“จากสภาพภูมิประเทศและทรัพยากร ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีการดำรงชีพแตกต่างจากภาคอื่น จึงมีการศึกษาถึงปัญหาตามสภาพของภูมิสังคมและภูมิประเทศ เพื่อจัดหารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมกับภาคอีสานโดยรวม ในหลวงรัชกาลที่ ๙ จึงทรงให้กำเนิดศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร ขึ้นเมื่อ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ เพื่อเป็นแบบจำลองหรือพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตของภาคอีสาน สะท้อนคำตอบในการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ด้วยวิธีการต่างๆ และพัฒนาภูมิภาคนี้ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ สร้างความอยู่ดีกินดีให้แก่ประชาชนในภูมิภาคอย่างยั่งยืน”tt ttนายนรินทร์ ประทวนชัย รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เล่าถึงที่มาของ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนคร ในโอกาสก้าวย่างสู่ปีที่ ๔๒tt ttศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ มีส่วน งานที่ร่วมสนองพระราชดำริกับหลากหลายหน่วยงาน โดยมีการทำงาน อย่างใกล้ชิดกับกรมอุทยานฯ และกรมป่าไม้ เนื่องจากในอดีตช่วงที่จัดตั้งศูนย์ฯ พื้นที่เป็นป่าไม้เสื่อมโทรม แห้งแล้ง ดินไม่สามารถใช้ประโยชน์ทำกินได้ภารกิจหลักจึงเป็นการฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ เอื้อต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ ให้เกิดป่าตามธรรมชาติ เมื่อป่าไม้อุดมสมบูรณ์ความชุ่มชื้นของพื้นที่มีมาก น้ำต้นทุนจากป่าก็มีมากพอสำหรับบริหารจัดการในระบบชลประทาน สามารถจัดทำฝายชะลอน้ำในพื้นที่ เพิ่มพื้นที่การปลูกป่า โดยใช้พันธุ์ไม้ท้องถิ่นเป็นหลัก หรือเป็นไม้เบิกนำ จากนั้นก็ปล่อยให้ป่าฟื้นฟูตัวเองตามธรรมชาติtt ttนายนรินทร์กล่าวต่อไปว่า ในอดีตชาวบ้านมักหาของป่าเพื่อเลี้ยงชีพ ทำให้มีปัญหาตามมา ไม่ว่าจะเป็นการหลงป่า การก่อกองไฟแล้วดับไม่สนิท ทำให้เกิดไฟป่า เพื่อให้คนอยู่ร่วมกับป่าแบบพึ่งพาอาศัย คนดูแลป่า ป่าให้อาหารคน กรมอุทยานฯจึงศึกษาวิจัยเพื่อหาคำตอบให้คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน โดยมีหลายแนวทางที่นำมาใช้ อาทิ การเพาะเชื้อเห็ดกับไม้ในวงศ์ยาง เช่น เห็ดระโงก เห็ดเผาะ โดยนำเชื้อเห็ดตามธรรมชาติมาเพาะแล้วใส่บริเวณโคนต้นไม้ที่นำมาปลูกในพื้นที่ป่า ทำให้เห็ดเจริญเติบโตตามธรรมชาติ ประชาชนสามารถเก็บมาบริโภคและจำหน่ายได้ อีกทั้งยังนำมาเพาะป่าชุมชน หรือบริเวณข้างบ้านได้ ทำให้มีแหล่งทำมาหากินโดยไม่ต้องเข้าป่าtt ttและเพื่อเป็นการต่อยอดวงจรการประกอบอาชีพภายใต้บริบทคนกับป่าอยู่ร่วมกันได้ กลุ่มงานศึกษาและพัฒนาป่าไม้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ ได้พัฒนาการเพาะเลี้ยงหนอนนกสำหรับเป็นอาหารโปรตีนเสริมให้แก่สัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ นก เพื่อขยายผลสู่การเพาะเลี้ยงของเกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ปีก รวมถึงสัตว์ป่าคุ้มครองที่ศูนย์ฯ เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เพื่อปล่อยคืนธรรมชาติ เช่น ไก่ฟ้า ช่วยให้สัตว์ปีกแข็งแรงและเจริญเติบโตได้ดี และสามารถขยายผลไปยังกลุ่มผู้เลี้ยงนกสวยงาม สร้างรายได้เสริมให้แก่ชาวบ้านได้อีกหนึ่งช่องทางtt tt“หนอนนกเวลานี้ตลาดขายกันขีดละ ๖๐ บาท หรือ กก.ละ ๖๐๐ บาท เลี้ยงแค่ประมาณ ๑ เดือน ขายได้แล้ว การเพาะเลี้ยงง่ายและประหยัด โดยให้อาหารจากเศษผลไม้ตามฤดูกาล หรือรำข้าวสาลี สำหรับเกษตรกรที่สนใจการเพาะเลี้ยงหนอนนกสามารถติดต่อศึกษาดูงานได้ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ”.tt ttกรวัฒน์ วีนิลคลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม
Related posts