โควิด JN.๑ สายพันธุ์ย่อยตัวใหม่ของโอมิครอน กำลังระบาดในหลายประเทศทั่วโลก และจะกลายเป็นโควิดสายพันธุ์หลักในประเทศไทย แต่ยังไม่ทันไรก็ต้องเตรียมรับมือกับโควิดโอมิครอนกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ BA.๒.X หลังพบผู้ติดเชื้อ ๘ รายในแอฟริกาใต้ และคาดกันว่าจะกลายพันธุ์มากที่สุดในปี ๒๕๖๗ เข้ามาแข่งกับโควิด JN.๑ล่าสุดฐานข้อมูลโควิดโลกจีเสส (GISAID) ได้เผยแพร่รหัสพันธุกรรมของโควิดโอมิครอน BA.๒.X ซึ่งถูกตั้งชื่ออย่างไม่เป็นทางการ มีการแตกกิ่งวิวัฒนาการโดยตรงมาจากโอมิครอนบรรพบุรุษดั้งเดิมตระกูล BA.๒ ไม่ได้กลายพันธุ์มาจากโอมิครอน BA.๒.๘๖ หรือ JN.๑ โดยพบว่ามีการกลายพันธุ์ทั้งจีโนมต่างจากโอมิครอน BA.๒ กว่า ๑๐๐ ตำแหน่ง และกลายพันธุ์ส่วนหนามต่างจากโอมิครอน BA.๒ มากกว่า ๓๐ ตำแหน่งtt ttเริ่มในแอฟริกา หวั่นลามไปทั่วโลก เหมือนโอมิครอนการกลายพันธุ์ของโควิดต้องติดตามอย่างเนื่อง เพื่อการเตรียมพร้อม ทำให้ “ศ.เกียรติคุณ ด็อกเตอร์วสันต์ จันทราทิตย์” หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องออกมาเตือนเป็นระยะๆ ไม่ต่างจากระบบเตือนภัยสึนามิ จากการถอดรหัสพันธุกรรมโควิด ติดตามการกลายพันธุ์ เพื่อวิเคราะห์ความรวดเร็วของการแพร่เชื้อ และความรุนแรงของอาการ ในการจะลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้แม้ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลว่า โควิดโอมิครอน BA.๒.X สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและจับกับผิวเซลล์ในร่างกายได้ดี หรือแย่กว่าโอมิครอน JN.๑ หรือไม่ แต่หากย้อนไปในอดีตการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน เริ่มจากในแอฟริกาใต้ ก่อนระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ซึ่งแตกต่างกับสายพันธุ์เดลตาค่อนข้างมาก เช่นเดียวกับขณะนี้พบโควิดโอมิครอน BA.๒.X ในแอฟริกาใต้ เหมือนกับประวัติศาสตร์ย้อนกลับมาอีก ทำให้ตั้งข้อสันนิษฐานเป็นเพราะแอฟริกาใต้ มีป่าที่มีสัตว์รังโรคเป็นจำนวนมาก และไวรัสโควิดได้พัฒนาตัวเองออกเป็นหลายๆ สายพันธุ์“เมื่อโควิดมีการพัฒนาสักพัก ก็เริ่มสู้กับภูมิคุ้มกันไม่ได้ ก็ต้องกลับไปสายพันธุ์ดั้งเดิมรุ่นบรรพบุรุษ ยังหลงเหลือในสัตว์รังโรคในป่าแอฟริกาใต้ ไม่ได้กลายพันธุ์จากโอมิครอนรุ่นลูกจาก BA.๒.๘๖ มาเป็นสายพันธุ์ JN.๑ แต่โอมิครอน BA.