Friday, 15 November 2024

"น้ำเหลืองเสีย" โรคจากไลฟ์สไตล์+ภูมิคุ้มกัน

27 Jan 2024
73

อาการแผลตุ่มพองบนผิวหนังอาจเกิดได้บ่อยๆกับทุกคน แต่หากเกิดบ่อยจนดูเป็นปัญหา อาจต้องสงสัยว่าเป็นเพราะน้ำเหลือง ซึ่งเป็นระบบที่ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ โดยการผลิต เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) และเซลล์ภูมิคุ้มกันอื่นๆที่ช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย เช่น เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส รวมทั้งลำเลียงและกำจัดเซลล์ที่ผิดปกติออกจากร่างกาย มีความผิดปกติหรือบกพร่อง ที่เรียกว่าน้ำเหลืองเสีย หรือน้ำเหลืองไม่ดีภาวะน้ำเหลืองไม่ดี คือ ภาวะติดเชื้อที่ผิวหนัง มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เป็นการติดเชื้อที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน พบบ่อยในเด็กที่พัฒนาระบบภูมิคุ้มกันยังไม่สมบูรณ์ หรือผู้ที่มีปัญหา สุขภาพที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับการติดเชื้อ เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเอง ติดเชื้อเอชไอวี/ เอดส์ ผู้ป่วยอาจได้รับเชื้อจากการสัมผัสสิ่งของ ทราย พงหญ้า หรือแมลงกัดต่อย และเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลหรือรอยแตกบนผิวหนัง ทำให้มีอาการบวมแดง เป็นตุ่ม คัน เจ็บปวด และอาจมีของเหลวไหลออกจากแผลtt ttอาการของโรคน้ำเหลืองเสียหรือน้ำเหลืองไม่ดี มีตั้งแต่เป็นตุ่ม ผื่นแดง บวมบริเวณผิวหนัง แผลอาจกระจายออกอย่างรวดเร็ว ของเหลวจากแผลแห้งกลายเป็นสะเก็ดสีเหลืองปิดคลุมแผล เจ็บปวด คันและอาจคันรุนแรงขึ้น อาจเกิดแผลเป็นถาวร ที่ทำให้สีผิวบริเวณแผลเปลี่ยนไปภาวะน้ำเหลืองไม่ดีพบได้บ่อยในเด็ก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันอาจยังอ่อนแอ อากาศร้อนชื้น เชื้อโรคมักอาศัยและเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่อบอุ่นและชื้นโรคน้ำเหลืองไม่ดีเป็นโรคที่แพร่กระจายได้ง่ายในครอบครัว พื้นที่คนพลุกพล่าน ได้รับเชื้อจากสัตว์หรือสถานที่ต่างๆ เช่น พงหญ้า หนองน้ำ บ่อโคลน ทราย สนามเด็กเล่น โดยเชื้อโรคมักเข้าสู่ผิวหนังผ่านทางบาดแผลเล็กๆ และจากแมลงกัดต่อยหรือผื่น นอกจากนี้อาจเกิดจากโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นเบาหวาน ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นต้นtt ttการวินิจฉัยและรักษาโรคน้ำเหลืองไม่ดี ในเบื้องต้นอาจเริ่มจากการกินยาปฏิชีวนะ เพื่อช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ใช้รักษาการติดเชื้อที่ผิวหนัง ก่อนใช้ยาควรประคบผ้าชุบน้ำอุ่นที่แผล จากนั้นซับให้แห้ง แล้วขจัดสะเก็ดแผลออก เพื่อให้ยาปฏิชีวนะสามารถซึมเข้าผิวหนังได้ดียิ่งขึ้น หลังจากทายาให้ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซเพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่มเติม หากแผลมีอาการรุนแรงขึ้นหรือไม่ดีขึ้นภายใน ๒-๓ วัน อาจต้องให้กินยาปฏิชีวนะเพิ่มเติม เพื่อกำจัดเชื้อจากภายในร่างกาย โดยผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างเคร่งครัดให้ครบตามที่คุณหมอสั่งแม้ว่าแผลจะหายดีแล้ว เพื่อป้องกันการดื้อยาการดูแลตนเองหากเป็นแผลน้ำเหลืองไม่ดี สำคัญที่สุด คือ การรักษาความสะอาดร่างกายและสิ่งของภายในบ้านเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ทำความสะอาดแผลด้วยสบู่และน้ำไหลผ่าน เพื่อป้องกันไม่ให้การติดเชื้อรุนแรงขึ้น หรือหากแผลไม่รุนแรงอาจใช้ยาฆ่าเชื้อเฉพาะที่ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น มิวพิโรซิน (Mupirocin) และปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ แต่หากอาการรุนแรงขึ้นควรรีบพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาในขั้นตอนต่อไปการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเองเพื่อจัดการกับน้ำเหลืองไม่ดี นอกจากดูแลตนเองแล้ว ควรซักเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน และผ้าเช็ดตัวของผู้ติดเชื้อทุกวันด้วยน้ำร้อน เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจเกาะอยู่ตามเสื้อผ้าและของใช้ ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอเพื่อป้องกันเชื้อโรค และป้องกันการบาดเจ็บที่แผลหากใช้มือเกาแผล ไม่ควรแกะหรือเกาที่แผลเพราะอาจทำให้แผลอักเสบและหายช้ากว่าเดิม สวมถุงมือทุกครั้งก่อนทายาปฏิชีวนะที่แผล และล้างมือให้สะอาดหลังจากทายาเสร็จ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่มเติม และควรใช้ยาตามคุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัด.คลิกอ่านคอลัมน์ “สมาร์ทไลฟ์” เพิ่มเติม