Thursday, 19 December 2024

๒๒ ปี สิทธิบัตรทอง รักษาทุกที่คล่องตัว

29 Jan 2024
131

รำลึก ๑๖ ปีการจากไปของ “นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์” หรือ “หมอหงวน” เลขาธิการ สปสช.คนแรก และผู้นำในการผลักดันระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านับเป็นบุคคลที่ได้สร้างคุณูปการให้กับคนไทยทั้งประเทศ จากในอดีตที่ท่านเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ทำให้มองเห็นถึงความทุกข์ยากของชาวบ้านและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการ “รักษา” และ “บริการ” สุขภาพ จึงเกิดแนวคิดและจิตใจที่มุ่งมั่น พร้อมมุ่งทำงานทุ่มเทและเสียสละtt ttนพ.จเด็จ ธรรมธัชอารีโดยทำงานร่วมกับภาคประชาสังคม นักวิชาการ เพื่อผลักดันระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจนนำไปสู่การเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของพรรคการเมืองและของรัฐบาล จนเกิดการจัดตั้ง “ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” สำเร็จในปี ๒๕๔๕ ที่นับเป็นการปฏิรูประบบสุขภาพครั้งใหญ่ของประเทศไทยนพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) บอกว่าแม้ว่า นพ.สงวนจะจากไป ๑๖ ปีแล้ว แต่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ายังคงเป็นนโยบายสำคัญของทุกรัฐบาลต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในการสนับสนุนด้วยเป็นนโยบายที่ยังประโยชน์ต่อประชาชนโดยตรงสำหรับผลที่เกิดขึ้นไม่เพียงทำให้คนไทยทั้งประเทศที่ยังไม่มีหลักประกันสุขภาพรองรับเข้าถึงการรักษาได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึงเท่านั้น โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ที่พิสูจน์ชัดเจน ขณะเดียวกัน ก็ช่วยให้คนไทยไม่ต้องล้มละลายจากค่ารักษาพยาบาลและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนอกจากนี้ ยังทำให้ประเทศไทยได้รับการยกย่องและเป็นต้นแบบประเทศที่ดำเนินหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยองค์การอนามัยโลกทั้งยังได้ผลักดันให้แต่ละประเทศเร่งสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเพื่อดูแลประชากรในประเทศตนเอง มีการกำหนดให้ทุกวันที่ ๑๒ ธันวาคม เป็น… “วันหลักประกันสุขภาพสากล”tt ttวันนี้รัฐบาลพรรคเพื่อไทย นำโดยนายกรัฐมนตรี “เศรษฐา ทวีสิน” ยังเดินหน้า “โครงการ ๓๐ บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” โดยมี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการสาธารณสุข (สธ.) เป็นหัวหอกคนสำคัญ นั่นหมายถึงว่า…การทำให้ประชาชนคนไทยทุกคนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ…หรือ “สิทธิบัตรทอง” หรือ “สิทธิบัตร ๓๐ บาท” ที่คนไทยรู้จักมากว่า ๒๒ ปี ได้เข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเป็นธรรม เสมอภาค มีคุณภาพ และมาตรฐานให้มากกว่าเดิมจุดเน้นสำคัญคือ การต่อยอดความสำเร็จ ที่ทำให้คนไทยกว่า ๙๕% ได้เข้าถึงการรักษาทุกโรค แต่สิ่งที่ตามมาคือความแออัด ผู้ป่วยรอรับบริการล่าช้า แพทย์เจอภาระงานจำนวนมาก…ต่อยอดพัฒนาให้ดีขึ้น มีคุณภาพดีขึ้น และมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นมากกว่าเดิมได้อย่างไร?เหมือนคำมั่นและสัญญา นพ.ชลน่าน กล่าวว่า เรามาอยู่ในยุคเทคโนโลยีที่มีความทันสมัย โดยเฉพาะเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลของผู้ป่วย เพื่อเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลทุกสังกัด หน่วยบริการคลินิกของรัฐ- เอกชน เข้าด้วยกัน จึงเป็นโอกาสที่จะเอาเทคโนโลยีมาใช้กับงานสุขภาพ“โปรเจกต์บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ จึงเกิดขึ้นตามที่เราให้สัญญากับประชาชน”tt ttนพ.