Sunday, 19 January 2025

ต้องไม่ใช่ปาหี่การเมือง

การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน เคยประกาศจะเริ่มแก้ไขทันที ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรก แต่บัดนี้ผ่านมาแล้วกว่า ๕ เดือน ยังไม่ได้ข้อยุติว่าจะทำประชามติกี่ครั้ง จะให้เลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรร.) มายกร่างหรือไม่คณะกรรมการศึกษาแนวทางการจัดทำประชามติ และแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยผู้แทนจากพรรคร่วมรัฐบาล มีแนวโน้ม จะให้ทำประชามติ ๓ ครั้ง แต่จู่ๆพรรคเพื่อไทยก็เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าสู่รัฐสภา โดยมีนายชูศักดิ์ ศิรินิล ฝ่ายกฎหมายพรรคเป็นหัวแรงน่าแปลกใจ ร่างแก้ไขของพรรคเพื่อไทย ให้ทำประชามติแค่ ๒ ครั้ง กลายเป็นความสับสนในหมู่ประชาชน ว่าเอาไงกันแน่ แต่จะโทษพรรคเพื่อไทยฝ่ายเดียวคงจะไม่เป็นธรรม ต้องโทษคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ เพื่อสืบทอดอำนาจคณะรัฐประหาร จึงต้องให้การแก้ไข รัฐธรรมนูญยากที่สุด หรือแก้ไขไม่ได้รัฐธรรมนูญระบุว่า การแก้ไขหมวด ๑ บททั่วไป หมวด ๒ ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ และหมวด ๑๕ ว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะต้องให้ทำประชามติ ยิ่งกว่านั้นยังมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญตามมา ระบุว่าถ้าจะแก้ไขทั้งฉบับจะต้องทำประชามติ เพราะรัฐธรรมนูญนี้ผ่านประชามติคำวินิจฉัยของศาลกลายเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญส่วนหนึ่ง ซึ่งทุกฝ่ายต้องปฏิบัติ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า จากการรับฟังความเห็นของเลขาธิการ กกต.แนะนำให้ทำประชามติ ๓ ครั้งข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทำให้รู้สึกว่าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยแบบสุดๆ จะแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องถามประชาชนถึง ๓ ครั้ง แต่ไม่ได้ถามเรื่องที่ลึกซึ้งอะไร ถามซ้ำถึง ๓ ครั้ง “เห็นชอบ” หรือ “ไม่เห็นชอบ” ทำให้การออกเสียงประชามติเป็นเพียง “พิธีกรรม” ทางการเมืองตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือ การออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ห้ามผู้ที่เห็นต่าง หรือไม่เห็นชอบร่างของรัฐบาล ไม่ให้รณรงค์คัดค้านด้วยถ้อยคำที่รุนแรง หรือปลุกระดม ผู้ฝ่าฝืนถูกจับกุมดำเนินคดีนับร้อยคน แต่ขณะเดียวกัน รัฐบาลกลับส่งเจ้าหน้าที่รัฐออกไปเล่นปาหี่ ว่านี่คือรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง.คลิกอ่านคอลัมน์ “บทบรรณาธิการ” เพิ่มเติม

Related posts