Tuesday, 19 November 2024

ถึงเวลาคุมเอไอ

ไม่นานมานี้ นักร้องสาวชื่อดังระดับโลก “เทย์เลอร์ สวิฟต์” ตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดี ใช้ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) สร้าง ดีปเฟก (Deepfake) เป็นภาพอนาจารปลอมของเทย์เลอร์แชร์ทั่วโลกอินเตอร์เน็ต มีผู้เข้าชมมากถึง ๔๗ ล้านครั้งบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์จนทำให้ “สวิฟตี้” แฟนคลับของนักร้องสาว รุมรีพอร์ตผู้นำภาพปลอมมาเผยแพร่ ส่วนโซเชียลเอ็กซ์ก็บล็อกการค้นหาคำว่า เทย์เลอร์ สวิฟต์ ชั่วคราว รวมถึงยืนยันว่ามีมาตรการจัดการอย่างเด็ดขาดปัญหาการใช้เอไอผิดเงื่อนไขและจุดประสงค์ อย่างการใช้เพื่อคุกคามทางเพศ หรือการโจมตีฝ่ายตรงข้าม ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นแต่เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน รายงานจาก โฮม ซีเคียวริตี้ ฮีโร่ส์ (Home Security Heroes) เผยว่า ในระหว่างเดือน ก.ค.-สิงหาคมปี ๒๕๖๖ มีการใช้ดีปเฟกเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ตถึง ๙๕,๘๒๐ คลิป เพิ่มจากปี ๒๕๖๒ ซึ่งอยู่ที่ ๑๔,๖๗๘ คลิป และเหยื่อส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงกรณีของเทย์เลอร์ยังทำให้เกิดการเรียกร้องกฎหมายควบคุมการใช้เอไอในสหรัฐฯ แม้มีการบังคับใช้กฎหมายในบางรัฐแต่ก็ไม่ได้ครอบคลุมในทุกมิติ เช่น รัฐโคโลราโดที่ควบคุมการใช้เอไอในธุรกิจประกันชีวิตในการใช้ข้อมูลของลูกค้าที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น ลักษณะนิสัยการซื้อสินค้า ประวัติการใช้งานอินเตอร์เน็ต อีกทั้งยังขาดการบังคับใช้กฎหมายรัฐบัญญัติ (Federal Law) หรือระดับมหภาคสหภาพยุโรปถือเป็นภูมิภาคแรกในโลกที่เคลื่อนไหวอย่างจริงจังเพื่อกำกับดูแลการใช้งานเทคโนโลยีเอไอ ภายใต้กรอบความปลอดภัย ป้องกันภัยคุกคามออนไลน์ และมีเสรีภาพในการแสดงออก โดยอนุมัติร่างกฎหมายปัญญาประดิษฐ์ (AI Act) ในปี ๒๕๖๖ ห้ามจัดทำระบบที่เป็นภัยคุกคาม อาทิ การเก็บข้อมูลทางชีวภาพโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น การแสดงออกทางสีหน้า การให้คะแนนบุคคลเพื่อควบคุมพฤติกรรม หากสร้างข้อมูลในรูปแบบเสียง รูปภาพ วิดีโอ ต้องระบุชัดเจนว่าสร้างโดยเอไอย้อนกลับมาที่ไทย ในปี ๒๕๖๔ คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบให้หน่วยงานราชการใช้ หลักการและแนวทางจริยธรรมเอไอของไทย เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน เช่น สนับสนุนให้มีการวิจัย ออกแบบ และพัฒนาเอไอ ยังจัดทำ แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ.๒๕๖๕-๒๕๗๐) ส่งเสริมการพัฒนาและประยุกต์ใช้เอไออย่างมีประสิทธิภาพอย่างไรก็ตาม แผนดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการศึกษาเพื่อจัดทำร่างกฎหมายและนโยบายเอไอของไทย.ญาทิตา เอราวรรณคลิกอ่านคอลัมน์ “หน้าต่างโลก” เพิ่มเติม