ชลน่าน ศรีแก้วโครงการนี้นำร่อง ๔ จังหวัดใน ๔ ภูมิภาค คือ แพร่ ร้อยเอ็ด เพชรบุรี และนราธิวาส ผ่านไปกว่าสองสัปดาห์ประเมินผลงานเบื้องต้นยังไม่มีปัญหาการบริการสุขภาพใดๆเกิดขึ้น จะมีเพียงปัญหาเล็กน้อยที่ไม่ใช่เรื่องหลัก อย่างเช่นการยืนยันตัวตนเข้าระบบของกระทรวงสาธารณสุขในทางปฏิบัติยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชัน “หมอพร้อม” โดยใช้มือถือสมาร์ทโฟน และบัตรประชาชน เพื่อให้มีข้อมูลสุขภาพที่จะบันทึกเอาไว้ ซึ่งเรียกว่า “Health ID” ซึ่งจะมีการบันทึกประวัติสุขภาพเอาไว้สาเหตุเพราะส่วนหนึ่งประชาชนที่ไม่มีภูมิลำเนาในพื้นที่ หรือไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านมาอยู่ในพื้นที่ แต่อาจมาอาศัย ทำงาน ก็จะได้เป็นข้อมูล ว่าอยู่ในพื้นที่จริง เพื่อจะได้ให้รับบริการจากโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ…หากเราไม่ยืนยันตัวตน หน่วยบริการ โรงพยาบาลทั้งรัฐ-เอกชนในพื้นที่ที่เข้าร่วมจะไม่รู้ประวัติคนไข้เมื่อเชื่อมข้อมูลเข้าสู่แอปฯหมอพร้อมเรียบร้อย ประชาชนก็จะมีกระเป๋าสุขภาพในมือถือของตัวเอง เพื่อตรวจดูผลการรักษา ผลประวัติการตรวจสุขภาพ หรือใช้นัดหมายรับบริการผ่านระบบออนไลน์ รวมไปถึงยังใช้เป็นเครื่องมือแสดงใบรับรองแพทย์ได้อีกด้วยประเด็นสำคัญมีว่า…ในช่วงแรกอาจติดขัดอยู่บ้างซึ่งต้องอาศัยบุคลากรการแพทย์ในพื้นที่เพื่อให้ช่วยกันยืนยันตัวตนกับประชาชน แต่ยืนยันได้ว่าเฟส ๒ ที่จะลุยต่อกันอีก ๘ จังหวัดในเดือน มี.ค.-เมษายนนี้ คือเพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สิงห์บุรี พังงา หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ นครราชสีมา และสระแก้ว จะไม่มีปัญหานี้เกิดขึ้นtt ttสิทธิ “บัตรทอง ๓๐ บาท” เดินหน้ารุกคืบ…ทำให้เกิดการ “บริการใหม่” เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการรับบริการสุขภาพ เช่น การรับยาเร่งด่วนกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)รวมถึงเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ที่จะทำหน้าที่ “Health Rider” รับยาจากห้องยาของโรงพยาบาล เพื่อไปส่งให้ที่บ้านของผู้ป่วยตามใบสั่งยา ในระยะรัศมี ๑๕ กิโลเมตรหรือ…แม้แต่การรับยาที่ร้านยา ซึ่งเป็นหน่วยบริการภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ ช่วยให้ประชาชนที่พบแพทย์แล้วหากต้องรับยาก็ไม่ต้องรอคิว แต่สามารถไปรับยาที่ร้านยาได้เลย โดยแพทย์จะสั่งยาผ่านระบบออนไลน์ที่เชื่อมโยงข้อมูลกันไว้แล้วให้มากไปกว่านั้น…ยังสามารถทำฟันที่คลินิกทันตกรรมได้ เจาะเลือดที่คลินิกเทคนิคการแพทย์ได้ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว และข้อมูลของผู้ป่วยทุกอย่างจะถูกเก็บอย่างปลอดภัยพร้อมกับมีชั้นความลับที่เข้าถึงได้ตามลำดับในมุม “ผู้ให้บริการ” แน่นอนว่าจะเป็นการลดความแออัดในโรงพยาบาล ลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ ที่แต่เดิมต้องเจอผู้ป่วยแน่นขนัดโรงพยาบาล จากนี้ก็ทำให้พวกเขา (บุคลากรทางการแพทย์) มีเวลาเพิ่มขึ้น เพื่อไปโฟกัสกับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใส่ใจอย่างจริงจังในการดูแลรักษาที่น่าสนใจคือ…ไม่มีเสียงบ่นจากผู้ให้บริการเลยtt ttย้ำว่า “๓๐ บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” จะไม่เป็นการทำให้ประชาชนเสียนิสัยในการดูแลสุขภาพตัวเอง หรือสปอยล์เลือกไปรับบริการที่ไหนก็ได้ เรื่องสุขภาพต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเองอยู่แล้ว ต้องมั่นใจว่าเมื่อเจ็บป่วยก็ต้องมีระบบดูแลที่ดี…มีสิทธิที่จะเลือกไปหาหมอ รับบริการในที่ที่ดีกว่า“สิ่งที่กำลังเดินหน้าไม่ใช่แค่การยกระดับเฉพาะสิทธิบัตรทอง ๓๐ บาทเพียงอย่างเดียว แต่สำหรับประชาชนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและสิทธิประกันสังคม สธ.ก็พยายามที่จะให้ทุกสิทธิเข้ารับบริการด้วยรูปแบบการใช้บัตรประชาชนใบเดียวเหมือนกันทั้งหมด ซึ่งแนวโน้มมีโอกาสเป็นไปได้สูง”นั่นเพราะด้วยระบบเทคโนโลยีการเชื่อมโยงข้อมูลที่รุดหน้าและมีประสิทธิภาพ ก็เป็นคำตอบที่ทำให้การบริการสุขภาพเหมือนกันเกิดขึ้นได้ …ความเป็นไปได้มีสูงมาก สปสช.อาจใช้รูปแบบนี้มาจัดบริการให้กับประกันสังคมก็ได้ โดยทำเหมือนกับ UCEP คือ สปสช.จ่ายให้ก่อนเลย แล้วไปตามเก็บเงินกับประกันสังคมหรือที่เรียกว่า Clearing House “สปสช.” ก็จะเป็นเหมือน “บ้าน” ที่คอยบริการจัดการเรื่องการเงินให้ ก็จะทำให้ประชาชนทุกสิทธิเข้าถึงบริการสุขภาพแบบเดียวกันอย่างเท่าเทียมมากขึ้น.คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม