวชนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นถ้าดูสถิติในปี ๒๕๖๕-๒๕๖๖ “กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน” รายงานเกี่ยวกับเด็ก และเยาวชนกระทำผิดประมาณ ๑.๒ หมื่นคดี “จำนวนนี้ผู้ก่อเหตุมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาสูงสุดถึงร้อยละ ๕๑.๕” ส่วนใหญ่ผู้ก่อเหตุอยู่ในครอบครัวพ่อแม่แยกกัน ๙ พันกว่าคดี และผู้กระทําผิดที่อยู่ร่วมกับครอบครัว ๓ พันกว่าคดีสิ่งนี้ทำให้เห็นว่า “พฤติกรรมความรุนแรงในเด็กและเยาวชน” ล้วนเกี่ยวกับการเลี้ยงดูของครอบครัวและกฎเกณฑ์ทางสังคมแล้วถ้าไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมในช่วงต้นชีวิตจะเป็นผู้ด้อยคุณธรรมในอนาคตนี้ รองศาสตราจารย์นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล บอกว่าtt ttรศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ปกติพฤติกรรมความก้าวร้าวในการก่อความรุนแรงของเด็กแบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ ส่วนแรก…“คึกคะนอง” ต้องการแสดงออกของความก้าวร้าวให้มีตัวตนข่มคนอื่นที่เรียกว่า “โชว์ออฟ” อย่างกรณีเยาวชน ๕ คนทำร้ายป้าวัย ๔๗ ปีเสียชีวิตจะเห็นว่า “รูปแบบการก่อเหตุ” มีเฉพาะกลุ่มเพื่อนมุ่งต้องการทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับบาดเจ็บถ้าสังเกตดีๆ “บางคนจะแสดงอำนาจเป็นหัวโจก” ลักษณะสร้างความโดดเด่นให้ได้การยอมรับว่า “ความสามารถแข็งแกร่งเหนือกว่าคน” จึงมักต้องแสดงออกจากการทะเลาะวิวาท หรือทำร้ายร่างกายคนอื่นนั้นส่วนที่สอง…“พฤติกรรมตอบสนองสิ่งเร้า” อันเกิดจากเหตุการณ์ที่รู้สึกว่า “เป็นอันตราย หรือเสี่ยงต่อการถูกทำร้าย” เช่นกรณีมีเพื่อนกลั่นแกล้งเด็กบางคนก็จะตอบโต้ด้วยการใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุก็ได้แล้วการใช้ความรุนแรง ๒ ลักษณะนี้มักเรียกว่า “พฤติกรรมความก้าวร้าว” ส่วนใหญ่มักมีเจตนาจะทำลาย หรือทำร้ายผู้อื่น “โดยจะไม่คำนึงถึงระดับการบาดเจ็บของผู้ตกเป็นเหยื่อ” เพราะคนกลุ่มนี้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้เหตุนี้ทำให้เยาวชน ๕ คนทำร้ายป้าวัย ๔๗ ปีเกินกว่าเหตุได้โดยไม่มีเรื่องบาดหมางกันมาก่อนด้วยซ้ำส่วนต้นเหตุพฤติกรรมก้าวร้าวนี้มีสาเหตุมาจาก ๓ ด้าน คือ ด้านแรก… “ถ่ายทอดทางพันธุกรรมบางประเภท” อันเกิดจากสมองผิดปกติตั้งแต่กำเนิดจนขาดความเชื่อมโยงต่อการควบคุมตัวเองจากสมองส่วนหน้าด้านที่สอง…“การเลี้ยงดู” ปกติเด็กทารกในครรภ์มักสร้างเซลล์สมองหลายพันล้านเซลล์เชื่อมต่อการรับรู้ตอบสนองสิ่งเร้าอย่าง “สมองส่วนรับรู้” ทำหน้าที่แปลผลกระตุ้น ๒ ส่วน คือ สมองส่วนอารมณ์ และสมองส่วนหน้าtt ttถ้าเมื่อเด็กทารกรับการเลี้ยงดูดี “สมองจะรับการพัฒนาทุกส่วนสมบูรณ์” โดยเฉพาะช่วงแรกเกิดจนถึง ๘ ขวบที่เรียกว่า “๓ พันวันแรกของชีวิต” สมองกำลังพัฒนาต้องได้รับการดูแลตั้งแต่ระดับครัวเรือน ชุมชน โรงเรียน เพื่อให้เด็กพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การตัดสินใจ การควบคุมตนเอง และเชื่อมโยงสื่อสารกับผู้อื่นหากเติบโตเป็นผู้ใหญ่ “จะสามารถใช้ชีวิตคิดบวกสนุกสนาน” ถ้ามีสิ่งเร้ากระตุ้นมักตอบสนองในทิศทางสร้างสรรค์ “สมองส่วนหน้า” สามารถยับยั้งชั่งใจ และเข้าใจกฎระเบียบให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุขได้ดีแต่ถ้ากรณี “ถูกเลี้ยงดูในครอบครัวของความรุนแรง” ตั้งแต่ครอบครัวมีภาวะบกพร่อง แตกแยก ตีกัน ติดคุก ติดยา และการเลี้ยงดูไม่เหมาะสมในการ ละเลยทางกาย ละเลยทางอารมณ์ ทำร้ายทางกาย ทำร้ายทางอารมณ์ ทำร้ายทางเพศ ลักษณะนี้เป็นครอบครัวไม่สมบูรณ์ที่ไม่อาจสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวกให้กับลูกได้อันเป็นความเครียดต่อเด็ก “เมื่อมีสิ่งเร้า หรือเด็กกลัวสมองจะตอบสนองสู้–หนี–นิ่ง” ที่ไม่ทำให้เด็กเรียนรู้เหตุผลควรทำหรือไม่ควรทำอะไร อนาคตเด็กเสี่ยงมุ่งใช้ความรุนแรง “ต่อสู้” เพื่อเอาตัวรอดจากเหตุการณ์นั้นในส่วนด้านที่สาม…“สิ่งยั่วยุประเภทอื่น” เด็กบางคนในช่วง ๓ พันวันแรกของชีวิตแม้จะถูกเลี้ยงดูมาอย่างดีจนมีภูมิต้านทานต่อสังคมไม่เหมาะสม แต่เมื่อเติบโตมักมีสิ่งยั่วยุสิ่งเร้ามากมายอย่าง “สื่ออิเล็กทรอนิกส์” ถูกพัฒนาการให้เด็กกลุ่มเปราะบางเข้าถึงง่าย กลายเป็นสิ่งแวดล้อมเนื้อหาไม่เหมาะสมเป็นพิษแก่เด็กด้วยซ้ำทั้งเนื้อหาใช้ยาเสพติด ทำร้ายผู้อื่น หรือยิงกันในเกม สามารถนำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าวได้ง่าย สังเกตจากในกลุ่มวัยรุ่น “มักมีหัวโจกเป็นผู้นำเริ่มก่อความรุนแรงก่อน” แล้วเพื่อนคนอื่นก็จะคอยเป็นผู้ตามนั้นด้วยปัจจุบัน “ธุรกิจเกม” มีผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์เฉพาะออกแบบเกมให้สนุก ลึกลับ รุนแรง หรือเกมฆ่าตัดหัวเลือดสาดเก็บคะแนนให้เด็กเล่นต่อเนื่องนานๆ “ไร้การควบคุมนำไปสู่ปัญหาติดเกม” ในระยะยาวจะเคยชินที่ได้ทำร้ายคู่ต่อสู้ขโมยของในเกมซ้ำๆ หล่อหลอมพฤติกรรมก้าวร้าวใช้ความรุนแรงนำไปสู่การก่ออาชญากรรมเกิดขึ้นได้แม้แต่ “การแข่งขันเรียน” ส่วนใหญ่เกิดจากธุรกิจติวหนังสือกระตุ้นให้การเรียนต้องแข่งขันคะแนน “ทำลายธรรมชาติการเล่นของเด็กก่อให้เกิดความเครียด” ด้วยเด็กบางคนก็ไม่สนุกสนานในการเรียนจนรู้สึกกดดัน “อันเป็นตัวทำลายความคิดสร้างสรรค์ และความอยากค้นหาความรู้” กลายเป็นความเกลียดชังแทนtt ttขณะที่หลักเกณฑ์ “วัดผลถูกใช้ผิดวิธีที่ใช้คะแนนเป็นตัวประเมินผล” เพราะเด็กบางคนอาจมีความสามารถด้านอื่น“แต่ต้องฝืนทนเรียนให้ได้ตามความคาดหวังผู้ปกครอง” ที่ส่วนใหญ่ตอบสนองผิดวิธีไม่ว่าจะเป็นการตำหนิ การคาดโทษ จนเด็กรู้สึกต่ำต้อย มีผลทำให้ฮอร์โมนความเครียดสูงสะสมมากผิดปกติผลตามมาคือ “เปลี่ยนโครงสร้างเซลล์สมองเชื่อมต่อกันน้อยลง” เด็กมักจะรู้สึกไม่ปลอดภัย ไม่มีตัวตนมักใช้อารมณ์เป็นหลัก มีผลระยะยาวนำไปสู่ “ภาวะสู้ก้าวร้าว” ชอบรังแกเพื่อน หรือทำร้ายร่างกายคนอื่น “ภาวะนิ่ง” ปล่อยให้คนอื่นกระทำซ้ำๆ “ภาวะหนี” ชอบหนีเรียนประจำ สิ่งนี้เกิดจากความเครียดเรื้อรังตอบสนองด้วยอารมณ์เช่นเดียวกับ “ยาเสพติด” แม้เด็กเติบโตในครอบครัวเลี้ยงดีตั้งแต่ ๐-๘ ขวบ “ถ้าเจอสิ่งแวดล้อมล่าเด็กให้เป็นเหยื่อ”โดยเฉพาะกัญชาเสรีปล่อยให้ผสมขนม หรืออาหารขายกันเกลื่อน “ตรงนี้ไม่ถูกต้อง” เพราะเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมแก่เด็ก นอกจากนี้ “บุหรี่ไฟฟ้า” ที่ลักลอบจำหน่ายอย่างผิดกฎหมายในอินเตอร์เน็ตแต่วันนี้ “เด็กติดบุหรี่ไฟฟ้า ๗–๘ แสนคนจากปีที่แล้ว ๗ หมื่นคน” สิ่งนี้เป็นสิ่งแวดล้อมฐานสำคัญเชื่อมสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมก้าวร้าวสามารถเกิดได้กับเด็กถูกเลี้ยงมาดีในครอบครัวร่ำรวย หรือเด็กที่ฐานะยากจนจริงๆแล้ว “ปัจจุบันเด็กมีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงแนวโน้มสูงขึ้น” บางส่วนคงถูกซ่อนเร้นยังไม่ระเบิดออกมีทั้งในครอบครัวฐานะดี “แต่บางครั้งเลี้ยงลูกไม่ถูกวิธีละเลยทางจิตใจ” ทำให้ไม่ได้หล่อหลอมความสัมพันธ์พื้นฐานของความเป็นมนุษย์ในด้านความรัก ความอบอุ่นมาตั้งแต่วัยเด็กtt ttต่อมาคือ “ครอบครัวยากจน” เพราะไม่พร้อมมีลูกตั้งแต่ต้น “ต้องปากกัดตีนถีบ” ถ้าดูประวัติบางคนเคยถูกเลี้ยงดูมาไม่เหมาะสมด้วยซ้ำ “ส่งต่อความรุนแรงสู่ลูกรุ่นใหม่” เป็นกลุ่มตอบสนองสิ่งเร้าแบบคุมตัวเองไม่ดี (self-control)สังเกตแค่รถชนเล็กน้อยแต่ใช้ปืนยิงกันตายได้ง่ายๆ คนกลุ่มนี้มีในสังคมพร้อมก่อความรุนแรง ๒๐%ถัดมาตามปกติ “เด็กเกิดใหม่ ๕ แสนคน/ปี” แล้วรัฐบาลช่วยเหลือผู้มีรายได้ต่ำกว่า ๑ แสนบาท/คน/ปี “แจกบัตรคนยากจน” ถ้ามีลูกจะได้เงินช่วง ๖ ปีแรก ๘๐๐ บาท/เดือน ปัจจุบันอุดหนุน ๒.๔ ล้านคน หรือคิดเป็น ๔๖% จากเด็กช่วง ๖ ปีแรกทั้งหมด ๕ ล้านคน จำนวนนี้มีเด็ก ๕ หมื่นคนอยู่ในครอบครัวภาวะบกพร่องเลี้ยงดูไม่เหมาะสมปัญหามีต่อว่า “เด็กวัย ๐–๒.๕ ขวบ” บางครอบครัวพ่อแม่ไม่พร้อมยากจนติดยาแม่ไม่ฝากครรภ์ ทำให้เด็กไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกหลักอนามัย “คลอดออกมาด้อยคุณภาพ” แล้วระบบกลับเอื้อมไม่ถึงจนไม่ได้รับการดูแลเลี้ยงด้านสุขภาพกาย และสุขภาพใจ กลายเป็นจุดช่องโหว่ไม่สมบูรณ์ “เด็กเล็ก” เข้าไม่ถึงระบบสวัสดิการของรัฐtt ttแม้แต่การดูแลแบบสงเคราะห์และแบบคุ้มครองก็ไม่ครอบคลุมเด็กเล็กทั้งหมด เหตุนี้เด็กที่ก่อความรุนแรงทำร้ายคนอื่น ตัวอย่างกรณีเยาวชน ๕ คนฆ่าป้าวัย ๔๗ ปีเสียชีวิต ถ้าย้อนดูรุ่นนี้ทั่วประเทศมีประมาณ ๑ ล้านคน ในจำนวนนี้ ๕ หมื่นคนถูกเลี้ยงในครอบครัวบกพร่องแล้วประมาณ ๒๐-๓๐% มีโอกาสจะก่อความรุนแรงในสังคมได้อีกด้วยฉะนั้นในสังคมที่ต้องการความสงบสุข “รัฐบาล” ต้องจัดสวัสดิการแก่เด็กตั้งแต่ ๐-๘ ปีเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ให้ได้รับการดูแลขั้นพื้นฐานอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน เพื่อประเทศก้าวสู่สังคมที่ดีมั่นคงต่อไป.คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม