Monday, 18 November 2024

ส่องแก๊งตบทรัพย์ข้าราชการ ปมคอร์รัปชันเหนือเมฆ

05 Feb 2024
199

คดีร้อนต้องจับตาสำหรับ “แก๊งตบทรัพย์อธิบดี ๓ ล้านบาท” แลกกับการไม่ต้องถูกกลั่นแกล้งร้องเรียนตรวจสอบพิรุธเกี่ยวกับการใช้งบประมาณหลายโครงการส่อเค้าทุจริตคอร์รัปชันหรือไม่นั้นกระทั่งสุดท้าย “ตำรวจ ปปป. เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท. และ ป.ป.ช.” ซ้อนแผนให้ผู้เสียหายนำเงินไปส่งมอบให้แก๊งตบทรัพย์ที่บ้านพักย่าน จ.ปทุมธานี ทันทีที่เห็นหยิบซองเงินเข้าไปในบ้าน “ตำรวจ” แสดงหมายจับทำการควบคุมตัว พร้อมทำการขยายผลสามารถควบคุมได้ภายหลังอีก ๒ คน และจ่อออกหมายจับตัวการจำนวนหนึ่งtt ttเบื้องต้นตำรวจมีหลักฐานการวางแผนรีดทรัพย์เอกชน และข้าราชการตั้งแต่คนชี้เป้า คนเสิร์ฟข้อมูล คนเคลียร์ คนรับเงิน และพบผู้เกี่ยวข้องหลายคนอยู่ระหว่างรวบรวมหลักฐานสาวไปหาปลาใหญ่สะท้อนให้เห็นถึงสังคมถูกครอบงำด้วยคอร์รัปชันนี้ ด็อกเตอร์มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) บอกว่าความจริงแล้ว “การตบทรัพย์ข้าราชการไม่ใช่เรื่องใหม่” แต่เกิดขึ้นมาทุกสมัยส่วนหนึ่งเพราะสังคมไทยเผชิญปัญหาการคอร์รัปชันกระจายลงอยู่ทุกหย่อมหญ้า ทำให้ช่วงหลายปีมานี้มีข่าวลือว่านักการเมือง ผู้รู้กฎหมาย ผู้มีอิทธิพล หรือกลุ่มคนมีชื่อเสียงในสังคม ต่างออกแบล็คเมล์ตบทรัพย์คนที่ทุจริตเงินแผ่นดินชัดเจนขึ้นสำหรับรูปแบบมีทั้งนำข้อมูลการทุจริตจริง และแต่งเรื่องเท็จมาข่มขู่ ส่งผลให้มีผู้ตกเป็นเหยื่อจำยอมต้องจ่ายเงินถูกรีดไถ่ตาม “อิทธิพลของแก๊งตบทรัพย์” ที่ส่วนใหญ่มีสายสนกลในโครงสร้างระบบข้าราชการ ตั้งแต่การจัดซื้อจัดจ้าง การใช้อำนาจอนุมัติใบอนุญาต รวมถึงรู้จักกระบวนการจัดทำ พระราชบัญญัติงบประมาณแต่ละปีดังนั้นการตบทรัพย์ในวงข้าราชการนั้น “จะไม่สามารถทำได้ถ้าแก๊งเหล่านี้ไม่รู้ช่องโหว่จุดอ่อน” โดยเฉพาะโครงการก่อสร้าง ปรับปรุงถนน หรือขุดลอกคลอง ดำเนินงานไม่ตรงสัญญามักเข้าข่ายการทุจริตยู่บ่อยๆtt ttดร.มานะ นิมิตรมงคลกระทั่งเป็นช่องโหว่ให้เกิดการตรวจสอบข้อเท็จจริงนำไปสู่การสร้างเงื่อนไขข้ออ้างในการตบทรัพย์ได้ง่ายตามมา แล้วยิ่งกว่านั้น “ผู้ตกเป็นเหยื่อมักไม่กล้าปฏิเสธ” สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าขบวนการตบทรัพย์จะอาศัยความรู้วงในของระบบข้าราชการจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐในการทุจริตคอร์รัปชันก่อให้เกิดจุดอ่อนนั้นกลายเป็นช่องทางทำมาหากินให้ “แก๊งตบทรัพย์” อย่างพื้นที่ต่างจังหวัดมักพบบ่อย กรณีชาวบ้านเดือดร้อนอันเกิดจาก “การกระทำของนักการเมือง หรือผู้มีอิทธิพล” แต่ด้วยระบบราชการมักไม่สนใจที่จะรับเรื่องราว “ร้องทุกข์” แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจนเป็นช่องว่างให้แก๊งตบทรัพย์ใช้โอกาสที่ชาวบ้านไร้ที่พึ่งนี้เพื่อเชื่อมต่ออ้างเป็น “บุคคลสำคัญสามารถช่วยเหลือทางคดีได้” ด้วยเทคนิคง่ายๆ ทำทีพาเข้าไปร้องเรียนต่อ ป.