Thursday, 19 December 2024

"พัชรวาท" เล็งถกเข้มบทลงโทษแก้ PM ๒.๕ ยัน รบ.เร่งเดินหน้าอากาศสะอาด

“พัชรวาท” เล็งหารือ ครม. เล็งบทลงโทษเข้มแก้ปัญหา PM ๒.๕ ก่อน “เศรษฐา-ฮุน มาเนต” ถกสกัดฝุ่นพิษข้ามแดน ๗ กุมภาพันธ์นี้ ยันไทยพร้อมสนับสนุนทุกมิติ เพื่อแก้ปัญหาร่วมกันเมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์๖๗ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวถึงสถานการณ์ฝุ่นพิษ PM ๒.๕ ในพื้นที่ ๒๐ จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าฝุ่นเกินเกณฑ์มาตรฐานในระดับสีส้ม ที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ ว่า กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมประสานการขยายพื้นที่ปฏิบัติการฝนหลวงไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อบรรเทาสถานการณ์ฝุ่นละอองและลดผลกระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีแนวใกล้กับกัมพูชา โดยวันนี้ตนมีภารกิจปล่อยนกกระเรียนที่จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งระหว่างนั่งเฮลิคอปเตอร์มาได้สังเกตเรื่องการเผาพบว่า มีจำนวนลดลงแต่ยังมีอยู่บ้าง ซึ่งต้องขอบคุณประชาชนที่ได้ให้ความร่วมมือในส่วนนี้ด้วยขณะเดียวกัน ยังได้เร่งเดินหน้าแก้ไขปัญหาและวางแนวทางการป้องกันปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ผ่านมาสองฝ่ายแสดงความยินดีที่ได้พูดคุยกันเพื่อร่วมมือแก้ไขปัญหา และให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและการมีอากาศที่สะอาดอย่างยั่งยืน ผ่านคณะทำงานร่วมระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย กับกระทรวงสิ่งแวดล้อมของกัมพูชา อาทิ การแลกเปลี่ยนข้อมูลจุดความร้อนและการพัฒนาศักยภาพเครื่องมือและอุปกรณ์ การดับเพลิงและการจัดการด้านการเกษตร รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ต่างๆทั้งนี้ ก่อนที่ พล.อ.ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา จะเดินทางมาเยือนไทยในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์๖๗ ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ ๖ กุมภาพันธ์กระทรวงทรัพยากรฯจะเสนอมาตรการต่างๆ รวมถึงการกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิด เข้าหารือในที่ประชุม คณะรัฐมนตรีและจะรายงานผลการดำเนิน ๑๑ มาตรการเร่งด่วน ในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM ๒.๕ ที่ผ่านมา อาทิ การเตรียมความพร้อมการควบคุมพื้นที่เสี่ยงต่อการเผาใน ๑๑ ป่าอนุรักษ์ ๑๐ ป่าสงวนแห่งชาติ โดยจัดทำแผนบริหารจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่า จัดระเบียบควบคุมผู้เข้าใช้ประโยชน์พื้นที่ การเตรียมความพร้อมการกำหนดเงื่อนไข การอนุญาตการเผา และการบริหารจัดการการเผาในพื้นที่เกษตร โดยสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนในพื้นที่ การนำระบบการรับรองผลผลิตทางการเกษตรแบบไม่เผา (GAP PM๒.๕ Free) มาใช้กับการปลูกอ้อย ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มาตรการไม่รับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบ เป็นต้นส่วนการหารือกับระหว่างนายกฯไทยกับนายกฯกัมพูชา จะเสนอให้หยิบยกหารือขอความร่วมมือควบคุมการเผา เพื่อลดการสร้างฝุ่น PM ๒.๕ ของทั้ง ๒ ประเทศ และไทยพร้อมสนับสนุนกัมพูชาในทุกช่องทาง เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน ยืนยันว่ารัฐบาลเร่งเดินหน้าคืนอากาศสะอาดให้กับประชาชนในทุกมิติ