Sunday, 17 November 2024

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ทรงเจดีย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

28 Jan 2024
215

พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังฯ ของบอย บางกรวย.เข้าตลาดวัตถุมงคล สนามพระวิภาวดี กันมาไม่กี่นัด วันนี้ก็ต้องขอส่งท้ายเดือนมกรากันด้วย พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังฯ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯแค่บอกว่า พระสมเด็จองค์นี้ เดิมเป็นของเซียนรุ่นใหญ่ โกเนี้ยว (มงคล เมฆมานะ) คนก็ฮือแล้ว เพราะว่าพระรังนี้ขึ้นชื่อว่าคุณภาพ ๕ ดาว ที่ตีออกยากและองค์นี้เป็นองค์ที่ โกเนี้ยว เอาไว้ใช้บูชาเอง แต่ถูก เสี่ยบอย บางกรวย ตามขอมานาน จนต้องยอมยกให้ย้ายวิกtt ttพระสมเด็จอรหัง พิมพ์ฐานคู่ หลังโต๊ะกัง สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) วัดมหาธาตุ ของเหน่ง บางคู้.องค์ที่สองเป็น พระสมเด็จอรหัง (แดง) พิมพ์ฐานคู่ หลังโต๊ะกัง สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ สร้างราวปี พ.ศ.๒๓๖๐-๒๓๖๓ ออกเป็นที่ระลึก ในพิธีรับสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และย้ายไปครองวัดมหาธาตุ พร้อมนำพระพิมพ์รูปทรงสี่เหลี่ยม “ชิ้นฟัก” เนื้อผงขาว หลังจารอักขระลายมือคำ “อรหัง” มอบผู้ร่วมพิธี และบรรจุองค์พระเจดีย์เป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนากรุนี้มีพิมพ์พระมาตรฐาน ๕ พิมพ์ คือ ๑.พิมพ์สังฆาฏิ เศียรใหญ่-เล็ก ๒.พิมพ์ฐานคู่ เข่าโค้ง ๓.พิมพ์เกศอุ (เปลวเพลิง) ๔.พิมพ์หลังโต๊ะกัง (เนื้อแดง) ๕.พิมพ์เล็ก มีประภามณฑล-ไม่มีประภามณฑลองค์นี้ ของ เสี่ยเหน่ง บางคู้ เป็น พระพิมพ์หลังโต๊ะกัง (ยันต์ปั๊ม) เนื้อแดง ที่มีพบจากกรุองค์พระเจดีย์ที่ วัดสร้อยทอง เพียงแห่งเดียวซึ่งมีประวัติว่า เจ้าอาวาสยุคนั้น ซึ่งเป็นศิษย์เอกในองค์สมเด็จฯ ได้นำมาบรรจุไว้เป็นที่ระลึก ปัจจุบันได้รับความนิยมเป็น ๑ ใน ๕ “พระสมเด็จอรหัง” พิมพ์นิยมมาตรฐาน ราคาหลักล้านขึ้นเหนือ ไปดู พระเปิม เนื้อเขียว วัดดอนแก้ว อ.เมือง จ.ลำพูน ๑ ในพระพิมพ์เมืองลำพูน ที่มีชื่อเสียงเป็นพระกรุยอดนิยมมาพร้อม พระคง พระบาง และพระร่วมสกุลลำพูน อื่นๆ เรียกเป็น พระเปิม เพราะองค์พระมีขนาดเขื่องกว่าพระพิมพ์อื่นๆค้นพบครั้งแรกที่กรุวัดดอนแก้ว (ปัจจุบันเป็น ร.ร.บ้านเวียงยอง) ราวปี พ.ศ.