Sunday, 19 January 2025

CERN วางแผนสร้าง เครื่องชนอนุภาคยักษ์รุ่นใหม่ หวังไขปริศนาสสารมืด

เซิร์น เปิดเผยแผนการสร้างเครื่องชนอนุภาครุ่นใหม่ ที่มีขนาดใหญ่กว่าเครื่องที่มีอยู่กว่า ๔ เท่าตัว โดยมีเป้าหมายเพื่อไขความลับของสสารมืดและจักรวาลสำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อ ๖ ก.พ. ๒๕๖๗ ว่า นักวิทยาศาสตร์ของ องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป หรือ เซิร์น (CERN) เปิดเผยว่า พวกเขากำลังวางแผนสร้างเครื่องชนอนุภาค (particle collider) รุ่นใหม่ โดยจะมีขนาดใหญ่กว่าเครื่องชนอนุภาคที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบันอย่าง ‘แฮดรอน’ ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์มากนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า พวกเขาเสร็จสิ้นขั้นตอนใหญ่ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างเครื่องชนอนุภาครุ่นใหม่ หรือมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า ‘เครื่องชนอนุภาควงแหวนแห่งอนาคต’ (Future Circular Collider – FCC) แล้ว แต่การวางแผนต่างๆ จะยังไม่เสร็จสมบูรณ์จนกว่าจะถึงช่วงกลางปีหน้าเซิร์นคาดหวังว่า แผนการสร้างเครื่องชนอนุภาครุ่นใหม่ของพวกเขาจะได้รับการอนุมัติ เนื่องจากมันมีความสำคัญมากในการหาคำตอบว่า สสารมืด (dark matter) หรือองค์ประกอบ ๙๕% ของจักรวาลที่เรายังไม่สามารถมองเห็นได้ในตอนนี้ คืออะไรกันแน่นักวิทยาศาสตร์ของเซิร์นบอกอีกว่า หากได้รับการอนุมัติให้สร้าง การก่อสร้างก็ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยพวกเขาตั้งเป้าหมายว่า เครื่องชนอนุภาครุ่นใหม่จะพร้อมใช้งานเมื่อ แฮดรอน หมดอายุการใช้งานในปี ๒๕๘๓ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์คาดว่า แฮดรอน จะไม่ถูกปลดประจำการ แต่จะถูกใช้ในการทำการทดลองอื่นๆ แทนนายอีไลเซอร์ ราบิโนวิชี ประธานสภาศาสตราจารย์ของเซิร์น กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่มีการตัดสินใจเครื่องการสร้างเครื่องชนอนุภาครุ่นใหม่ แต่การตอบสนองของสภาต่อการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างจนถึงตอนนี้ เป็นไปในทางบวก“สมาชิกสภาทุกคนเห็นชอบในวิสัยทัศน์ที่ว่า เซิร์น จะจัดหาข้อมูลทางฟิสิกส์ที่ดีที่สุด และเทคโนโลยีที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ให้แก่ชุมชนผู้ศึกษาฟิสิกส์พลังงานสูงทั่วโลก เพื่อสำรวจคำถามลึกล้ำเกี่ยวกับจักรวาล” นายราบิโนวิชีกล่าวจากข้อมูลล่าสุดที่นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยออกมา พบว่าอุโมงค์ใต้ดิน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของเครื่องชนอนุภาค จะมีความยาวเส้นรอบวงไม่ถึง ๑๐๐ กม. ตามที่คาดกันไว้ในตอนแรกดร.ไมเคิล เบเนดิคต์ นักฟิสิกส์การเร่งอนุภาคของเซิร์นระบุว่า เส้นรอบวงของอุโมงค์จะมีความยาว ๙๑ กม. และมีฐานภาคพื้นดิน ๘ ฐาน โดยจากทั้งฐานดังกล่าว จะมีช่องอุโมงค์ หรือ ชาฟต์ ความลึกกเฉลี่ย ๒๐๐ กม. ลงมาเชื่อมต่อกับโครงสร้างพื้นฐานของอุโมงค์ใต้ดินนักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้งบประมาณในการสร้างเครื่องชนอนุภาครุ่นใหม่ที่แน่นอน แต่นาง ฟาบิโอลา จานอตติ ผู้อำนวยการทั่วไปของเซิร์นเผยว่า ตัวเลขที่ประเมินเอาไว้ตอนนี้อยู่ที่ ๑.๕ หมื่นล้านฟรังก์สวิส หรือราว ๖.๑ แสนล้านบาท ซึ่งอาจมีความเปลี่ยนแปลง และพวกเขาจะได้ตัวเลขที่แน่ชัดจริงๆ ภายในปี ๒๕๖๘“ค่าใช้จ่ายในการสร้างอุโมงค์, เทคโนโลยีของโครงสร้างพื้นฐาน บวกเครื่องชนอนุภาคกับการทดลองอีก ๔ ครั้ง อาจมีค่าใช้จ่ายราว ๑.๕ หมื่นล้านฟรังก์สวิส แต่ยังมีงานอีกมากที่ต้องทำ จนถึงตอนนี้ยังไม่มีตัวเลขที่เหมาะสมที่สุด ดังนั้นเราจะทำต่อไป และเราจะเปิดเผยตัวเลขคาดการณ์ที่แน่นอนกว่านี้ ในรายงานสุดท้ายในปีหน้า” นางจานอตติกล่าวเซิร์นระบุอีกว่า เครื่องชนอนุภาคยักษ์ แฮดรอน (Large Hadron Collider – LHC) พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามันมีคุณค่าต่อวงการวิทยาศาสตร์ และความเข้าใจในจักรวาลของเรา ดังนั้น เราจึงต้องการเครื่องชนอนุภาครุ่นใหม่ เพื่อให้ความเข้าใจที่ว่าเติบโตขึ้น“FCC ไม่เพียงเป็นเครื่องมือมหัศจรรย์ในการพัฒนาความเข้าใจในกฎพื้นฐานทางฟิสิกส์และธรรมชาติ มันยังเป็นตัวขับเคลื่อนนวัตกรรม เพราะเราต้องการเทคโนโลยีใหม่ที่มีความก้าวหน้า ตั้งแต่เรื่อง ไครโอเจนิค ไปจนถึง ตัวนำยิ่งยวดแบบแม่เหล็ก, เทคโนโลยีสูญญากาศ, เครื่องตรวจจับ, เครื่องมือวัด, เทคโนโลยีที่มีศักยภาพส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อสังคมของเรา และสังคมเศรษฐกิจขนาดใหญ่ กับประโยชน์ต่างๆ” นางจานอตติกล่าFCC จะตั้งอยู่ใกล้กับเครื่องชนอนุภาค แฮดรอน ซึ่งมีความยาวเส้นรอบวง ๒๗ กม. ใกล้กับนครเจนีวา โดยมีเป้าหมายในการปลดล็อกความลับเกี่ยวกับสสารมืด และจักรวาลให้มากขึ้นในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้าติดตามข่าวต่างประเทศ : https://www.thairath.co.th/news/foreignที่มา : ap