Monday, 21 October 2024

ยกเลิก…ครูอยู่เวร คืนครูให้ห้องเรียน

06 Feb 2024
117

มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๗ เรื่องให้ยกเลิก “ครูอยู่เวร” ได้รับการตอบรับด้วยความยินดี โดยมติดังกล่าวคือการให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ที่มอบหมายให้เป็นภาระของ “ครู” ในการ “เข้าเวร” รักษาการณ์ที่โรงเรียนด้วยเหตุผลว่า…เป็นมติที่ล้าหลัง ไม่ตรงกับยุคสมัย เนื่องจากทุกวันนี้ไม่จำเป็นต้องให้ครูไปเฝ้าเวรยาม เพราะมีเครื่องมือทันสมัย มีเทคโนโลยี รวมถึงมีบริษัทรักษาความปลอดภัยถือเป็นการพิจารณาในเรื่องของการป้องกันรักษาความเสียหายจากเหตุภัยอันตรายในชีวิตและร่างกายครู เพราะครูมีภาระงานที่ต้องสอนหนังสือเป็นหลัก บางทีโรงเรียนขนาดเล็กมีบุคลากรค่อนข้างน้อย ครูอาจทำหน้าที่หลายด้าน รวมถึงการอยู่เวรนอกเวลาราชการที่มีความสุ่มเสี่ยงกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยครูและบุคลากรทางการศึกษา ขอขอบคุณนายกรัฐมนตรี “เศรษฐา ทวีสิน” สำหรับมติสำคัญทาง “การศึกษา” ที่เห็นชอบ “ยกเลิกครูเวร”tt ttโดย คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้หน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการดูแลความเดือดร้อนของประชาชนภายในประเทศ ทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และฝ่ายปกครอง กระทรวงมหาดไทย เข้ามาช่วยดูแลในเรื่องรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณสถานศึกษาเพิ่มจุดเน้นขึ้นมาเช่นเดียวกับสถาบันทางการเงินหรือร้านทองที่จะต้องมีเจ้าหน้าที่ในการดูแลเป็นพิเศษประเด็นสำคัญมีว่า เมื่อมีมติ ครม. เรื่องการยกเว้นครูเวรออกมาแล้ว…การไม่อยู่เวรของครูจะไม่มีความผิด ตามระเบียบเดิมข้อ ๘ ที่หากไม่ปฏิบัติการจะต้องถูกดำเนินการทางวินัยครูสามารถไม่อยู่เวรได้ทันทีหลังมีมติ ครม. และไม่ต้องกังวลว่าการที่ไม่มีครูเข้าเวรแล้วสถานที่ราชการจะไม่มีความปลอดภัย เพราะกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ดำเนินการเพื่อรองรับในเรื่องนี้แล้วลงลึกในรายละเอียด กระทรวงศึกษาธิการได้มีหนังสือประสานไปที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ…กระทรวงมหาดไทยดำเนินการบูรณาการรักษาความปลอดภัยร่วมกัน ส่วนในระดับพื้นที่ได้แจ้งให้ศึกษาธิการจังหวัดทั่วประเทศเป็นเจ้าภาพในการประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดtt ttเพื่อให้การดำเนินงานรวดเร็วขึ้น ทั้งในระดับบน ระดับกลางและระดับพื้นที่อย่างครอบคลุม โดยได้สั่งการให้มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาทุกแห่งเร่งด่วน พร้อมเชิญตำรวจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชุมชน ร่วมหารือในมาตรการป้องกันความปลอดภัยกับสถานที่ราชการ เพื่อเป็นการรองรับมติด้วยรวมทั้งดำเนินการแก้ไขปรับปรุงระเบียบคำสั่งที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับมติดังกล่าวต่อไปย้ำว่า…แนวปฏิบัติการอยู่เวรหรือไม่อยู่เวรในสถานศึกษาเป็นเรื่องการสมัครใจ แน่นอนว่าการไม่ได้อยู่เวรก็จะไม่มีความผิดทางวินัย ส่วนครูจะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษานอกเวลาถือเป็นสิทธิของครู แต่จะกำชับในเรื่องของความปลอดภัยส่วนบุคคลด้วย เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นแม้จะยกเลิกการอยู่เวรแล้วก็ตาม แต่ก็อยากให้ระมัดระวัง เพราะความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ไม่สามารถที่จะแก้ไขหรือทดแทนได้tt ttที่ผ่านมา…ในแง่ความปลอดภัยถึงแม้จะมีกล้องวงจรปิดก็ช่วยได้ในระดับหนึ่งในการเก็บหลักฐานในการติดตามผู้กระทำผิด แต่ไม่ได้ช่วยในการป้องกันหากผู้ร้ายไม่เกรงกลัว แต่การที่เรามีเจ้าหน้าที่แต่งเครื่องแบบไปปรากฏกาย เป็นเรื่องสำคัญที่จะเป็นการป้องกันไม่ให้เหตุร้ายเกิดขึ้นการปฏิบัติของ “ตำรวจ” และ “ฝ่ายปกครอง” จึงยังมีความจำเป็นอยู่พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รัฐมนตรีว่าการศธ.) เสริมว่า ขณะนี้ได้รับผลตอบรับดีมากจากครูทั้งประเทศ รวมทั้งผู้อำนวยการสถานศึกษาที่เข้าใจเจตนาของการยกเลิกเวรครูกว่าสองสัปดาห์แล้วที่มติคณะรัฐมนตรีให้ยกเลิกการอยู่เวรของครูในโรงเรียนและสถานศึกษาทั่วประเทศ มีผลบังคับใช้ทันที ด้วยความห่วงใยในสวัสดิภาพและลดภาระของครูอย่างเป็นรูปธรรม…หลายแห่งได้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยแทนการให้ครูนอนเฝ้า เช่น ระบบกล้องวงจรปิดควบคุมจากระยะไกล แอปพลิเคชันที่ตรวจตราและประสานหน่วยงานด้านความปลอดภัยได้ตลอดเวลา รวมทั้งการร่วมมือจากภาคเอกชนในพื้นที่เข้ามาสนับสนุนตู้แดง เป็นต้นtt tt“แสดงให้เห็นถึงความห่วงใย ความเข้าใจต่อความปลอดภัยของชีวิตครูและทรัพย์สินราชการจากทุกภาคส่วนอย่างเข้มแข็ง”อย่างไรก็ตามในการปฏิบัติตามมติ ครม. พบว่าสถานศึกษาบางแห่งยังให้ครูทำหน้าที่อยู่เวรตามเดิมอยู่ โดยปรับเปลี่ยนการออกคำสั่งจากคำว่าอยู่เวรเป็นคำว่าให้ครูปฏิบัติหน้าที่ดูแลโรงเรียนแทนนั้นทำให้ครูไม่ได้รับการให้เลิกอยู่เวรตามมติ คณะรัฐมนตรีที่ให้มีผลทันทีวิธีการเช่นนี้ “สุ่มเสี่ยง” เป็นการออกคำสั่งที่ขัดกับมติ ครม. จึงอยากขอให้ “ผู้บริหารสถานศึกษา” ที่ดำเนินการในลักษณะดังกล่าวนี้ ปรับเปลี่ยนวิธีในการดูแลความปลอดภัยให้ถูกต้องและเหมาะสมโดยไม่ต้องให้ครูมานอนเฝ้าโรงเรียนในประเด็นนี้…รัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการ (นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล) เร่งผลักดันเรื่องยกเลิกการอยู่เวรของครู เนื่องจากห่วงใยความปลอดภัยของครูเป็นหลัก หลายครั้งที่ครูถูกทำร้ายขณะอยู่เวรโดยไม่มีทางสู้ ซึ่งการบาดเจ็บทั้งทางร่างกายและจิตใจของครูทุกคนไม่คุ้มค่าเลยในการเข้าแลกเพื่อปกป้องทรัพย์สินtt ttพล.ต.อ.เพิ่มพูน ย้ำว่า โลกวันนี้มีเทคโนโลยีมากมายที่สามารถนำมาใช้ทดแทนได้ รวมถึงบริษัทรักษาความปลอดภัย อีกทั้งกระทรวงศึกษาธิการเองก็มีนโยบายเปลี่ยนองค์กรให้ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น“ผมอยากวอนผู้บริหารสถานศึกษาที่ยังให้ครูเข้าเวรอยู่ ได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติให้เป็นไปตามมติ คณะรัฐมนตรีที่มีความตั้งใจจะยกเลิกการให้ครูเข้าเวร เพื่อดูแลครูและให้ครูมีความสุขได้อย่างแท้จริง”การดำเนินการที่วางแผนเอาไว้ต่อจากนี้ ได้มอบหมายให้ “สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)” เร่งรวบรวมข้อมูลความต้องการจ้างนักการภารโรงมาดูแลความปลอดภัยของสถานศึกษาให้ครบถ้วน เพื่อนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ทันในสัปดาห์หน้าหวังว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจะมีมติเห็นชอบในเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ส่งผลกับสวัสดิภาพและความปลอดภัยของคุณครูทั้งประเทศโดยตรงtt tt“อยากขอให้ผู้บริหารสถานศึกษาใช้แนวคิดบนหลักที่ว่า สวัสดิภาพและความปลอดภัยของครูมีความสำคัญกว่าทรัพย์สินทั้งหมด โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการให้ครูไปเฝ้าเวรยามนี้ ขอให้ท่านคิดว่าคุณครูทุกคนคือเพื่อนร่วมงานมากกว่าเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา”วันนี้เราปลดล็อกเรื่อง “ครูอยู่เวร” ได้แล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือดูแลกันและกัน… “คืนครูให้ห้องเรียน” พัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยให้เหมาะสมกับพื้นที่ มีความทันสมัย ร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆในพื้นที่ตามแนวคิดการทำงาน… “จับมือไว้แล้วไปด้วยกัน”.คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม