เป็นอันว่า คดีถือหุ้นไอทีวี ที่ ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยไปเรียบร้อย ผลออกมาไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ได้คืนสถานะความเป็น สส. ตามคำพิพากษา ไอทีวี แม้จะเป็นสื่อ และ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นผู้ถือหุ้น เข้าข่ายการกระทำเป็นการขัดกับรัฐธรรมนูญและ พ.ร.ป.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง แต่เมื่อตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแทรกแซงสื่อ ครอบงำสื่อที่จะเป็นประโยชน์กับผู้สมัครรับเลือกตั้ง เมื่อปรากฏว่าไอทีวีถึงจะเป็นสื่อก็จริง แต่เป็นสื่อที่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจใดๆได้ ไม่ได้รับอนุญาตการใช้คลื่นความถี่จาก กสทช. และมีคดีข้อพิพาทอยู่ใน ศาลปกครอง ต่างจากคดีถือหุ้นสื่อของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ที่ศาลมีดุลพินิจแล้วว่า สามารถที่จะกลับมาดำเนินธุรกิจต่อไปได้ จึงทำให้กรณีของธนาธรเข้าข่ายการถือหุ้นสื่อต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญการตีความข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง ประกอบพยานหลักฐานและข้อกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดความหลากหลายในการแสดงความคิดเห็น แต่เมื่อมีคำวินิจฉัยถึงที่สุดของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว คู่กรณีจะต้องปฏิบัติตามที่ต้องแยกจากความเห็นในคดีนี้ อย่างที่นักกฎหมายมักจะมองตัวบทกฎหมายที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากกฎหมายไทยมีความซ้ำซ้อนและมีจำนวนมาก ทำให้กฎหมายดิ้นได้ ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานการณ์ด้วยก็มีการมองต่อไปอีกว่า ในวันที่ ๓๑ มกราคมนี้ ยังมีคดีการเมืองที่ พิธา และ พรรคก้าวไกล ถูกร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้ทำการวินิจฉัยว่า การที่ พิธาและพรรคก้าวไกล นำข้อเสนอ แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ไปเป็นนโยบายหาเสียงของพรรคก้าวไกล จะเป็นการขัดกับรัฐธรรมนูญ ที่ว่าด้วยการใช้สิทธิและเสรีภาพในการล้มล้างการปกครอง อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่มีโทษหนักถึงยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคตามตัวบทกฎหมายแล้ว ผู้ร้องไม่ได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าจะต้องลงโทษพรรคก้าวไกลและพิธาอย่างไรหรือไม่ แต่ขอให้วินิจฉัยว่าการนำนโยบายแก้ไข ม.๑๑๒ ขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าศาลเห็นว่าไม่เป็นการขัดกับรัฐธรรมนูญ พิธาและพรรคก้าวไกลก็จะหมดมลทินสามารถดำเนินการทางการเมืองต่อไปได้อย่างสะดวกโยธินจะกลับมาเป็นหัวหน้าพรรคก้าวไกล จะกลับมาเป็นแคนดิเดตนายกฯในฐานพรรคการเมืองเสียงข้างมาก จะกลับมามีบทบาททางการเมืองอะไรก็ได้แล้วแต่โอกาส แม้แต่จะกลับมาเป็นแกนนำรัฐบาลก็ได้แต่ถ้า วินิจฉัยว่าขัดรัฐธรรมนูญ ศาลก็จะต้องส่งเรื่องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบนำกลับไปวินิจฉัยในขั้นตอนต่อไป ในที่นี้ หมายถึง กกต. ที่ทำหน้าที่ดูแลการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรม เมื่อ กกต.ได้รับคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญแล้วก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ในกรณีที่พรรคการเมืองหาเสียงขัดกับรัฐธรรมนูญจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งก็มีตัวอย่างให้เห็นจากการวินิจฉัยของ กกต.ในกรณีที่ผู้สมัครหาเสียงผิดกฎหมายมาแล้วหลายคนส่วนจะร้ายแรงถึงกับยุบพรรคหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ กกต.อีกที ปัญหาที่จะต้องพิจารณาควบคู่กันไปด้วยคือ กรณีที่ มีผู้ร้องให้พิจารณายุบพรรคภูมิใจไทย ของ อนุทิน ชาญวีรกูล ในกรณีรับเงินบริจาคที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สืบเนื่องมาจากการวินิจฉัยการถือหุ้นของ ศักดิ์สยาม ชิดชอบ คาอยู่ด้วยอยู่บนทางสองแพร่งที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก.หมัดเหล็กmudlek@thairath.co.thคลิกอ่านคอลัมน์ “คาบลูกคาบดอก” เพิ่มเติม
Related posts