“เศรษฐพงค์” เผย “สจล.-NT” จัดประกวดแนวคิดนวัตกรรมเศรษฐกิจอวกาศยุคใหม่ ให้ นศ.ส่งผลงานชิงรางวัลกว่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท “เสริมศักดิ์” เชื่อสร้างแรงบันดาลใจกระตุ้นให้เกิดการใช้เทคโนโลยีด้านอวกาศ “แคทลียา” หวังสร้างคนรุ่นใหม่ขึ้นมาเป็นกำลังสำคัญของประเทศ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม๖๗ พ.อ.รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีอวกาศและวิจัย (ECSTAR) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า สจล.ร่วมกับ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) จัดงาน SpaceQuest ๒๐๒๔ Launching Thailand Space Innovation & Business โครงการประกวดแนวคิดนวัตกรรมในหัวข้อ “เศรษฐกิจอวกาศยุคใหม่ (New Space Economy) ของประเทศไทย” โดยสามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้จนถึง ๓๑ มกราคม๒๕๖๗ สำหรับคุณสมบัติผู้เข้าร่วมประกวด สมาชิกในทีมทุกคนเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีชั้นใดก็ได้ ทีมมีจำนวนสมาชิก ๓-๕ คน เป็นแนวคิดนวัตกรรมและความเป็นไปได้ทางธุรกิจในหัวข้อที่กำหนด แต่ละทีมจะต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษา ๑ ท่าน สังกัดเดียวกันกับสมาชิกคนใดคนหนึ่ง สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่tt ttด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ด็อกเตอร์เสริมศักดิ์ อยู่เย็น คณบดีวิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า ผู้ส่งผลงานประกวดจะต้องส่ง VDO นําเสนอผลงาน แนะนําแนวคิดและไอเดียของผลงานไม่เกิน ๕ นาที Project Proposal ใช้แบบฟอร์มที่ถูกต้อง โดยรางวัลชนะเลิศอับดับ ๑ จะได้รับทุนการศึกษามูลค่า ๕๐,๐๐๐ บาท รางวัลรองชนะเลิศ อับดับ ๑ ทุนการศึกษามูลค่า ๓๐,๐๐๐ บาท รางวัลรองชนะเลิศ อับดับ ๒ ทุนการศึกษามูลค่า ๒๐,๐๐๐ บาท พร้อมโล่และประกาศนียบัตร และรางวัลเข้ารอบ ๑๐ ทีมสุดท้าย (รอบที่ ๑) จะได้เงินสนับสนุนการผลิตผลงานทีมละ ๑๕,๐๐๐ บาท พร้อมประกาศนียบัตร รวมเงินรางวัลกว่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งการประกวดในครั้งนี้เพื่อให้นักศึกษามีพื้นที่ในการโชว์ผลงานและแนวคิด และยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้เกิดการใช้เทคโนโลยีด้านอวกาศในประเทศไทย เพราะประเทศที่พัฒนาได้ต้องประกอบด้วยองค์ความรู้หลัก ที่มาจากเทคโนโลยี วิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ ซึ่งตนคาดว่าจะมีหลายมหาวิทยาลัยเข้าร่วม ซึ่งจะทำให้เราได้เห็นมุมมองที่เป็นประโยชน์ กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และต่อยอดสู่งานด้านอวกาศในอนาคตอีกด้วยtt ttขณะที่ น.ส.แคทลียา เดลแมร์ นักวิจัยศูนย์ ECSTAR กล่าวว่า โครงการนี้จะทำให้เราได้เห็นศักยภาพของคนรุ่นใหม่ รวมถึงไอเดียความคิดสร้างสรรค์และการนำเสนอที่เข้ากับยุคใหม่ ซึ่งนักศึกษาหลายๆคนมีแนวคิดที่แปลกใหม่ และสอดคล้องกับโลกในยุคปัจจุบัน ซึ่งพวกเขาเหล่านี้ เป็นคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต เพราะเศรษฐกิจอวกาศยุคใหม่ จะก่อให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ๆในทุกสาขา และยังรวมไปถึงการสร้างงานมากขึ้นอีกด้วย