ป.ช.จังหวัด อันแสดงละครเป็นตัวแทนชาวบ้านไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ภายในห้อง ๓๐-๔๐ นาทีก่อนจะออกมาแจ้งข้อมูลเท็จว่า “เคลียร์คดีทั้งหมดแล้วเพื่อเรียกเก็บค่าดำเนินการนั้น” ทั้งที่จริงเป็นเพียงจัดฉากเข้าไปคุยกับ ป.ป.ช.สอบถามสารทุกข์สุกดิบเท่านั้น เรื่องลักษณะนี้มีการร้องเรียนกับ ป.ป.ช.เยอะมากตอกย้ำว่า “บุคคลเข้ามาเป็นข้าราชการ” ควรต้องมีมือที่สะอาดในการเข้ามาทำหน้าที่ของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา “รักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติ” ขณะเดียวกันคนที่จะเข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบบุคคลอื่น“ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. สตง. หรือภาคเอกชน” ควรต้องมีมือสะอาดด้วยเช่นกัน เพื่อไม่ให้เป็นข้อกังขาของประชาชนtt ttอย่างไรก็ดี “แก๊งตบทรัพย์อธิบดี” นับว่าเป็นเรื่องใหญ่ต้องติดตามข้อเท็จจริง “ใครอยู่เบื้องหลัง” แล้วก่อนหน้านี้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร และกรมการข้าว เคยถูกร้องเรียนยังต้องเดินหน้าตรวจสอบกันต่อไปเพราะหลายปีมานี้มีข่าวลือว่า “มัวหมองกับการทุจริต” ที่มิได้จำกัดเฉพาะเกี่ยวกับงบประมาณเท่านั้น แต่หมายถึงการเอื้อประโยชน์ให้เอกชน หรือมีประโยชน์ทับซ้อนบางอย่างที่ต้องมาพิสูจน์ความจริงให้ชัดเจนถัดมาข้อสังเกตในช่วงหลังมานี้ “แก๊งตบทรัพย์ในวงข้าราชการ” ถ้าหากเป็นผลประโยชน์วงเงินก้อนโตมักจะมีความเชื่อมโยงกับ “นักการเมืองบางคน” ที่จะส่งทีมงานในสังกัดอย่างเลขานุการ ที่ปรึกษาส่วนตัว ทำหน้าที่เคลื่อนไหวเดินเสิร์ฟข้อมูลเกี่ยวข้องกับพฤติการณ์การทุจริตที่น่าสนใจให้เป็นประเด็นต่อการร้องเรียนแล้วส่งเรื่องให้ “นักร้องเรียน” ที่แสดงตัวตนเชื่อมโยงกับผู้มีอำนาจระดับสูงในระบบราชการ และทางการเมือง “ก่อนวางแผนประสานเคลียร์เรียกรับเงินกัน” เน้นเป้าหมายกลุ่มข้าราชการมือไม่สะอาด เพราะเป็นกลุ่มมีบาดแผลเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันที่มักต้องยอมจ่ายเงินตามที่ถูกเรียกร้องนั้นได้ง่ายๆเพื่อตัดปัญหาผลกระทบต่อ “ตำแหน่งหน้าที่ในอนาคต” แม้แต่ข้าราชการที่ทำงานสุจริตบางคนยังถูกกลั่นแกล้งข่มขู่บังคับให้ช่วยเหลือในทางที่มิชอบด้วยซ้ำ “หากไม่ทำตามอาจถูกร้องเรียนตั้งกรรมการสอบสวน” ส่งผลให้จังหวะของความก้าวหน้าในตำแหน่งสะดุดลงช่วงเวลานั้นtt ttตัวอย่างกรณี “ผู้อำนวยการสนง.ป.ป.ช.จ.