Sunday, 19 January 2025

ผลสำรวจซูเปอร์โพล คนรุ่นใหม่-วัยเกษียณรอเงินดิจิทัล รัฐบาลยันฟังทุกความเห็น

ซูเปอร์โพล เผยผลสำรวจ พบคนรุ่นใหม่-วัยเกษียณ รอรัฐบาลแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต เชื่อมั่นกระตุ้นเศรษฐกิจ “หมอชัย” ยัน รัฐบาลรับฟังทุกความคิดเห็น พร้อมเดินหน้าตามนโยบายที่เชื่อว่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศและคนไทยวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด็อกเตอร์นพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (Super Poll) เสนอผลการศึกษาเรื่อง “เงินดิจิทัลที่ประชาชนเชื่อมั่นและรอคอย” ศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ ๑-๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ พบว่า ในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย คือรายได้ต่ำกว่า ๑๕,๐๐๐ บาทมีความเชื่อมั่นร้อยละ ๗๑.๓, กลุ่มผู้มีรายได้ระหว่าง ๑๕,๐๐๐-๓๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน มีความเชื่อมั่นร้อยละ ๗๑.๖, กลุ่มรายได้เกิน ๓๕,๐๐๐ บาทขึ้นไป มีความเชื่อมั่นร้อยละ ๕๗.๕ ว่าการแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อแบ่งออกตามภูมิภาคของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง พบว่า ในกลุ่มคนในภาคเหนือ มีความเชื่อมั่นสูงสุดคือร้อยละ ๗๕.๔ รองลงมาคือกลุ่มคนในภาคกลาง มีความเชื่อมั่นร้อยละ ๗๔.๒, กลุ่มคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) มีความเชื่อมั่นร้อยละ ๗๓.๖, กลุ่มคนกรุงเทพมหานคร มีความเชื่อมั่นร้อยละ ๖๘.๗ และกลุ่มคนในภาคใต้ มีความเชื่อมั่นร้อยละ ๖๕.๘ส่วนคำถามนโยบายแจกเงินดิจิทัล รออยู่ ควรเดินหน้าต่อหรือ รอได้ควรทบทวน แบ่งออกตามอายุ โดยกลุ่มคนอายุน้อยคือต่ำกว่า ๒๐ ปี ร้อยละ ๕๔.๑, กลุ่มคนอายุระหว่าง ๒๐-๒๙ ปี ร้อยละ ๔๗.๒ กลุ่มคนอายุ ๓๐-๓๙ ปี ร้อยละ ๔๘.๑ ระบุว่า “ควรเดินหน้านโยบายแจกเงินดิจิทัลต่อ ไม่ต้องปรับปรุงอะไร เพราะรออยู่” ทางด้านกลุ่มคนอายุ ๔๐-๔๙ ปี ร้อยละ ๔๓.๘ และกลุ่มคนอายุ ๕๐-๕๙ ปี ร้อยละ ๔๒.๒ ระบุว่า “ไม่มีความเห็น” มากที่สุด ขณะที่กลุ่มคนอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่หรือร้อยละ ๔๕ ระบุว่า “รอได้ ควรทบทวนปรับปรุงก่อน” นอกจากนี้ เมื่อแบ่งออกตามภูมิภาค พบว่า กลุ่มคนในภาคกลางและภาคเหนือ ส่วนใหญ่ ระบุว่า “รออยู่ ควรเดินหน้าต่อไม่ต้องปรับปรุงอะไร” ส่วนกลุ่มคนในภาคอีสาน และกลุ่มคนในกรุงเทพมหานคร ส่วนระบุ “ไม่มีความเห็น” โดยกลุ่มคนในภาคใต้ ส่วนใหญ่ ระบุ “รอได้ ควรทบทวนปรับปรุงก่อน” ผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพล เผยต่อไป โพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนมีความเชื่อมั่นระดับสูงว่านโยบายแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาล จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรายได้น้อยต่ำกว่า ๑๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน, ในกลุ่มรายได้ ๑๕,๐๐๐-๓๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน และในกลุ่มคนรุ่นใหม่กับกลุ่มคนเกษียณอายุคืออายุตั้งแต่ ๖๐ ปีขึ้นไป น่าจะสะท้อนให้เห็นว่า นโยบายแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาลโดนใจและตอบสนองความต้องการของกลุ่มคนรายได้น้อย คนในช่วงอายุน้อย และกลุ่มคนสูงวัย เพราะตอบโจทย์ความต้องการของผู้ต้องการใช้เงินและเชื่อมั่นว่าจะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ในส่วนของข้อห่วงใย ผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพล ระบุถึงกรณีที่เคยทำวิจัย พบว่าความเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยของประชาชนคนไทยบนโลกออนไลน์อยู่ในสภาวะวิกฤติ เพราะข้อมูลของประชาชนคนไทยเกือบทั้งประเทศกำลังตกอยู่ในมือขบวนการมิจฉาชีพ ทางออกคือ รัฐบาลควรยกระดับนโยบายแจกเงินดิจิทัลของรัฐบาลเป็นวาระแห่งชาติ เร่งแก้ไขปรับปรุงกฎหมายไซเบอร์ และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลความปลอดภัยทางไซเบอร์ชั้นสูงรองรับ ไม่ซ้ำรอยคดีจำนำข้าว ลดแรงเสียดทานจากกลุ่มต่อต้าน และจะเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่เสริมสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ เทคโนโลยีบล็อกเชน (AWS) ที่มีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นไปตามกรอบความปลอดภัยทางไซเบอร์ และเทคโนโลยีดิจิทัลตามมาตรฐานของ NIST สหรัฐอเมริกา ISO มาตรฐานโลกและกฎหมายที่เข้มงวดขึ้นทางด้าน นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงผลการสำรวจของซูเปอร์โพลประเด็นดังกล่าว ว่า “รัฐบาลรับฟังทุกความคิดเห็น และเข้าใจดีถึงระดับความวิกฤติทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประชาชน โดยรัฐบาลพร้อมเดินหน้าตามนโยบายที่เชื่อมั่นว่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศและประชาชนไทย”tt tt