Thursday, 19 December 2024

ม.๒ แทงเพื่อนนักเรียนเสียชีวิต เหตุข่มเหงรังแก ปัญหาซุกใต้พรม ชนวนสังหารหมู่

31 Jan 2024
92

เหตุการณ์เด็กนักเรียนอายุ ๑๔ ชั้น ม.๒ ใช้มีดแทงเพื่อนนักเรียนด้วยกันและเสียชีวิตในที่สุด นำมาซึ่งความเสียใจทั้งสองฝ่ายและเป็นสิ่งที่ไม่น่าเกิดขึ้น และจากการสอบข้อเท็จจริงพบว่า ตัวเด็กผู้ก่อเหตุไม่ใช่เด็กที่มีลักษณะพิเศษ ไม่ใช่เด็กเกเร และก็ไม่พบสารเสพติด แต่สาเหตุการก่อเหตุเกิดจากความคับแค้นใจที่ถูกตบหัวและถูกรีดไถเงินอย่างต่อเนื่อง เป็นเรื่องที่เราไม่คิดว่าเพื่อนนักเรียนด้วยกันไม่น่าจะรุนแรงถึงขนาดนี้ โดยเด็กที่ถูกรังแกก็จะตอบโต้กลับ หรือลงมือก่อเหตุทำให้ผู้ที่รังแกโดนกระทำเสียชีวิต tt ttกรณีแบบนี้เคยเกิดขึ้นแถวนนทบุรีในโรงเรียนแห่งหนึ่ง เด็กที่ถูกรังแกได้แอบเอาปืนของพ่อมายิงคนที่รังแกจนเสียชีวิต “ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล” อดีตประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า การรังแกกันในโรงเรียนของเด็กนักเรียน หรือที่เรียกว่า “School Bullying” ได้รับความสนใจในระดับสากล รวมทั้งสหประชาชาติ มองว่าการรังแกกันของเด็กจะเป็นรากเหง้า อาจจะนำไปสู่การก่อเหตุรุนแรงในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ที่รังแก มีการรังแกต่อเนื่องและไม่มีการตอบโต้อาจจะถูกเสริมแรงมากขึ้น ทำให้ผู้ที่รังแกกลายเป็นอันธพาลและพัฒนาไปสู่การเป็นแก๊งของเด็กวัยรุ่น (Youth Gang) ต่อไป ยิ่งหากมีการรวมตัวเราจะเรียกว่า “Pack Bullying”  การรังแกกันในโรงเรียนยังเป็นสาเหตุนำไปสู่การสังหารหมู่โดยเด็กนักเรียน (Mass shooting) หรือการยิงในโรงเรียนอีกด้วย เนื่องจากเด็กที่ถูกรังแกอย่างต่อเนื่องจะถูกเก็บกดและมีการจัดเตรียมอาวุธนำไปสังหาร ไม่เฉพาะคนที่รังแกแต่จะรวมถึงเพื่อนในชั้นอื่นๆ ด้วย เนื่องจากเห็นว่าไม่ได้มีความหมาย เพราะไม่ได้มีการเข้ามาช่วยเหลือเมื่อเขาถูกรังแก นอกจากนี้ยังพบข้อมูลและผลงานวิจัยจำนวนไม่น้อยที่บอกว่า เด็กนักเรียนในโรงเรียนที่ถูกรังแก มักจะประสบกับปัญหาสุขภาพจิตเรื้อรัง นำไปสู่ความเครียด อาการซึมเศร้า ความโกรธแค้น และพัฒนาไปสู่การล้างแค้น หรืออาจจะในทางตรงกันข้ามคือ “ฆ่าตัวตาย” tt ttในด้านจิตวิทยาอาชญากรรม การรังแกกันถือเป็นรูปแบบการคุกคามผู้อื่นในลักษณะของพฤติกรรมก้าวร้าว หรือ Aggressive Behavior เป็นการแสดงออกแบบที่ไม่เป็นมิตร ซึ่งเกิดซ้ำๆ หรือซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในส่วนนี้จะต่างจากความขัดแย้งกับคนอื่นหรือเพื่อน ซึ่งเกิดเป็นครั้งคราว และการเกิดขึ้นของการรังแกกันในรูปแบบการคุกคาม อาจจะเป็นการคุกคามทางร่างกาย เช่น การตบศีรษะ การเขกหัว การเตะ หรือทางวาจา เป็นการล้อเลียนจุดด้อย เยาะเย้ย เป็นการดูถูกดูหมิ่นมากกว่าที่จะเป็นการล้อเลียนแบบเพื่อน และยังมีการรังแกในลักษณะของการใช้อารมณ์ เช่นรวมตัวกันใช้สายตาข่มขู่ในต่างประเทศพบว่าบุคคลที่เป็นเหยื่อของการรังแกกันในโรงเรียน