Monday, 20 January 2025

เงินบาป…คอร์รัปชัน กินคำใหญ่ยิ่งตัวใหญ่

09 Feb 2024
143

ความล้มเหลวของ “กลไกรัฐ” ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้ “อำนาจ” ของ “เจ้าหน้าที่รัฐ”…ทำให้ข้าราชการและนักการเมืองจำนวนมากกล้าคดโกง เอาเปรียบสังคม โดยไม่กลัวโทษทัณฑ์ด็อกเตอร์มานะ นิมิตมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) บอกว่า ทางออกคือต้องกระตุ้นและมีมาตรการให้เกิดการตรวจสอบโดยภาคประชาชนอย่างเข้มแข็งปัญหาสำคัญของกลไกรัฐคือ การเกรงใจพวกพ้องกลัวเสียชื่อเสียงหน่วยงาน เกรงกลัวผู้มีอำนาจ มีประโยชน์ต่างตอบแทน ผู้ใหญ่อยากทำงานง่าย มองคนสำคัญกว่าระบบและประโยชน์ส่วนรวม ขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสม ไม่มีอำนาจที่แท้จริง สุดท้าย…จึงไม่ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบกันเองพุ่งเป้าไปที่กลไกตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและงบประมาณแผ่นดินของเจ้าหน้าที่รัฐ ด็อกเตอร์มานะย้ำว่า การตรวจสอบโดยกลไกของรัฐ… เป็นการดำเนินการโดยผู้มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมาย พร้อมด้วยทรัพยากรและงบประมาณtt ttหนึ่ง…การตรวจสอบภายในหน่วยงาน (Internal audit) ตามที่ถูกกำหนดไว้คือ ผู้บังคับบัญชา หน่วยงานตรวจสอบภายในหรือคณะบุคคลที่ได้รับมอบหมาย และกลไกรับเรื่องราวร้องทุกข์จากเจ้าหน้าที่หรือประชาชน ถัดมา…การตรวจสอบจากภายนอก (External audit)แยกย่อยเป็น…หน่วยงานที่เป็นสายงานกำกับดูแล เช่น กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ผู้ตรวจราชการประจำกรมหรือกระทรวง หน่วยงานที่มีภารกิจเฉพาะ เช่น กรมบัญชีกลาง ก.พ. ป.ป.ท. กลต. ฯลฯองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น สตง. ป.ป.ช. ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการสิทธิฯ กกต., กลไกทางการเมืองคือ รัฐสภาและกรรมาธิการ การตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจโดยรัฐบาล เช่น คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กรณีรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรอีกกรณีคือ คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีบอส อยู่วิทยา ที่มี ศ.