ผ้าไหมไทยลวดลายสวยงาม มีเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละท้องถิ่น เป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย อีกหนึ่งภูมิปัญญาไทยดั้งเดิมที่รัฐบาลประกาศ เตรียมผลักดันเป็นซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ในการส่งเสริมพัฒนาต่อยอด ให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลก จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในระดับท้องถิ่น ให้คนในพื้นที่มีรายได้ และภาคภูมิใจในผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นของตัวเองtt ttผ้าไหมไทยนอกจากมีงดงามด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังมีความพิเศษมีชีวิตชีวา เป็นเหตุผลทำให้ “ด็อกเตอร์ชญณา ศิริภิรมย์” ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งซีอีโอบริษัทประกันยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น มาทำตามความฝันของตัวเอง ด้วยการทำแบรนด์ผ้าไหมไทย ให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ แม้ความฝันจะดูแตกต่างจากอาชีพที่ทำมานานเกือบ ๓๐ ปี แต่มั่นใจว่าจะสามารถนำประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานบริษัทญี่ปุ่น มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้โดยเฉพาะปรัชญาการทำงานของคนญี่ปุ่น “ikigai” (อิคิไก) คุณค่าของการมีชีวิตอยู่ที่แท้จริง รู้ว่าตื่นเช้ามาเราต้องทำอะไรให้กับชีวิตที่เหลืออยู่ หรือต้องรู้ว่ามีชีวิตเพื่ออะไร ในการทำ ๔ สิ่ง ๑. ทำในสิ่งที่ชอบ ๒. ทำในสิ่งที่ถนัด ๓. ทำในสิ่งที่มีรายได้เลี้ยงชีพเพียงพอ และ ๔. ทำในสิ่งมีประโยชน์กับโลกใบนี้ หากครบ ๔ สิ่งนี้ ikigai เกิดแน่นอนtt tt”การตัดสินใจออกมาทำแบรนด์ผ้าไหม หลายคนก็เตือนว่า เราจะทำได้เหรอ ไม่ใช่ผ้าไหมทั่วไป แต่เป็นผ้าไหมธรรมชาติ ที่หาคนทำยาก ใช้เวลาในการทำงาน และต้นทุนค่อนข้างสูง แต่เราเองก็ผูกพันกับผ้าไหม ซึมซับจากความรักในผ้าไหมของคุณแม่ ที่เก็บสะสมไว้นับร้อยผืน ผ่านกาลเวลามากว่า ๔๐ ปี ในวันที่เราได้มีโอกาสสัมผัส ทำให้เข้าใจว่าทำไมคุณแม่ถึงรักผ้าไหม เพราะเราเองก็ตกหลุมรักในทันที เพราะผ้าไหมมีความพิเศษคือมีชีวิตชีวา”นอกจากงดงามด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว เนื้อผ้ายังสามารถปรับอุณหภูมิได้อย่างน่าอัศจรรย์ และเมื่อนำมาออกแบบตัดเย็บเป็นชุด ในแบบที่ทันสมัย ก็สามารถสวมใส่ออกงานได้ ใช้ในชีวิตประจำวันดูเก๋ ไม่ซ้ำใคร คนเห็นต่างทักว่าสวย หลายคนขอซื้อ จนตอนนี้แทบจะไม่เหลือแล้ว จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่คิดว่า ควรจะนำผ้าไหมศิลปะแห่งภูมิปัญญา ออกแบบโดยศิลปินพื้นบ้าน และมีเรื่องราวในทุกผืนผ้า มาพัฒนาเป็นแฟชั่น สามารถสวมใส่ได้หลากสไตล์ในทุกโอกาส ในแบบที่เป็นตัวเอง และสามารถทำตลาดได้ทั่วโลกtt ttจุดเริ่มทำผ้าไหมสีธรรมชาติ เป็นแบรนด์ของตัวเองกระทั่งมีโอกาสได้เจอกับเจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “โชติกา” ซึ่งมีชื่อเสียงมากใน อ.