มักจะเป็นเด็กที่ต่างเชื้อชาติ สีผิว หรือชาติพันธุ์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่เกิดและเติบโตในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเด็กจากที่อื่นที่พ่อแม่อพยพเข้ามาตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกา จะเป็นเป้าหมายในการถูกรังแกจากเด็กวัยรุ่นผิวขาวบ่อยครั้งtt ttถูกรังแก จนโกรธแค้น อยากตอบโต้ เอาคืนอย่างรุนแรงจากการศึกษาแรงจูงใจของผู้ก่อเหตุหรือผู้ที่รังแกผู้อื่นในโรงเรียนมักพบว่า ส่วนใหญ่มีแรงจูงใจมาจากนิสัยและบุคลิกภาพส่วนบุคคล เป็นคนที่ชอบกดคนอื่นให้ตกต่ำ หรือกดคนอื่นให้ต่ำ ถัดมาในแง่ของจิตวิทยาจะระบุว่าผู้ที่รังแกผู้อื่น มักจะถูกอธิบายว่าเขาอาจจะถูกคุกคามทางอ้อมจากความโดดเด่นของเพื่อน หรือเกิดความรู้สึกไม่พอใจในเพื่อนอยู่ลึกๆ “ในบริบทไทยเราอาจเรียกว่าเป็นความรู้สึกอิจฉา และเกิดความริษยาแบบอ่อนๆ เป็นความรู้สึกที่เห็นคนอื่นดีกว่า และจะอันตรายหากมีการพัฒนาไปสู่การริษยา มันจะพัฒนาไปสู่การอยากทำลายล้างผู้อื่น นั่นหมายความว่า ผู้ที่รังแกผู้อื่นอาจจะรู้สึกว่าคนที่เขารังแก อาจเป็นคนเรียบร้อย หน้าตาดีกว่า เท่กว่า ได้รับการชมเชยชื่นชมจากครูเพื่อนร่วมชั้นว่ามีลักษณะที่ดีหรือเรียนดีกว่า จึงดูเหมือนเขาถูกคุกคามในเรื่องของการได้รับการยอมรับ หรือสนใจจากเพื่อน และยังมีแรงจูงใจในเรื่องของการพยายามจะแสดงอำนาจที่เหนือกว่าเพื่อข่มให้เห็น”การรังแกกันในโรงเรียน หลายคนอาจจะมองว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นปรากฏการณ์ปกติทั่วไป ซึ่งในแต่ละโรงเรียนก็จะมีปรากฏให้เห็นอย่างสม่ำเสมอ และในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน จะพบว่าเงื่อนไขหรือสภาพการรังแกกันของเด็กนักเรียนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปแบบไม่ใช่บรรยากาศเป็นมิตร เนื่องจากความรู้สึกนึกคิดของเด็กนักเรียนในช่วงวัยนั้นอาจจะแตกต่างจากความคิดในสมัยเดิม เด็กที่ถูกรังแกอาจจะมีความรู้สึกโกรธแค้นและต้องการที่จะตอบโต้หรือเอาคืนอย่างรุนแรง ซึ่งเด็กที่รังแกก็อาจจะคาดไม่ถึงว่าการตอบโต้และรุนแรงนั้นจะถึงขั้นขนาดทำร้ายร่างกายหรือเอาชีวิต และในสังคมไทยเรายังพบว่ามีจำนวนไม่น้อยที่นักเรียนหญิงรวมตัวกันในลักษณะที่เราเรียกว่า “Pack bullying” เป็นการชวนเพื่อนนักเรียนหญิงรวมตัวกันเพื่อไปตบตีนักเรียนหญิงรุ่นเดียวกัน หรือรุ่นน้องที่อ้างว่ามาแย่งคนรักหรือแฟนคำถามตามมา แล้วเราจะดำเนินการกับการรังแกกันได้อย่างไรในโรงเรียน มีตัวอย่างหรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ โดยมาตรการหรือกลไกในการป้องกันการรังแกกันในโรงเรียนถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “School Safety” มีทั้งการป้องกันการเข้ามาก่อเหตุจากบุคคลภายนอกและสร้างความเสียหายหรืออันตรายให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียน เช่น กรณีที่เกิดขึ้นในจ.