Sunday, 19 January 2025

บุกเจรจาค้าเสรีถึงยุโรป

นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน แสดงความดีใจที่สามารถตกลงทำสัญญาการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับศรีลังกาได้ จึงขอบคุณกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการต่างประเทศ ที่ร่วมเจรจากับภาคเอกชน และเจ้าหน้าที่รัฐของศรีลังกา และเชื่อมั่นว่าจะเป็นโอกาสอันดี ที่บริษัทไทยจะได้ขยายธุรกิจเข้าไปในศรีลังกานับเป็นสัญญาการค้าเสรีฉบับที่ ๑๕ ที่ไทยทำกับประเทศทั่วโลก แต่เป็นฉบับแรกของรัฐบาลเศรษฐา ไทยกับศรีลังกามีมูลค่าการค้าต่อกันประมาณ ๑๑,๓๐๐ ล้านบาท แม้จะเป็นมูลค่าที่ไม่มากนัก แต่นักวิชาการเชื่อว่าไทยอาจใช้ศรีลังกาเป็นประตูสู่การค้าเสรีกับเอเชียใต้ อันได้แก่ อินเดีย และปากีสถาน ในโอกาสต่อๆไปเชื่อด้วยว่าสัญญาการค้าเสรีกับ ไทยจะมีส่วนช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจศรีลังกา ที่ประสบวิกฤติการเงินร้ายแรง เมื่อปี ๒๕๖๕ เนื่องจากเป็นหนี้ต่างประเทศถึง ๑.๖ ล้านล้านบาท และไม่มีเงินตราต่างประเทศ ที่จะนำเข้าสินค้าที่จำเป็น เช่น อาหาร เชื้อเพลิง และอื่นๆ ฝูงชนก่อจลาจลบุกบ้านประธานาธิบดีประธานาธิบดีโกตาบายา ราชปักษา รัฐบาลต้องขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ด้วยการกู้เงิน ๒.๙ พันล้านดอลลาร์ เป็นเวลา ๔ ปี นับแต่เดือนมีนาคม ๒๕๖๖ ขณะนี้ศรีลังกาจึงอยู่ภายใต้การดูแลของไอเอ็มเอฟ รัฐบาลศรีลังกาชี้แจงว่าสถาน การณ์กำลังดีขึ้นส่วนรัฐบาลไทย นักเศรษฐศาสตร์ บางคนเสนอแนะให้เดินหน้าต่อเจรจาการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป หรืออียู ซึ่งมี ๒๗ ประเทศ (รวมกับอังกฤษ เป็น ๒๘) ล้วน แต่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ และเป็นคู่ค้าสำคัญของไทย แต่ “อียู” ยุติการเจรจาการค้ากับไทย หลังรัฐประหาร ๒๕๕๗สหภาพยุโรปเป็นประเทศประชาธิปไตยที่พัฒนา จึงรังเกียจเผด็จการ ไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย ตัวอย่างที่ชัดเจนคือการควํ่าบาตรในยุคเผด็จการ ส่วนรัฐบาลที่มาจากรัฐประหารไทย คือ คสช. แม้จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ และมีการเลือกตั้งเมื่อปี ๒๕๖๒ แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการเจรจากันแต่รัฐบาลผสมที่มีพรรคเพื่อไทย เป็นแกนนำ น่าจะได้รับการยอมรับมากกว่ารัฐบาลที่สืบทอดจาก คสช. เมื่อเร็วๆนี้ ขณะที่ประธานาธิบดีเยอรมนีเยือนไทย นอกจากพบเจรจากับรัฐบาลไทยแล้วยังขอพบและพูดคุยกับนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ซึ่งโลกตะวันตกอาจถือเป็นผู้นำฝ่ายค้าน แสดงว่ายอมรับประชาธิปไตยไทย.คลิกอ่านคอลัมน์ “บทบรรณาธิการ” เพิ่มเติม