Sunday, 19 January 2025

"บิ๊กเอก" ยกคดี "ป้าบัวผัน-ลุงเปี๊ยก" เป็นบทเรียนใหญ่หลวงของตำรวจ

27 Jan 2024
124

“บิ๊กเอก” กรมตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ ชี้คดี “ป้าบัวผัน-ลุงเปี๊ยก” ตำรวจต้องถอดบทเรียนใช้เป็นกรณีศึกษา กำชับการปฏิบัติทุกหน่วย ผู้บังคับบัญชาต้องเอาใจใส่ในการสืบสวน-อำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนอย่างเคร่งครัด เมื่อวันที่ ๒๗ ม.ค. ๖๗ พล.ต.ต.เอก อังสนานนท์ กรมตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีจากการเลือกตั้งของตำรวจแสดงความคิดเห็นคดี น.ส.บัวผัน หรือป้ากบ ตันสุ ถูกกลุ่มวัยรุ่นทำร้ายเสียชีวิต และตำรวจ สภ.อรัญประเทศ ข่มขู่ให้ นายปัญญา คงแสนคำหรือ ลุงเปี๊ยก ว่า ข่าวคดีป้าบัวผัน ประเด็นจับลุงเปี๊ยกผิดตัว และมีการบังคับให้สารภาพนั้น เป็นเรื่องของเจ้าพนักงานที่ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และพิจารณาลงโทษตำรวจผู้เกี่ยวข้องอย่างเฉียบขาดโดยเร็ว ส่วนคดีเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดคดีนี้หรือคดีอื่นๆ ต้องเร่งรัดสืบสวนสอบสวนรูปสำนวนการสอบสวน ส่งให้พนักงานอัยการฟ้องศาลพิพากษาลงโทษตามกฎหมาย สภ.อรัญประเทศ พื้นที่รับผิดชอบที่มีปัญหาแก๊งวัยรุ่นก่ออาชญากรรมต่างๆ ต้องสืบสวนหาการป้องกันและระงับเหตุที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องนำคดีนี้ไปถอดบทเรียน และใช้เป็นกรณีศึกษากำชับการปฏิบัติทุกหน่วย ให้ผู้บังคับบัญชาเอาใจใส่ในการสืบสวนสอบสวน อำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนอย่างเคร่งครัดพล.ต.อ.เอก กล่าวต่อว่า เรื่องปัญหาเด็กและเยาวชนกระทำผิด มีสาเหตุหลายประการ สังคมทุกภาคส่วน ผู้ปกครอง สถานศึกษา ต้องร่วมมือป้องกันแก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา ส่วนตำรวจต้องมีแนวทางในการสืบสวนป้องกันแก๊งวัยรุ่นกระทำผิดตามมาตราการต่างๆ อย่างจริงจังส่วนข้อเสนอให้มีการแก้ไขอายุให้เด็กกระทำผิดต้องรับโทษ จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียดรอบคอบ โดยคำนึงถึงผลกระทบในภาพรวมและความเป็นสากล การแทรกแซงทางการเมืองส่งผลกระทบต่อการบริหารงานตำรวจ ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาตำรวจประพฤติปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรตำรวจมากมายหลายกรณี คดีกำนันนก ส่วยทางหลวง การพนันออนไลน์ ตั๋วแต่งตั้ง ผกก. เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริง สังคมทั่วไปและในหมู่ตำรวจเองรับรู้กันทั่วไป แม้ไม่มีหลักฐานใดยืนยัน ไม่สามารถปฏิเสธข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ ผู้บังคับบัญชาสูงสุดของตำรวจ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเป็น รัฐมนตรีว่าการมหาดไทย และนายกรัฐมนตรีตามลำดับ อดีต รัฐมนตรีว่าการมหาดไทย นายกรัฐมนตรีโยกย้ายอธิบดีตำรวจ หรือ ผบ.ตร. อ้างเหตุผลต่างๆ นานานับ ๑๐ ราย แม้กระทั่งอดีต ผบ.ตำรวจที่ได้รับคำชื่นชมจากประชาชนและสังคมว่า เป็นวีรบุรุษหรือคนไทยตัวอย่าง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส และ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้วพล.ต.อ.เอก กล่าวว่า ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา มีการกล่าวโจษขานกันอย่างกว้างขวางว่า การแต่งตั้ง ผบ.ตำรวจและการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจทุกระดับ ไม่เป็นตามระบบคุณธรรม ไม่ยึดอาวุโส แต่งตั้งนายตำรวจผู้ใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วผิดปกติ อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน วิ่งเต้นผ่านญาติพี่น้องผู้มีอำนาจ ปรากฏข่าวเรื่องการซื้อขายตำแหน่ง เรื่องตั๋วต่างๆ หรือภาพข่าวการเข้าแสดงความขอบคุณรัฐมนตรี เนื่องจากสนับสนุนให้ได้รับการแต่งตั้งโยกย้าย เป็นเหตุให้มีการเรียกร้องให้มีการปฎิรูปตำรวจ โดยเฉพาะการบริหารบุคคล การแต่งตั้งตำรวจ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน น่าเป็นรัฐธรรมนูญเดียวในโลกกำหนด ให้ในการปฎิรูปกระบวนการยุติธรรม โดยต้องแก้ไขกฎหมายตำรวจเพื่อให้มีหลักประกันว่า การแต่งตั้ง โยกย้าย และการพิจารณาบำเห็นความชอบจะเป็นไปตามระบบคุณธรรม คำนึงอาวุโสความรู้ ความสามาถ ไม่ให้ตำรวจตกอยู่ใต้อาณัติบุคคลใด เพื่อตำรวจจะได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีศักดิ์ศรี แต่ปรากฏว่า พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๕ ให้นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ก.ตร. มีอำนาจสุงสุดในการแต่งตั้ง ผบ.ตำรวจและนายตำรวจระดับสูง ซึ่งยังอาจทำให้การเมืองแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจได้พล.ต.อ.เอก กล่าวต่อว่า จึงเรียกร้องเสนอให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้ประธาน กรมตำรวจมาจากการเลือกตั้งอดีตผู้บังคับบัญชา เหมือนกับประธานคณะกรรมการอัยการ และกรรมการ กรมตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มาจากการเลือกตั้งต้องมีสัดส่วนมากกว่า กรมตำรวจโดยตำแหน่ง เพื่อเป็นหลักประกันการพิจารณาแต่งตั้งตำรวจของ กรมตำรวจเป็นไปตามระบบคุณธรรมอย่างแท้จริง การพัฒนา ปรับปรุง สนับสนุน เพื่อให้ตำรวจปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ อำนวยความยุติธรรม บริการรับใช้ประชาชนอย่างมีคุณภาพ คณะกรรมการที่มีอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยตำรวจแห่งชาติ ทั้ง ๔ คณะ ควรมีการปรับปรุงให้ปฏิบัติหน้าที่ ให้มีผลตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ดังนี้คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีหน้าที่และอำนาจในการกำหนดนโยบาย และยุทธศาสตร์ในการบริหารราชการตำรวจ (พระราชบัญญัติตำรวจ ๒๕๖๕ ม.๑๕) ตั้งแต่อดีต ๒๕๔๗ ยังไม่เคยมีผลการดำเนินงานปรากฎอย่างเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่อย่างใด คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีหน้าที่และอำนาจในการบริหารงานบุคคล แต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ (พระราชบัญญัติตำรวจ ๒๕๖๕ ม.๒๓) ยังไม่สามารถตอบโจทย์ในเรื่องป้องกันการแทรกแซงทางการเมืองได้ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ (กุมภาพันธ์ค.ตร.) เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกตาม พระราชบัญญัติตำรวจ ๒๕๖๕ ม.๓๓ คณะกรรมการ กุมภาพันธ์ค.ตำรวจจำนวน ๗ คน ได้มาจากการคัดสรรฯ (ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นประธานคัดสรรฯ) นายสมรรถชัย วิศาลาภรณ์ อดีตตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเป็นประธาน กุมภาพันธ์ค.ตำรวจมีหน้าที่ และอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์และอุทธรณ์ ซึ่งรวมถึงการร้องทุกข์เกี่ยวกับการแต่งตั้งตำรวจ และการจัดลำดับอาวุโส จึงเป็นความหวังของตำรวจ ที่จะเรียกร้องความเป็นธรรมในการแต่งตั้ง คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ (ก.