Thursday, 19 December 2024

เพื่อนิติรัฐ-ประชาธิปไตย

ถือเสียว่าเป็นเรื่องของ “กงกรรม กงเกวียน” อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร กำลังจะได้รับการพักโทษออกจากโรงพยาบาลหรือเรือนจำ เดินทางกลับบ้านได้ ในวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ แต่มี “กรรมเก่า” แทรกซ้อนขึ้นมา ขณะนี้อัยการสูงสุด กำลังพิจารณาจะฟ้องนายทักษิณในข้อหาทำผิด ป.อาญา ม.๑๑๒ หรือไม่มูลเหตุของคดี เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘ เกือบสิบปีมาแล้ว จากการให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เกาหลีใต้ อัยการสูงสุดคนก่อนเคยมีความเห็นควรสั่งฟ้องมาแล้ว แต่ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนีอยู่ต่างประเทศ เพิ่งจะกลับมาจับคดีนี้อีก เมื่อนายทักษิณเดินทางกลับไทย เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม๒๕๖๖อัยการสูงสุดจึงแจ้งพนักงานสอบสวนหรือตำรวจให้ออกหมายจับแจ้งอายัดตัวผู้ต้องหาต่อกรมราชทัณฑ์เรียบร้อยแล้ว ต่อไปถ้ากรมราชทัณฑ์จะปล่อยตัวนายทักษิณต้องแจ้งให้อัยการทราบ เพื่อนำตัวมาดำเนินคดีต่อไป แต่พนักงานสอบสวนหรืออัยการอาจให้ประกันตัวผู้ต้องหาในระหว่างที่ดำเนินคดีได้คนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่อาจจะงง นายทักษิณเกี่ยวข้องกับคดี ม.๑๑๒ ได้อย่างไร เพราะไม่ทราบว่าเมื่อหลายทศวรรษ ก่อนที่ยังไม่มีพรรคก้าวไกล อดีตนายกฯ ทักษิณเป็นนักการเมืองที่ถูกเพ่งเล็งเรื่อง ม.๑๑๒ ชัดเจนที่สุดคือรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหารอ้างเหตุผลการ ยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณหลายประการ เช่น เกิดความแตกแยกสามัคคีของคนในชาติ มีการทุจริตกันอย่างกว้าง ขวาง ใช้อำนาจครอบงำองค์กรอิสระ และกระทำการหมิ่นเหม่ต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งก็คือการกระทำตาม ป.อาญา ม.๑๑๒พระพุทธศาสนาเปรียบเทียบว่า “กรรม” หรือ “การกระทำ” ของคนเป็นเสมือน “กงกรรมกงเกวียน” ผลของการกระทำจะติดตามตัวผู้กระทำ เสมือนกงเกวียนที่หมุนตามรอยเท้าโค จนกว่าจะตามทันหรืออาจจะไม่ทัน จึงขอให้บรรดาพุทธศาสนิกชนอย่าได้ตั้งอยู่ในความประมาท ผลของการกระทำในอดีตยังตามมาอยู่รัฐบาลจะต้องกำกับดูแลให้การดำเนินทุกคดีเป็นไปอย่างโปร่งใส ตรงไปตรงมา ไม่มีการเลือกปฏิบัติ หรือลูบหน้าปะจมูก ทุกคนจะต้องได้รับการปฏิบัติโดยเท่าเทียม ไม่มี “นักโทษเทวดา” ไม่มีผู้มีอภิสิทธิ์เหนือกฎหมาย ทุกคนต้องเท่าเทียมกันตามกฎหมาย เพื่อดำรงไว้ซึ่งนิติ ธรรม และประชาธิปไตย.คลิกอ่านคอลัมน์ “บทบรรณาธิการ” เพิ่มเติม