ชนบท จ.ขอนแก่น จากเดิมครอบครัวเคยทอผ้าไหมแบบธรรมชาติ แต่ด้วยความนิยมที่ลดลง ต้องใช้เวลาในการทอนาน หาคนทอยาก และขายก็ยาก ทำให้ต้องปรับตัวไปใช้เคมี จะย้อมสีธรรมชาติสำหรับการประกวดเท่านั้น แต่เมื่อร่างกายแพ้สารเคมี จึงหันไปทำอาชีพอื่น ด้วยความเสียดายฝีมือและภูมิปัญญาจะตกหาย จึงขอให้ทำเฉพาะผ้าสีธรรมชาติจากวัตถุดิบธรรมชาติตามฤดูกาล และหาได้ในท้องถิ่น ในแบรนด์ของ “Chayanna” (ชะ-ยัน-น่า) มีการกำหนดสีให้กลมกลืนสวยงาม ยากต่อการเลียนแบบtt ttสำหรับสีธรรมชาติที่ใช้ในการย้อมสี อย่างใบสัก ถ้าเป็นใบอ่อน จะให้สีชมพูอ่อน แต่ถ้าใบแก่ จะให้สีน้ำตาลทอง ส่วนใบสบู่เลือด ให้สีเขียว, ฝักคูนดิบ ให้สีโทนเหลือง ฝักแก่ให้สีโทนน้ำตาล, ตัวครั่ง ให้สีแดง ชมพู และโอลด์โรส แล้วแต่จำนวนครั้งของการย้อม, มะเกลือดิบ ให้สีเขียวเข้ม ถ้านำมาตากแดดหลายๆ ครั้ง จะให้สีโทนน้ำตาล, เปลือกมะพร้าวน้ำหอม ให้โทนสีเทา และใบหูกวาง ใบอ่อนให้สีน้ำตาอ่อน ใบแก่ให้โทนสีน้ำตาลแก่tt ttสีธรรมชาติหากนำไปผสมกับโคลน จะให้สีที่เข้มขึ้น เช่น ครั่งผสมกับโคลนจะให้สีม่วงกะปิ มะเกลือผสมโคลนจะให้สีเทาเขียว และถ้านำมาผสมกับปูนขาว จะเปลี่ยนสีที่สวยไปอีกแบบ เช่น ผสมกับครั่ง จะได้โทนน้ำตาลชมพู และเมื่อได้สีตามที่ต้องการแล้ว จะมีการโอบสีโดยนำเชือกฟางมาโอบไว้ให้แน่น เพื่อแยกให้ได้สีตามที่ต้องการ จากนั้นก็นำมาย้อมสีพื้น แล้วแก้เชือกฟางที่โอบอยู่ออกทั้งหมด ก่อนนำไปกวักอีกครั้ง แล้วปั่นใส่หลอดนำไปทอ ซึ่งกระบวนการนี้สำคัญมากเพราะมีการวางลวดลายไว้แล้ว หากเส้นไหมขาดก็ต้องต่อให้สนิทtt tt”ผ้าไหมสีธรรมชาติแต่ละผืน มี ๔ ลวดลายที่สร้างสรรค์จากลายโบราณนำมาประยุกต์เพิ่มเติม ให้มีเอกลักษณ์และเรื่องราว มีความยาว ๔ เมตร ใช้เวลาทอเป็นเดือน มีความโดดเด่นแวววาวสะท้อนแสง เหมือนเพชรร้อยเหลี่ยมที่มองมุมไหนก็สวย ไหมทุกผืนจะแตกต่างกันด้วยสีสันและลวดลาย จากการทำมือ และใช้วัสดุจากธรรมชาติ มีความสวยงาม มีชีวิตชีวา และปรับอุณหภูมิตามสภาพอากาศ ฉ่ำเย็นเมื่ออากาศร้อน และจะอบอุ่นเมื่ออากาศเย็น สวมใส่ได้ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ ทุกไลฟ์สไตล์ และทุกโอกาส”.
ทำตามความฝัน ด็อกเตอร์สาว ทิ้งตำแหน่งซีอีโอ ปั้นแบรนด์ผ้าไหม ศิลปะภูมิปัญญาไทย
Related posts