นครปฐม ตรวจสอบบ้านใหญ่” จนทำให้มีการร้องเรียนกลั่นแกล้งถูกตั้งกรรมการสอบไม่ได้รับการพิจารณาตำแหน่ง ๔ ปี กลายเป็นตำแหน่งก้าวหน้าช้าเกินไปจนไม่เป็นธรรมแต่อย่างไรก็ดีใช่ว่า “ข้าราชการทุกคนจะยอมทำตามคำขู่ในการตบทรัพย์เสมอไป” อย่างกรณีแก๊งตบทรัพย์อธิบดี ถ้าดูตัวละครแต่ละคนค่อนข้างมีชื่อเสียงระดับประเทศ “ทั้งยังเชื่อมโยงกับนักการเมืองหลายคน” เหตุนี้ตำรวจ ภาคประชาชน และสื่อมวลชนควรต้องช่วยกันขุดคุ้ยความจริงให้ปรากฏต่อสาธารณชน“ด้วยปัจจุบันการโกงทำกันได้ง่ายสวนทางกับกระบวนการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันมักต้องเผชิญอุปสรรคหลากหลายประการอยู่เสมอ ดังนั้นหากเหตุการณ์ตบทรัพย์อธิบดีไม่ถูกทำให้ความจริงกระจ่างชัด เพื่อให้สังคมเห็นบทเรียนตั้งแต่วันนี้ แก๊งตบทรัพย์ข้าราชการดีๆก็ยังจะเหิมเกริมก่อเหตุรุนแรงมากขึ้นก็ได้” ด็อกเตอร์มานะว่าประเด็นน่าสนใจกรณี “แก๊งตบทรัพย์อธิบดี” เบื้องต้นตำรวจขยายผลผู้ร่วมขบวนการ ๓ คน และเตรียมออกหมายจับเพิ่มอีกจำนวนหนึ่ง แล้วถ้าการสืบสวนสอบสวนพิสูจน์ได้ว่า “คนใดคนหนึ่งมีตำแหน่งเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รัฐในช่วงเวลาก่อเหตุ” จะส่งผลให้บทลงโทษหนักถึงขั้นจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิตทว่ามีข้อสังเกต “๒ ใน ๓ ผู้ร่วมก่อเหตุตำรวจคุมตัวได้จากทำเนียบรัฐบาล” ทำให้มีคำถามว่าคนกลุ่มนี้เข้าไปพูดคุยกับใคร…? เรื่องนี้สังคมต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะในทางนิตินัย “ผู้ถูกกล่าวหา” แม้ไม่ได้มีการแต่งตั้งตำแหน่งการเมือง แต่หากปรากฏว่ามีความเชื่อมโยงกับคนในรัฐบาลก็ควรดำเนินการอย่างเฉียบขาดด้วยฉะนั้นแล้ว “ทุกคนต้องช่วยกันพิสูจน์ความจริง” เพื่อนำไปสู่การทำลายขบวนการตบทรัพย์รีดไถ่เจ้าหน้าที่รัฐให้หมดไป มิเช่นนั้นปลาตัวใหญ่จะยังอยู่หลังฉากสั่งตบทรัพย์ และทุจริตคอร์รัปชันแบบไม่มีวันสิ้นสุดtt ttจริงๆแล้วปัญหาเกิดจาก “กลไกตรวจสอบใช้อำนาจภาครัฐล้มเหลว” เพราะมักดำเนินกิจการแบบปิดบังข้อมูลหลายเรื่องเอื้อประโยชน์พวกพ้องหรือไม่ “สังเกตการปราบปรามบ่อนพนัน สถานบริการ” ที่ปรากฏฝ่ายปกครอง ตำรวจ ปปป.ออกมาแอ็กชันกวดขันการกระทำผิดกฎหมาย ทั้งที่เป็นความรับผิดชอบตำรวจท้องที่โดยตรงสะท้อนเห็นถึง “ความบกพร่องกลไกภาครัฐ” ทำให้ปรากฏฮีโร่อย่างทนายอาสา ตัวแทนภาคสังคมออกมาช่วยเหลือประชาชนที่กำลังเผชิญความทุกข์ร้อนอยู่มากมาย ฉะนั้นในสังคมที่มีการทุจริตคอร์รัปชันมากเช่นนี้ สังคมยังต้องการตัวแทนประชาชนมาทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล เปิดโปง และแจ้งเบาะแสการทุจริตเป็นจำนวนมากย้ำเตือนเพียงว่า “ผู้เป็นตัวแทนของประชาชน” ก็ควรต้องรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคมด้วยมือที่สะอาด มิเช่นนั้นอาจต้องถูก “สังคมตรวจสอบ และเปิดโปงเหมือนกัน” ดังนั้นการตรวจสอบพฤติกรรมการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทยคงต้องเป็นหน้าที่ของทุกคนออกมาช่วยกันขจัดขบวนการโกงประเทศชาติให้สิ้นซากหมดไปนี่คือ “ความซับซ้อนของปัญหาคอร์รัปชัน” นอกจากเจ้าหน้าที่รัฐมือไม่สะอาดทำการฉ้อโกงเงินแผ่นดินไปได้แล้ว “ยังมีโอกาสตกเป็นเหยื่อถูกโกงซ้อน” สะท้อนความยุ่งเหยิงในการแก้ปัญหายากขึ้น.คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม