Sunday, 19 January 2025

ภูมิใจไทย ยื่นร่างกฎหมายยกเลิกประกาศ-คำสั่ง คสช. แทรกแซงสื่อ-เสรีภาพประชาชน

“สฤษฏ์พงษ์” นำทีม สส.ภูมิใจไทย ยื่นร่าง พระราชบัญญัติยกเลิกประกาศและคำสั่ง คสช. ตั้งเป้ายกเลิก ๗๑ ฉบับ ที่เป็นการแทรกแซงควบคุมสื่อมวลชน-สิทธิเสรีภาพประชาชน วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ นายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จังหวัดกระบี่ พรรคภูมิใจไทย พร้อมด้วย นายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ สส.สระบุรี และนายเรืองวิทย์ คูณวัฒนาพงษ์ สส.สุรินทร์ พรรคภูมิใจไทย แถลงข่าวภายหลังการยื่นร่าง พระราชบัญญัติยกเลิกประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย พ.ศ. …. ต่อ นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร และเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร นายสฤษฏ์พงษ์ กล่าวว่า พรรคภูมิใจไทยได้ยื่นเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ระบบไปเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๗ สืบเนื่องจาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย มอบหมายให้ นายศุภชัย ใจสมุทร และทีมฝ่ายกฎหมายของพรรคภูมิใจไทย ไปศึกษาในเรื่องของประกาศและคำสั่งของ คสช. ที่มีปัญหาเป็นอุปสรรคในเรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตย และได้รับร้องเรียนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งจากการศึกษาประกาศ และคำสั่ง คสช. มีทั้งหมด ๒๔๐ ฉบับ การยกเลิกต้องออกเป็นกฎหมาย ซึ่งจะมีทั้งสิ้น ๗๑ ฉบับ โดยศักดิ์ของกฎหมาย คำสั่ง และประกาศของ คสช. เทียบเท่ากับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ดังนั้น ถ้าจะยกเลิกจะต้องทำเป็น พ.ร.บ. ซึ่งจากการศึกษาพบว่า คำสั่งของ คสช. ที่จะบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไปนั้นมีทั้งหมด ๓๗ ฉบับ ที่ต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) และกฎกระทรวงอย่างละ ๒ ฉบับ เป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ๕๕ เรื่อง  tt ttสำหรับร่าง พระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่ง คสช. ฉบับที่ยื่นนี้ ยกร่างเอาไว้ ๗ มาตรา เป็นกฎหมายพ่วง หลายๆ ฉบับแนบท้ายร่างที่นำเสนอ เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้ประเทศของเราเข้าสู่ระบบประชาธิปไตย แต่ยังมีเรื่องเป็นอุปสรรคในการไปแทรกแซงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพี่น้องประชาชนและสื่อมวลชน รวมถึงสิทธิและเสรีภาพในการชุมนุม จึงอยากให้เพื่อนสมาชิก สส. ให้ความเห็นชอบและผ่านร่างกฎหมายนี้โดยเร็วนายสฤษฏ์พงษ์ ระบุในช่วงท้ายว่า “ประเทศไทยในวันนี้มีประกาศคณะปฏิวัติที่บังคับใช้อยู่รวมกว่า ๑,๐๐๐ ฉบับ ซึ่งก่อนครบวาระสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๕ มีการพยายามทำกฎหมายโดยการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการจัดทำประมวลกฎหมาย และกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงโดยสะดวก แต่ กมธ.ชุดนี้ ดำเนินการไปเพียง ๑๒ ครั้ง ก็ไม่สำเร็จ ผมไม่ได้ตําหนิในเรื่องของประกาศคณะปฏิวัติ แต่เมื่อมีความจําเป็น บางฉบับใช้เป็นเครื่องมือในการปกครองประเทศได้ดี แต่ในปัจจุบันการทําจากคําว่าประกาศคณะปฏิวัติ มาให้เป็นกฎหมายจากฝ่ายบัญญัติ มันจะดูดีในสายตาต่างชาติ จะมาลงทุนในประเทศไทย เรามีรัฐสภาที่เป็นสภานิติบัญญัติ ที่นี่เป็นที่ผลิตกฎหมาย ที่นี่เป็นที่ผลิตเครื่องมือในการปกครอง เรามีพื้นที่ ๔๒๔,๐๐๐ ตารางเมตร ลงทุนเป็นหมื่นล้าน เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ไม่จําเป็นจะต้องให้อํานาจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในเรื่องของการที่มายึดอํานาจ และออกกฎหมายแทนสภานิติบัญญัติ”