ในที่สุด วิบากกรรมทางการเมือง ก็กลับมาติดกับดักวงจรอุบาทว์ ความขัดแย้งเดิมๆในอดีต เพื่อไทยในวันนี้ที่เคยจมปลักอยู่กับการเมือง มือที่มองไม่เห็น จนรู้หลบเป็นปีกรู้หลีกเป็นหาง ข้อหาละเมิดสถาบัน ทุจริตคอร์รัปชันเป็นข้อหาหนัก ที่ทำให้เพื่อไทยล้มลุกคลุกคลานจนชาชิน นักการเมืองภายใต้สังกัดที่ถูกโฟกัสว่า อยู่ภายใต้ระบอบทักษิณ ถูกแขวนแล้วแขวนอีก พรรคถูกยุบแล้วยุบอีก ต่อให้ยุบแล้วยืดขนาดไหน แต่คำตอบสุดท้าย เสียงข้างมากไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น ไม่ได้ช่วยให้ความขัดแย้งลดลงนำไปสู่การปฏิวัติรัฐประหารบ่อยครั้งในครั้งนั้น เพื่อไทย ไม่มีความชัดเจนในการล้มล้างอำนาจการปกครอง ไม่มีจุดมุ่งหมายในการ แก้ ม.๑๑๒ เหมือนกับ ก้าวไกล ในวันนี้ด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นที่ ศาลรัฐธรรมนูญ ระบุชัดเจน ห้ามนำ ม.๑๑๒ ไปใช้เป็นนโยบายหาเสียง ห้ามแก้ ม.๑๑๒ และถือว่าเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงถือว่าเป็นอันสิ้นสุดห้ามแตะต้อง ม.๑๑๒ ไม่ว่าวิธีหนึ่งวิธีใดก็ตามในขณะที่ปัจจุบันมีผู้ต้องคดี ๑๑๒ ไม่น้อยกว่า ๒๖๒ ราย ๒๘๗ คดี ในจำนวนนี้ ๓๔ ราย อยู่ระหว่างการคุมขังของกรมราชทัณฑ์ และเรื่องนี้ถูกนำมาเป็นเรื่องเดียวกับการเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรมและคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญพรรคเพื่อไทย เสนอให้มีการตั้งกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมโดยมีกรอบเวลาทำงาน ๖๐ วัน นับจากวันที่ ๑ กุมภาพันธ์เป็นต้นไป กรรมาธิการพรรคเพื่อไทย ออกมาย้ำว่า จะไม่มีการยัดไส้นิรโทษกรรมให้กับเจ้าหน้าที่รัฐ และความผิดต่อชีวิตที่หลีกเลี่ยงจะพูดถึงคือ การแก้ไข ม.๑๑๒กรรมาธิการฝ่ายรัฐบาล ทั้งหมดไม่เห็นด้วยที่จะนิรโทษกรรมม.๑๑๒ รวมทั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ที่แถลงจุดยืนชัดเจน เหลือแต่ ก้าวไกล ที่ยังยึดหลักการล้มล้างคือปฏิรูป ต้องเปิดประตูนี้ให้กว้างที่สุด ไปกำหนดข้อหาความผิดตาม ม.๑๑๒ เช่น มีข้อหานี้จะไม่ได้รับการนิรโทษกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีล้มล้างการปกครอง และยังพาดพิงไปถึงความผิดร้ายแรงอื่นๆ เช่น ม.๑๑๓ ผู้ก่อการรัฐประหาร หรือเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หรือการกระทำที่พรากชีวิตจะไม่ได้รับการนิรโทษกรรมมีการขับเคลื่อนล่ารายชื่อเพื่อเสนอ กฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน จัดกิจกรรมเป็นการต่อเนื่อง ซึ่งวันสุดท้ายของกิจกรรมนี้จะสิ้นสุดในวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์นี้ ประเด็นนี้ยังมีความพยายามจะโยงไปถึงคดีการเมืองสำคัญ สถานการณ์กลับไปคล้ายๆกับ สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เสนอกฎหมายนิรโทษกรรมสุดซอยและนำมาซึ่งวิกฤติการเมืองรัฐบาลถูกยึดอำนาจในปี ๒๕๕๗ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมมีอยู่ ๔ ฉบับ ฉบับก้าวไกล ฉบับรวมไทยสร้างชาติ ฉบับครูไทยเพื่อประชาชน และฉบับประชาชน ที่แตกต่างกันคือ นิรโทษกรรม ม.๑๑๒ กับคดีการทุจริตคอร์รัปชันและประพฤติมิชอบการเมืองไทยเต็มไปด้วยชนวนความขัดแย้งกับดักวงจรอุบาทว์.หมัดเหล็กmudlek@thairath.co.thคลิกอ่านคอลัมน์ “คาบลูกคาบดอก” เพิ่มเติม
Related posts