ร.ตร.) เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกตาม พระราชบัญญัติตำรวจ ๒๕๖๕ ม.๔๓ เช่นเดียวกัน คณะกรรมการบางส่วนมาจากบัญชีผู้สมัครเลือกตั้งเป็น กรมตำรวจผู้ทรงคุณวุฒิ และบุคคลภายนอกจากองค์การต่างๆ รวมทั้งศาลและอัยการ พล.ต.ท.สุรศักดิ์ เย็นเปรม อดีต ผบช.ภ.๘ เป็นประธาน ก.ร.ตำรวจมีหน้าที่และอำนาจพิจารณา เรื่องที่ประชาชนร้องเรียนตำรวจประพฤติหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมพล.ต.อ.เอก กล่าวอีกว่า คณะกรรมการ ก.ร.ตำรวจมีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่ยังไม่สามารถได้คณะกรรมการที่มาจากศาล และอัยการครบตามที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งในส่วนที่มาจากข้าราชการตำรวจจำนวน ๓ นาย ก็ควรจะต้องเป็นการสมัครเลือกตั้งโดยตรง เพื่อมาทำหน้าที่คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ มิใช่เอามาจากบัญชีรายชื่อผู้สมัครเป็น ก.ตร. ผู้บังคับบัญชาทุกระดับต้องเน้นย้ำให้ความสำคัญการบริหารจัดการสถานีตำรวจอย่างจริงจังต่อเนื่อง เพราะสถานีตำรวจเป็นหน่วยงานสำคัญที่สุดในการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ (one stop service) การแต่งตั้งหัวหน้าสถานีตำรวจ ต้องคัดเลือกผู้ที่ความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์งานสืบสวนสอบสวน และปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่มาโดยตลอด สนับสนุนส่งเสริมให้พนักงานสอบสวนมีขวัญกำลังใจ มีเส้นทางความเติบโตเป็นหัวหน้าสถานีต่อไป มีค่าตอบแทนในการทำสำนวนสอบสวนอย่างเหมาะสมและเพียงพอ มีผู้ช่วยเหลือ และเครื่องมือ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน ต้องดำเนินการแก้ไขข้อจำกัดสถานีตำรวจในทุกด้าน สภาพความขาดแคลนกำลังพล สถานีตำรวจ ๑,๔๘๔ สถานี มีสถานภาพกำลังพลแต่ละสถานีส่วนใหญ่อยู่ที่ ๕๐-๕๕ เปอร์เซ็นต์ ของอัตรากำลัง ค่าน้ำมันรถสายตรวจ ตำรวจขอไปตามการคำนวณที่จะต้องใช้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลจัดให้ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ เบี้ยเลี้ยงการปฏิบัติงานของตำรวจ เพิ่มภารกิจให้ตลอด”ล่าสุดกระทรวงศึกษาฯ ขอความร่วมมือตรวจโรงเรียน เนื่องจากยกเลิกการเข้าเวรของครู ทุกสังคมย่อมมีอาชญากรรม จึงต้องมีตำรวจเพื่อทำหน้าที่ป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ตำรวจบางคนอาจใช้อำนาจหน้าที่ประพฤติ ปฏิบัติหน้าที่มิชอบต่างๆ แสวงหาผลประโยชน์ สร้างความเดือดร้อน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและองค์กรตำรวจ ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการลงโทษและขจัดให้พ้นจากตำรวจ ขณะเดียวกันรัฐบาลและสังคมทุกภาคส่วนต้องช่วยกันสนับสนุน ส่งเสริมตำรวจให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แก้ไขกฎหมายป้องกันการแทรกแซงทางการเมือง ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร สนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอ ผมมั่นใจว่าพี่น้องตำรวจทุกหน่วยทั่วประเทศ ยึดมั่นในอุดมการณ์ ยินดีปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละ อดทน เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่ดีเพื่อพี่น้องประชาชนตลอดไป” พล.ต.อ.เอก กล่าว