เมื่อเดือนที่แล้ว ผู้เขียนมีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ สภาอุตสาหกรรมและการค้า แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รับฟังการบรรยายสรุปแผนการพัฒนาแขวงบ่อแก้วจากนายสีสุพัน สิลิวง ประธานสภาอุตสาหกรรมและการค้า แขวงบ่อแก้ว จึงอยากนำมาเล่าสู่กันฟังขอพาทุกท่านมารู้จักกับ “แขวงบ่อแก้ว” กันก่อน แขวงบ่อแก้วตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ สปป.ลาว ติดกับแม่น้ำโขง ฝั่งตรงข้ามคือ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ของประเทศไทย โดยสามารถเดินทางจากไทยสู่แขวงบ่อแก้วได้ ๓ เส้นทาง ได้แก่ ๑.ทางบก คือ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๔ (ห้วยทราย-เชียงของ) เชื่อมต่อกับ เส้นทาง R๓A (เชื่อมโยงระหว่างไทย-ลาว-จีน) ๒.ทางอากาศ คือ สนามบินนานาชาติบ่อแก้ว และ ๓.ทางน้ำ คือ เส้นทางแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นใจกลางการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยวสำหรับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแขวงบ่อแก้ว ๗ ด้าน เริ่มด้วยเรื่อง ความสุขและความสงบเรียบร้อยของสังคม ซึ่งเป็น สิ่งที่แขวงบ่อแก้วดำเนินสืบต่อมาตั้งแต่ในอดีต การพัฒนาเส้นทางการขนส่งและการคมนาคม ทั้งทางบกผ่านเส้นทางยุทธศาสตร์ R๓A และทางน้ำผ่านลุ่มแม่น้ำโขง การพัฒนาการท่องเที่ยว โดยจะสัมพันธ์กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้แก่การท่องเที่ยว เช่น บ้านพัก ร้านอาหารยังมีเรื่อง การพัฒนาไฟฟ้า เพื่อตอบสนองแก่การผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ การพัฒนาสินค้ากสิกรรม โดยส่งเสริมการผลิตสินค้า มีกลไกการจัดตั้งและแลกเปลี่ยนสินค้าทดแทนและส่งออก รวมถึงสนับสนุนการผลิตภายในแขวง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาสังคม โดยบุคลากรจะต้องมีความเด็ดขาด โปร่งใสและมืออาชีพ และสุดท้ายคือ การทำให้เศรษฐกิจเป็นใจกลาง ต้องมีเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง มีกำลังทรัพย์และความสามารถในการพัฒนาด้านต่างๆ ของแขวงบ่อแก้วนายสีสุพันมองว่า แผนกที่สำคัญในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ให้บรรลุผล คือ แผนกโยธาธิการและการขนส่ง ดูแลการพัฒนาเส้นทางการคมนาคม แผนกกสิกรรม ส่งเสริมการผลิตเพื่อทดแทนการส่งออกสินค้า แผนกการค้า ซึ่งอำนวยความสะดวกในการค้าขายทั้งในและนอกประเทศ รวมถึง แผนกการท่องเที่ยว ที่มีบทบาทส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว เศรษฐกิจและสังคมของแขวงบ่อแก้ว.ญาทิตา เอราวรรณคลิกอ่านคอลัมน์ “หน้าต่างโลก” เพิ่มเติม
ชวนมองแขวงบ่อแก้ว (๑)
Related posts