๒๔๘๔ พร้อม พระบาง พระคง และพระร่วมสกุลอื่นๆต่อมาพบที่กรุวัดพระธาตุหริภุญไชยกรุวัดจามเทวี และกรุวัดมหาวัน (เนื้อละเอียด ขนาดองค์เล็กกว่ากรุอื่น) ทุกกรุเป็นพระแม่พิมพ์เดียวกัน ต่างที่เนื้อ และลักษณะการปาดหลัง เป็นพระพิมพ์ทรงเล็บมือ ขนาดเขื่อง ด้านหน้าเป็นองค์พระนั่งปางมารวิชัยอยู่ในซุ้มปรกโพธิ์ พุทธศิลป์แบบคุปตะของอินเดียผสมหริภุญไชยพระงามเลิศด้วยฝีมือช่างที่มีความประณีตละเอียดอ่อนในการแกะแม่พิมพ์ ทำให้องค์พระดูมีมิติอย่างอลังการด้วยซุ้มใบโพธิ์ที่มีมากถึง ๘๔ ใบในอดีตเป็นรองพระพิมพ์อื่นๆ ด้วยขนาดที่ใหญ่เทอะทะ แต่เมื่อพบประสบการณ์อานุภาพด้านแคล้วคลาดสูง ความนิยมจึงมีสูงขึ้น ปัจจุบันได้ชื่อเป็น ๑ ในขุนพลพระลำพูนราคาองค์งามๆ สภาพเดิมๆ สูงถึงหลักแสน นิยมสูงสุดคือ กรุวัดดอนแก้ว ซึ่งมีลักษณะล่ำใหญ่ เนื้อละเอียด มักมีราดำจับแน่นเข้าผิวเนื้อ เพราะกรุพระอยู่ใกล้แม่น้ำจุดพิจารณาด้านหลังองค์พระมี ๒ แบบ คือ ๑.ปาดเรียบ ๒.ปาดหนา สีเนื้อพิกุล ขาว และเขียว อย่างองค์นี้ ของ เสี่ยณัฐพล วิไลพรรัตนา ซึ่งเป็นสีนิยมสุด หายากสุดๆtt ttพระกริ่งปวเรศ สมเด็จพระสังฆราช เจ้ากรมพระยาปวเรศ วริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศน์ ของนิธิศ นนท์วราเวช.องค์ต่อไป ไม่ได้ดูนานเพราะไม่มีจะดู ไม่มีจะขาย คือ พระกริ่งปวเรศ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศน์ กรุงเทพฯ ต้นตำรับ “พระกริ่งไทย” ที่สร้างไว้โดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศ วริยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อระหว่างปี พ.ศ.๒๓๘๒-๒๔๓๔ ตามตำรับวิชา สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว โดยฝีมือช่างสิบหมู่มีบันทึกประวัตินิดหน่อยว่าเป็นพระที่สร้างจำลององค์พระไภษัชยคุรุ ตามแบบพระกริ่งจีน ในวาระสำคัญอันเป็นพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์ และเป็นส่วนพระองค์รวม ๖ ครั้ง มีระบุจำนวนรวมราว ๓๐ องค์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๔ เพื่อทดแทนพระกริ่งส่วนพระองค์ที่หาย ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๐๙ สร้างเพื่อถวาย ร.๔ ในพระราชพิธี ร.๕ ทรงบรรพชาเป็นสามเณร จำนวน ๙ องค์ครั้งที่ ๓ พ.ศ.๒๔๑๑ คราวงานพระราชพิธี “โสกันต์” และบรมราชาภิเษกฉลองพระชนม์ ร.๕ พระชันษา ๑๕ ชันษา ขึ้นครองราชย์ ไม่ระบุจำนวน ๔.ปี พ.ศ.๒๔๑๖ ในพระราชพิธี ร.๕ ทรงผนวช ๕.พ.ศ.๒๔๒๖ เรียก พระกริ่งปราบฮ่อ ไม่ระบุจำนวน และครั้งที่ ๖ พ.ศ.