๒.X กลายพันธุ์มาจากบรรพบุรุษดั้งเดิม BA.๒ ในแอฟริกาใต้ และนักวิทยาศาสตร์ ก็มีระบบเตือนภัยจากข้อมูลของจีเสส มีซอฟต์แวร์ในการวิเคราะห์ว่าโควิดสายพันธุ์นี้มาจากตัวไหนบ้าง จนมาเจอโอมิครอน BA.๒.X มีการกลายพันธุ์มากที่สุด มากกว่า BA.๒.๘๖ และ JN.๑”tt ttระวังโอมิครอน BA.๒.X กลายพันธุ์มากกว่าปกติปัจจุบันเพิ่งพบผู้ติดเชื้อโอมิครอน BA.๒.X ในแอฟริกาใต้จำนวน ๘ ราย ก็ต้องออกมาเตือนว่ามีการกลายพันธุ์มากกว่าปกติ ส่วนจะก่อให้เกิดอาการรุนแรงหรือไม่ ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ได้นำเชื้อไปเพาะในหนูทดลอง เพื่อดูการทำลายเซลล์ปอดว่ามีมากน้อยเพียงใด คาดว่าอีก ๑ สัปดาห์น่าจะรู้ถึงความรุนแรง ขณะที่โอมิครอน JN.๑ ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าไม่ได้แตกต่างจากสายพันธุ์อื่น แต่ถ้าโอมิครอน BA.๒.X เหมือนสายพันธุ์โอมิครอนทั่วไป ก็จะแพร่เชื้อรวดเร็ว จากนั้นจะเบาบางลง อย่างสายพันธุ์ XBB, EG.๕.๑, BA.๒.๘๖ และ JN.๑ ก็กลายพันธุ์ไม่นาน“ตอนหลังเหมือนภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรา ก็จะรู้ทันการกลายพันธุ์ของโควิด เพราะว่าเวลาเราติดเชื้อ หรือฉีดวัคซีน ก็จะมีภูมิคุ้มกันสามารถป้องกันได้ ทำให้เจ้าไวรัสรู้สึกว่าไม่สามารถแพร่เชื้อได้ ก็กลับไปหาสายพันธุ์บรรพบุรุษ ในการกลายพันธุ์ แม้ไวรัสเป็นสิ่งไม่มีชีวิตก็จริง แต่เป็นเหมือนก้อนโปรตีน ทำอย่างไรให้เข้าไปอยู่ในร่างกายมนุษย์ให้ได้”tt ttอีก ๑ สัปดาห์จะรู้ว่าโอมิครอน BA.๒.X มีความรุนแรงหรือไม่ แต่หากไม่รุนแรง ก็มีสิ่งที่น่ากังวลกับผลกระทบจากลองโควิด ซึ่งทางที่ดีอย่าติดโควิดบ่อย หรืออย่าให้ติดเชื้อจะดีที่สุดในการตั้งการ์ดป้องกันตัวเอง โดยเฉพาะช่วงโควิดสายพันธุ์ใหม่กำลังเข้ามาก็ต้องระวังเป็นพิเศษ และขณะนี้คนไทยติดเชื้อโควิด JN.๑ ไม่มากจากที่เคยคาดการณ์ เพราะอากาศร้อน แต่ระบาดมากในประเทศขั้วโลกเหนือส่วนการถอดรหัสพันธุกรรมสายพันธุ์โควิดในไทยของศูนย์จีโนม ภายหลังได้ตัวอย่างมาแล้ว ซึ่งมีบางโรงเรียนติดเชื้อทั้งชั้นเรียน น่าจะรู้ผลการวิเคราะห์ในเร็วๆ นี้ว่าสายพันธุ์ใดเป็นสายพันธุ์หลักในไทย เพื่อการรับมือเตรียมพร้อม และจะต้องเตรียมวัคซีนรุ่นใหม่หรือไม่ เพราะผลอาการทางคลินิกของผู้ติดเชื้อโอมิครอน BA.๒.X อาจมีความรุนแรง จนถูกตั้งชื่อ “Pi” ตามอักษรกรีก ก็ได้ แต่หากไม่รุนแรง ก็ยังคงเป็นสายพันธุ์โอมิครอนต่อไป.