ชัยภูมิ มีคนบ้าวิกลจริตเอามีดเข้ามาไล่ฟันนักเรียนtt ttวางแนวทางป้องกัน-แผนเผชิญเหตุ ก่อนสายเกินไปการป้องกันในต่างประเทศจะมีการวางแนวทางตั้งแต่ประการแรก การสื่อสารนโยบายและมาตรการการป้องกันการรังแกกันในโรงเรียน นอกจากจะมีการติดประกาศแจ้งและย้ำเตือนให้ครูนักเรียนบุคลากรอื่นๆ ที่ปฏิบัติงาน เช่น แม่บ้านหรือภารโรงในโรงเรียน ได้รับทราบรวมไปถึงผู้ปกครองของนักเรียนให้ทราบและดำเนินการ ประการที่สอง ดำเนินการฝึกอบรมแนวทางปฏิบัติ หรืออาจจะมีการขยายไปถึงสิ่งที่เราเรียกว่า “แผนเผชิญเหตุ” หากมีการรังแกกันของนักเรียนในโรงเรียนเกิดขึ้น ที่สำคัญการดำเนินการต้องมีต่อเนื่อง ต้องให้ความสำคัญตลอด ประการที่สาม มีการกำหนดให้มีการรายงาน (Informed) และการจัดทำรายงาน หรือ Report ประจำเดือนในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นชั้นประถม มัธยม หรือแม้กระทั่งในวิทยาลัยหรือระดับอุดมศึกษา มีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นรวมทั้งความเสี่ยงหรือการได้รับรายงานจะต้องมีการนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมประจำเดือนในของโรงเรียนหรือสถานศึกษาเพื่อรับทราบ ประการที่สี่ มีการพัฒนาโดยการติดตั้งหรือเสริมเทคโนโลยี เช่น กล้อง CCTV หรือการบันทึกเสียงในห้องเรียน ซึ่งสามารถกระทำได้อยู่แล้วในโรงเรียนที่เป็นที่เปิดสาธารณะ ในห้องโถง และบันไดทางเดินประการที่ห้า กำหนดมาตรการต่างๆ สำหรับผู้รังแกและผู้ถูกรังแก โดยครูและเพื่อนนักเรียน มีการทบทวนและดำเนินการ รวมถึงการค้นหาเด็กที่อาจจะตกเป็นเหยื่อ ซึ่งนอกจากจะให้ครูเฝ้าระวังแล้วยังมีการให้เพื่อนร่วมชั้นได้คอยช่วยเหลือสอดส่อง เพื่อไม่ให้เกิดมีการรังแกกันเกิดขึ้นในโรงเรียนขณะที่การดำเนินการที่เป็นมาตรการเด็ดขาดในต่างประเทศ เป็นลักษณะที่เรียกว่า การใช้ “Zero Terrance Policy” หรือนโยบายที่โรงเรียนจะไม่อดทน หรือนิ่งดูดายต่อการรังแกกันอีกต่อไปแล้ว นั่นคือหากมีการรายงาน หรือพบว่าเด็กคนไหนมีพฤติกรรมที่เริ่มจะรังแก หรือรวมกลุ่มกันเพื่อจะรังแกนักเรียนคนอื่นๆ หรือมีการรับรายงานก็จะมีตั้งแต่การสอบสวน การเรียกผู้ปกครองมาคุย ทำการตักเตือน มีการให้เปลี่ยนชั้นเรียน มีการตัดคะแนนความประพฤติ หรือถ้าหากรุนแรง ก็จะให้ออกจากโรงเรียนไป แนวทางต่างๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่เราสามารถนำมาใช้และประยุกต์ หรือพัฒนามาใช้เพื่อป้องกันการรังแกกันในโรงเรียนได้อย่างเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ของโรงเรียนต่างๆ และโรงเรียนในประเทศไทยหลายแห่ง อาจมีการดำเนินการตามแนวทางนี้อยู่บ้างแล้ว เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นอีก ในขณะเดียวกันก็เป็นการสอดส่องดูแลและสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นในกลุ่มเพื่อนนักเรียนด้วยกัน มากกว่าที่จะปล่อยให้มีการข่มเหงรังแกหรือคุกคามกันเกิดขึ้น จะนำมาสู่ความสูญเสียและสภาพที่ไม่พึงประสงค์ต่อไป.