พิเศษ วิชา มหาคุณ เป็นประธานฯนอกจากนี้ยังมี “การตรวจสอบโดยภาคประชาชน” ซึ่งเป็นการดำเนินการโดยเสียสละและสมัครใจหรือได้รับความเดือดร้อน จึงต้องสู้เพราะเจ้าหน้าที่รัฐไม่ใส่ใจ ปัดภาระหรือช่วยเหลือกันที่ผ่านมา…มักจะหมายถึงการที่ประชาชนไปร้องทุกข์ ร้องเรียน ต่อหน่วยงานรัฐ แต่ยุคนี้ประชาชนหูตาสว่างและกล้าหาญมากขึ้น จึงมีการรวมตัวเพื่อต่อสู้ ลงมือขุดคุ้ยเปิดโปงที่ลึกรอบด้านและต่อเนื่องมากขึ้น ผ่านสื่อออนไลน์ เพจหรือเครือข่ายอาสา สื่อมวลชน แทนที่จะร้องเรียนผ่านหน่วยงานของรัฐทางเดียวทราบกันดีว่า อุปสรรคใหญ่สำหรับประชาชนคือ การเข้าถึงข้อมูลภาครัฐทำได้ยาก ขั้นตอนมากเสียเวลา มีค่าใช้จ่ายสูง ขาดความรู้ทางกฎหมายและภาษาราชการ และอาจถูกคุกคามได้ตลอดเวลาtt ttดร.มานะ นิมิตมงคลตัวอย่างกรณี “ตรวจสอบ” และ “เปิดโปง” โดยประชาชนและสื่อมวลชน เช่น ทุจริตอาหารกลางวันเด็กนักเรียน คดีกลุ่มเยาวชนฆ่าป้ากบ หมู่บ้านป่าแหว่งที่ จ.เชียงใหม่ เสาไฟกินรี การแก้ปัญหามลพิษจากฝุ่น PM๒.๕ คดีกำนันนก กรณีนาฬิกายืมเพื่อน บ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน เป็นต้นโดยสรุป…คนในหน่วยงานเดียวกันเองย่อมรู้ดีว่า หากจะ “คอร์รัปชัน” หรือทำเรื่องไม่ถูกไม่ควร เช่น โกงจัดซื้อหรือเอาของหลวงไปใช้ส่วนตัว ต้องทำอย่างไร เมื่อใด มากแค่ไหน เจรจาหรือทำเอกสารอย่างไร ต้องอาศัยใครหรือเงื่อนไขอย่างไรเพื่อปกปิดช่วยเหลือกัน?ดังนั้น “คอร์รัปชัน” จะลดลงหรือไม่เกิดขึ้นเลย หากกลไกตรวจสอบภายในหน่วยงานทำหน้าที่ได้จริง ขณะที่หน่วยตรวจสอบภายนอกแม้มีอำนาจมาก แต่ไม่สามารถรับมือกับความใหญ่ ซับซ้อน และขาดธรรมาภิบาลของระบบราชการและการเมืองได้บทเรียนนี้สอนเราว่า…“การมีส่วนร่วมและตรวจสอบของประชาชนเท่านั้น ที่เป็นพลังกดดันให้กลไกของรัฐทั้งปวงต้องเข้ามาตรวจสอบ และร่วมกันรับผิดชอบจริงจังมากขึ้น”เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ด็อกเตอร์มานะ โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวยังมีคนถามว่า…ทำเรื่องต่อเติมบ้าน ต้องจ่ายใต้โต๊ะให้เจ้าหน้าที่เท่าไหร่…เลยต้องพลิกแฟ้มข้อมูลเก่าเมื่อหลายปีมาแล้ว เอามาเผยแพร่ให้รู้กันอีกรอบอัตราจ่าย “เงินใต้โต๊ะ-ค่าน้ำร้อนน้ำชา-ค่าอำนวยความสะดวก”“สินบน-เงินใต้โต๊ะ” ในการก่อสร้างบ้านและอาคาร โดยมากเกิดเมื่อผู้ไปยื่นขอใบอนุญาตแล้วถูกเจ้าหน้าที่เห็นแก่ได้บางกลุ่มกลั่นแกล้งดึงเรื่องให้ช้า ไม่จบสิ้นด้วยสารพัดข้ออ้างแม้จะทำทุกอย่างถูกต้องดีแล้ว เพื่อตัดรำคาญและมิให้เกิดความเสียหายเขาจึงต้องจ่ายไป มีบ้างที่เป็นการจ่ายเพื่อให้เจ้าหน้าที่ปิดหูปิดตา…เพราะ…มีการกระทำบางอย่างผิดกฎหมายหรือผิดขั้นตอน จนทำให้คนจำนวนมากเชื่อกันว่า ถ้าต้องการต่อเติมบ้านหรือร้านค้าที่ไม่ใหญ่โตนักก็ยอมจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ไปเลยโดยไม่ยอมเสียเวลาไปติดต่อยื่นขอใบอนุญาตให้มากเรื่องtt ttถามว่า…ต้องจ่ายมากเท่าไหร่? เริ่มจาก…ชาวบ้าน คนค้าขายทั่วไป มีตั้งแต่ ๓,๐๐๐-๕,๐๐๐ บาท หรือ ๕๐,๐๐๐ บาท จนถึงหลักแสนแล้วแต่กรณี ถัดมา…ผู้ประกอบการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม โดยทั่วไปมีราคามาตรฐาน มากน้อยขึ้นกับขนาดและทำเล หรือพื้นที่ที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กำลังบูมก็แพงขึ้นถ้าเป็นต่างจังหวัดราคาจะไม่แน่นอน แต่อย่างไรก็ต้องจ่ายพิเศษให้ “ผู้มีอำนาจ” บางคนในทุกหน่วยงานที่ต้องไปขออนุญาต (ที่มีมากถึง ๔๘ รายการ) ตัวอย่างเช่น ขออนุญาตก่อสร้างทั้งโครงการบ้านเดี่ยว… ตึกแถว ๕,๐๐๐-๗,๐๐๐ บาทต่อหลัง ทาวน์เฮาส์ ๓ ชั้น ๓,๕๐๐ บาทต่อหลังคอนโดไม่เกิน ๘ ชั้น อาคารละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท เกินกว่า ๘ ชั้นอาคารละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท…ขอใบอนุญาตจัดสรร ๕๐,๐๐๐-๘๐,๐๐๐ บาท…ค่าออกเอกสารสิทธิห้องชุดคอนโด ห้องละ ๑,๐๐๐ บาท…ค่าทำรังวัดที่ดินนอกรอบ ไร่ละ ๑,๐๐๐ บาท รังวัดเป็นทางการ เหมารวม ๒๐,๐๐๐-๒๕,๐๐๐ บาทการชี้แนวเขตที่ดินครั้งละ ๓,๐๐๐ บาท ทำผังและพล็อตโฉนด/ตรวจสอบผังรังวัด/เขียนโฉนดฝ่ายทะเบียน รายการละ ๑๒,๐๐๐-๑๕,๐๐๐ บาท …ค่าตัดแต่งต้นไม้หน้าโครงการ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ บาท ฯลฯการเอาชนะปัญหาเรื้อรังเช่นนี้ไม่ใช่การไล่เอาตัวคนผิดมาลงโทษ เพราะไม่มีวันจับได้หมดสิ้น แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องยกเครื่อง “ระบบและวัฒนธรรมการทำงาน” เสียใหม่ ให้โปร่งใส ไม่ยุ่งยากดร.มานะ บอกอีกว่า แต่ละปีมี “เงินบาป” จากคอร์รัปชันในภาครัฐราว ๕ แสนล้านบาท จากกลโกง ๓ ประเภท…“โกงหลวง ฉ้อราษฎร์ และกัดกินกันเอง” ความเสียหายนี้ยังไม่รวมความเดือดร้อนและผลกระทบต่อประเทศชาติ ประชาชน คนทำมาค้าขายที่ตามมาอีกมากมาย“รัฐ” ต้องใช้เงิน “ภาษี” จำนวนมหาศาลไปแก้ไขปัญหาอย่างไม่รู้จบ เช่น กรณีสามจังหวัดภาคใต้ การแพร่ระบาดของยาเสพติด การศึกษาด้อยคุณภาพ การค้ามนุษย์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ นมโรงเรียน ฯลฯโกงเล็กโกงน้อย “ข้าราชการ” ทำกันเองได้ แต่โกงกินคำใหญ่เสียหายครั้งละมากๆต้องมี “นักการเมือง” ร่วมบงการด้วยเสมอ ดังนั้นอย่าแปลกใจ…ถ้าเห็นคนใน “รัฐบาล” ทำเป็นทองไม่รู้ร้อนเรื่องปราบคอร์รัปชัน?คลิกอ่านคอลัมน์ “สกู๊ปหน้า ๑” เพิ่มเติม