๒๔๓๔ สร้างเป็นอนุสรณ์ครั้งรับสถาปนามหาสมณุตมาภิเษกเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๘ปัจจุบัน พระกริ่งปวเรศ ได้รับความนิยมเป็น “พระกริ่งใน” เป็นพระเครื่องชั้นสูง ซึ่งเป็นสุดยอดปรารถนาของนักนิยมพระ มีราคาสูงหลักสิบๆ ล้าน ที่มีองค์พระปรากฏในวงการรวมราว ๑๐๐ องค์ แต่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับมีอยู่ราว ๒๐ องค์ ระบุนามผู้ครอบครอง ได้ทุกองค์ รวมถึงองค์นี้ ของ เสี่ยนิธิศนนท์วราเวช ที่ได้ครอบครองพระองค์ดังในตำนานtt ttพระมเหศวร พิมพ์เล็ก เนื้อชินเงิน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ของเอ มรดกไทย.ต่อไปเป็น พระมเหศวร เนื้อชินเงิน พิมพ์เล็กวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ยอดพระกรุ-พระเก่า มีชื่อเสียงเป็นขุนพลพระกรุเมืองสุพรรณ ด้วยฟอร์มทรงที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์และอานุภาพพุทธคุณที่ประสบการณ์เลื่องลือเหนือคำบรรยาย ทั้งด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี หนังเหนียว ขนาด เคียวเกี่ยวข้าวไม่ได้กินเลือด ด้านมหาอุดก็ขนาด หยุดลูกปืน ทำปากกระบอกแตก ลั่นใส่ตัวคนยิงมีหลายพิมพ์พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์สวนเดี่ยว พิมพ์หลังซุ้มระฆัง องค์นี้ ของ เสี่ยเอ มรดกไทย เป็น พระพิมพ์เล็ก สภาพผ่านใช้ ผิวเปิดเห็นเนื้อใน มั่นใจได้เป็นพระแท้ดูง่ายใช้บูชาพึ่งพาอานุภาพได้สบายใจtt ttพระปิดตา พิมพ์ข้างกนก เนื้อใบลาน ตะกรุดคู่เงิน-ทองคำ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ของโจ วัยวินทร์.ถัดไปเป็น พระปิดตาข้างกนก เนื้อผงใบลาน ตะกรุดคู่เงิน– ทองคำ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ พระปิดตารุ่นนิยม เนื้อนิยมอีกสำนักอย่างองค์นี้ ของ เสี่ยโจ วัยวินทร์ มีสร้างไว้เพียง ๑๐๐ องค์ ได้รับความนิยมสูง มีผู้แสวงหามาก แต่น้อยคนจะได้ โดยเฉพาะองค์งามๆ สภาพเดิมๆ แบบแกะกล่องอย่างองค์นี้ ที่มีราคาสูงถึงหลักมากแสนtt ttเหรียญเสมา พ.ศ. ๒๕๑๗ เนื้อทองคำ หมายเลข ๔๕ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ของ DM หลวงปู่โต๊ะ.องค์ที่ ๗ เป็น เหรียญเสมา พ.ศ.๒๕๑๗ เนื้อทองคำ หมายเลข ๔๕ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ สร้างพิเศษมอบสำหรับศิษย์ใกล้ชิดที่ร่วมเป็นกรรมการจัดสร้าง มีจำนวนเพียง ๑๙๙ องค์ทุกองค์ตอกโค้ดหมายเลขกำกับ อย่างองค์นี้ ของ DM หลวงปู่โต๊ะ เป็นหมายเลข ๔๕ ฟังว่าราคาเหรียญงามๆ สภาพเดิมๆ แบบเหรียญนี้ขึ้นถึงหลักล้านมาแล้วtt ttเขี้ยวเสือแกะ (อ้าปาก) หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน ของนิธิศ นนท์วราเวช.