Thursday, 19 December 2024

มะนาวพันธุ์ใหม่ กวก. พิจิตร ๒

โรคแคงเกอร์…เป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกรผู้ปลูกมะนาว เนื่องจากเชื้อสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของพืช ทำให้ต้นทรุดโทรม ใบร่วง ผลผลิตลดลง และทำให้ผลมะนาวไม่มีคุณภาพแม้ต่อมา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร กรมวิชาเกษตร จะประสบความสำเร็จในการวิจัยปรับปรุงพันธุ์ “มะนาวพิจิตร ๑” ให้มีความทนทานต่อโรคแคงเกอร์ ส่งผลให้มะนาวพันธุ์นี้ได้รับเสียงตอบรับจากเกษตรกรทั่วประเทศแต่เนื่องจากมะนาว พันธุ์พิจิตร ๑ ยังมีจำนวนเมล็ดต่อผลมากโดยเฉลี่ย ๒๙.๔ เมล็ดเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตรจึงได้ปรับปรุง มะนาวพันธุ์พิจิตร ๑ จนประสบความสำเร็จ และผ่านการับรองพันธุ์ไปเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๖๖ ใช้ชื่อพันธุ์ใหม่นี้ว่า กวก. พิจิตร ๒tt tt“การปรับปรุงพันธุ์ครั้งนี้ เราใช้วิธีการเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยการฉายรังสีแบบแกมมา โดยการนำต้นมะนาวพันธุ์พิจิตร ๑ อายุ ๓ เดือน หลังจากเสียบยอด ไปฉายรังสีแกมมาปริมาณรังสี ๕ ระดับ จำนวนระดับละ ๑๐ ต้น หลังฉายรังสีนำไปปลูกลงแปลง ปล่อยให้กิ่งด้านล่างเจริญเติบโตประมาณ ๕ ตา จากนั้นใช้วิธีตัดแต่งกิ่ง แล้วปล่อยให้แตกกิ่ง เมื่อกิ่งเจริญแตกตาใหม่ ประมาณ ๕ ตา ตัดกิ่งเพื่อให้แตกกิ่งเป็นรุ่นที่ ๒ และตัดกิ่งไปถึงรุ่นที่ ๓ จากนั้นปล่อยให้กิ่งมีการเจริญเติบโตเมื่อมะนาวให้ผลผลิตทำการติดป้ายชื่อ แถวที่ ต้นที่ กิ่งที่และระดับรังสี ซึ่งมีจำนวนกิ่งที่ให้ผลผลิต ๒๔๙ กิ่ง จากนั้นคัดเลือกให้เหลือ ๑๒๑ สายต้น และทำการคัดเลือกซ้ำโดยคัดเลือกจากการตรวจสอบคุณภาพผลผลิตแต่ละสายต้นตามหลักเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ต้องมีเมล็ดน้อยกว่า ๑๕ เมล็ดต่อผล เปลือกบาง ให้ผลผลิต คุณภาพดี ได้ต้นพันธุ์ผ่านการคัดเลือก ๒๔ สายต้น พร้อมกับปลูกเปรียบเทียบกับมะนาวพันธุ์พิจิตร ๑ ที่ศูนย์ วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ในช่วงปี ๒๕๕๗-๒๕๖๑ และในช่วงปี ๒๕๖๒-๒๕๖๔ ได้นำไปปลูกทดสอบอีก ๔ สถานที่ ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย แปลงเกษตรกรจังหวัดพิจิตร และแปลงเกษตรกรจังหวัดเพชรบุรี”tt tttt ttนางสาวมนัสชญา สายพนัส นักวิจัยผู้ปรับปรุงพันธุ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร เผยถึงผลการปลูกทดสอบใน ๔ สถานที่ พบว่ามะนาวสายต้น PCT๑-๐๗-๐๑-๔ ฉายรังสีที่ระดับรังสี ๑๐๘ เกรย์ การเจริญ เติบโตดี เมล็ดน้อย เปลือกบางกว่าพันธุ์พิจิตร ๑ จึงเสนอขอรับรองพันธุ์โดยมีลักษณะเด่น เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตเร็ว เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ ๘–๑๒ เดือน จำนวนเมล็ดต่อผลเฉลี่ย ๑.๙๗ เมล็ด น้อยกว่าพันธุ์พิจิตร ๑ ที่มีจำนวนเมล็ดต่อผลเฉลี่ย ๒๔.๗ เมล็ด ความหนาเปลือกเฉลี่ย ๑.๗๘ มิลลิเมตร น้อยกว่าพันธุ์พิจิตร ๑ ความหนาเปลือกเฉลี่ย ๒.๓๖ มิลลิเมตร และให้ผลผลิตดกเมื่ออายุต้น ๓ ปีขึ้นไป เฉลี่ยไร่ละ ๑,๐๕๐ กิโลกรัมต่อไร่สนใจกิ่งพันธุ์มะนาวพันธุ์พิจิตร ๒ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร โทรศัพท์ ๐-๕๖๙๙-๐๐๓๕.tt tttt ttชาติชาย ศิริพัฒน์คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม