การนอน มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของเด็ก การนอนไม่ได้เป็นแค่การพักผ่อนเพื่อให้ร่างกายหายเหนื่อยเท่านั้น แต่ยังเป็นช่วงเวลาทองของการหลั่งฮอร์โมนสำคัญที่มีผลต่อความแข็งแรง และพัฒนาการของเด็กๆ ด้วย ชั่วโมงการนอนที่เหมาะสมต่อร่างกายนั้นแตกต่างกันไปตามช่วงวัย สำหรับเด็กวัยเรียนอายุ ๖-๑๒ ปี ควรนอนหลับพักผ่อนให้ได้ ๙-๑๒ ชั่วโมงต่อวันtt ttแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็คือ เด็กๆ หลายคนเลิกเรียนที่โรงเรียนก็ช้า แล้วยังต้องไปเรียนพิเศษ ต้องเสียเวลาเดินทางฝ่ารถติดจนถึงบ้าน ต้องทำการบ้าน ทำภารกิจส่วนตัว กว่าจะได้เข้านอนก็ล่วงเลยไปจนดึก มีเวลานอนพักผ่อนน้อย แถมบางคนบ้านอยู่ไกลจากโรงเรียน ทำให้ต้องรีบตื่นแต่เช้ามืดเพื่อเดินทาง ยิ่งทำให้มีเวลานอนน้อยลงไปอีก และที่แย่ไปกว่านั้นคือ เด็กหลายคนมีพฤติกรรมติดเกม และเล่นโทรศัพท์จนเกินเลยเวลาที่ควรจะนอนหลับพักผ่อน ทำให้ชั่วโมงการนอนไม่เพียงพอtt ttพฤติกรรมการนอนที่ขาดสมดุลในเด็กวัยเรียนนั้นเป็นปัญหาใหญ่กว่าที่คิด ข้อมูลจาก อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า เด็กที่นอนน้อยกว่า ๙ ชั่วโมงต่อวัน สมองจะมีพัฒนาการที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในบริเวณสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำ สติปัญญา และสุขภาพจิต เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกันที่นอน ๙ ชั่วโมง หรือมากกว่าต่อวัน นอกจากนี้ภาวะนอนน้อยในเด็กยังสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นด้วย อย่าปล่อยให้ลูกนอนไม่พอ เพราะอาจเสี่ยงปัญหาตามมาเพียบปัญหาด้านสุขภาพ ลูกอาจจะป่วยง่ายเนื่องจากภูมิต้านทานต่ำ เพราะการนอนไม่พอทำให้ประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันลดลง ทำให้ความต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสต่ำลง ส่งผลให้เจ็บป่วยง่ายไม่สบายบ่อยปัญหาเรื่องการเจริญเติบโต ลูกอาจมีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ เพราะการนอนไม่เพียงพอ และเข้านอนดึกเป็นประจำ ทำให้สูญเสียช่วงเวลาทองที่ร่างกายจะหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth hormone) ในขณะหลับสนิท ทำให้เสียโอกาสในการกระตุ้นสร้างมวลกระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตและความสูงของเด็กปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ลูกอาจมีน้ำหนักเกินเกณฑ์และเสี่ยงเป็นโรคอ้วน เพราะเมื่อนอนไม่พอร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเลปตินได้น้อยลง ฮอร์โมนนี้มีบทบาทสำคัญในการควบคุมความอยากอาหาร ทำให้หิวบ่อย และมีแนวโน้มที่จะกินขนมจุบจิบ กินอาหารแบบเร่งด่วน และกินของไม่มีประโยชน์เพียงเพื่อให้ท้องอิ่ม และการนอนไม่พอยังส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ส่งผลเสียต่อระบบเผาผลาญ ซึ่งทั้งหมดนี้นำไปสู่ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยเด็กปัญหาจากโรคเรื้อรังในระยะยาว ลูกอาจเป็นโรคเรื้อรังตั้งแต่เด็กไปจนโต เพราะภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนอาจนำไปสู่ความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไต และโรคเบาหวาน ซึ่งเริ่มเป็นได้ตั้งแต่เด็ก และเด็กที่มีน้ำหนักเกินก็มีแนวโน้มจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินและมีปัญหาสุขภาพเรื้อรังต่อเนื่องในระยะยาวด้วยปัญหาด้านการเรียน ลูกอาจมีผลการเรียนแย่ลง เพราะการนอนไม่พอส่งผลต่อการทำงานของคลื่นสมอง ที่ช่วยกระตุ้นระบบจัดเก็บความทรงจำให้ทำงานได้ดี ทำให้ระบบการเรียนรู้และความจำทำงานได้ไม่เต็มที่ และการที่เด็กนอนไม่พอจะรู้สึกง่วงนอนและอ่อนเพลียในระหว่างวัน อาจทำให้เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง และเรียนตามเพื่อนไม่ทันปัญหาด้านสุขภาพจิต ลูกอาจมีภาวะเครียด และมีพฤติกรรมก้าวร้าว เพราะเด็กที่นอนไม่พอมักจะตื่นมาด้วยความรู้สึกไม่สดชื่น จากการที่ร่างกายไม่ได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเหมาะสม ทำให้เป็นคนหงุดหงิดง่าย ฉุนเฉียวง่าย งอแง ก้าวร้าว และมีพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมที่แย่ลงจะเห็นได้ว่าการนอนไม่พออาจทำให้เด็กๆ เสี่ยงต่อปัญหาได้มากมายขนาดนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย จึงร่วมกันผลักดันแคมเปญรณรงค์ “สามเหลี่ยมสมดุล” เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และกระตุ้นให้พ่อแม่ผู้ปกครองทุกท่านช่วยกันปรับพฤติกรรมของลูกหลานให้มีความสมดุล เพียงใส่ใจดูแล ๓ ด้านสำคัญ ได้แก่ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ๙-๑๒ ชั่วโมงต่อวัน การออกกำลังกายอย่างน้อย ๖๐ นาทีต่อวัน และการกินอาหารดีมีประโยชน์ครบถ้วน ซึ่งทั้ง ๓ สมดุลนี้มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ และสุขภาพกายใจของเด็กขอเชิญชวนดาวน์โหลด “คู่มือเลี้ยงลูก ๖-๑๒ ปี ให้พัฒนาการดีรอบด้านด้วย สามเหลี่ยมสมดุล” ซึ่งภายในคู่มือมีข้อมูลที่รวบรวมมาเพื่อตอบข้อสงสัยในการเลี้ยงลูกให้สมดุล ทั้ง ‘วิ่งเล่น’ ‘กินดี’ ‘นอนพอ’ โดยแบ่งเนื้อหาให้อ่านเข้าใจง่าย และมีแบบฝึกหัดให้ลองปฏิบัติตามได้ที่บ้าน สามารถดาวน์โหลดมาอ่านกันได้ที่นี่ คลิกกดติดตามข้อมูลข่าวสาร แคมเปญที่น่าสนใจ และกิจกรรมดีๆ จาก สสส. เพิ่มเติมได้ที่ : Facebook : Social Marketing Thaihealth by สสส.Line : @thaihealththailandTiktok: @thaihealthYoutube: SocialMarketingTHWebsite : Social Marketing การตลาดเพื่อสังคม
Related posts