สุดท้ายคือ เขี้ยวเสือแกะ (อ้าปาก) หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ของ เสี่ยนิธิศ นนท์วราเวช อีกแร้วเป็น เสือตัวดังคลองด่าน ด้วยสภาพงามสมบูรณ์ของเนื้อเขี้ยว สีเข้ม (แดง) เข้าใจว่ามีการทารักเคลือบรักษาเนื้อไว้ กับฟอร์มทรงเส้นศิลป์ที่เป็นฝีมือมาตรฐาน นิยมสูงสุดลายมือลงอักขระเลขยันต์อยู่ตรงที่ตรงจุดครบตัว ดูเข้มขลังมีพลังแบบ “เสือสักยันต์”มีศักดิ์ศรีเป็นแชมป์ของประเทศ ที่สายตรงยอมรับให้สมญานามว่า องค์พยัคฆ์อัคคีเดิมเป็นเสือองค์ประวัติศาสตร์ของคลองด่าน ที่มีประวัติว่า เดิมอยู่กับ กู๋หนี เจ้าของเรือประมงคนดัง ปัจจุบันอายุเหยียบ ๑๐๐ ปี ซึ่งได้รับเป็นมรดกมาจากบรรพบุรุษ ที่ได้รับมาจากมือหลวงพ่อปานกู๋ก็ใช้บูชาเป็นเครื่องรางของขลังประจำตัวสืบทอดเป็นมรดกประจำตระกูล ตลอดเวลามีเซียนใหญ่สายตรงวนเวียนบุกเจรจาขอเอาเสือออกจากถิ่น แต่ไม่เคยสำเร็จจนถึงปัจจุบันก็เป็นไปตามกฎว่า ของดีของวิเศษ สูงค่าทรงคุณ ล้วนเป็น สมบัติผลัดกันชม ไม่มีใครครอบครองเป็นเจ้าของได้ตลอดไป ย่อมต้องหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านอยู่กับผู้มีวาสนาบุญญาบารมีถึงปัจจุบัน “พยัคฆ์อัคคี” ตัวนี้มาจึงจำศีลอยู่กับ เสี่ยนิธิศ ที่เปิดตัวในสนามนี้มาตั้งแต่ปีใหม่ จนเรียกร้องอยากรู้จักกันสนั่นลาเดือนมกรากันเรื่องปิดท้าย ในสนามกีฬา ร.ร.มัธยม ประจำจังหวัดแห่งหนึ่ง ที่มีการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์จังหวัด โดย ร.ร.เจ้าถิ่นแชมป์เก่าพบกับทีมน้องใหม่ ที่เข้ารอบมาชิงแชมป์เป็นครั้งแรก นักเรียนกองเชียร์ ๒ ฝ่ายจึงมารอเชียร์เต็มสนามก่อนแข่งอาจารย์โค้ชฝ่ายแชมป์เก่า ซึ่งเป็นนักนิยมพระเครื่องของขลังสายมู เรียกผู้รักษาประตูไปพบ มอบพระปิดตาองค์หนึ่งให้ใส่ไว้ในถุงมือบอกว่า เป็นพระปิดตามหาอุด จะช่วยปิดประตูไม่ให้ลูกบอลยิงผ่านไปได้ง่ายๆใช้เห็นผลมาแล้วเมื่อปีที่แล้ว ร.ร.ได้แชมป์โดยไม่เสียประตูเลยแม้ลูกเดียวผู้รักษาประตูรับพระมาใส่มืออธิษฐานก่อนใส่กระเป๋ากางเกงด้วยความเชื่อมั่น แล้ววิ่งลงสนามไปแข่งขันจนหมดเวลา ปรากฏว่าเป็นฝ่ายแพ้ เสียแชมป์ โดนคู่แข่งยิงประตูชนะไปถึง ๕ ต่อ ๐หลังแข่ง ในห้องพักนักกีฬา อ.โค้ชสายมู ส่งเสียงดังเครียดต่อว่านักกีฬาว่า เล่นกันยังไงแพ้มากขนาดนี้ นี่ขนาดให้ผู้รักษาประตูใช้พระปิดตาติดตัวแล้วนะผู้รักษาประตูฟังแล้วตอบจ๋อยๆว่า พระปิดตา คงช่วยไม่ไหว เพราะแม่ผมเอาผ้ายันต์มาให้ บอกเพื่อให้โชคดี ผมก็เอาใส่กระเป๋าเสื้อไว้ เพิ่งมารู้หลังแข่งว่าเป็น ผ้ายันต์แม่นางกวัก ที่น่าจะขลังกว่าพระปิดตาของอาจารย์–เพราะกวักบอลคู่แข่งเข้าประตูไม่หยุด เลยโดนยิงซะพรุน เจ้าค่ะ อามิตตพุทธ.สีกาอ่างคลิกอ่านคอลัมน์ “สนามพระ” เพิ่มเติม