Thursday, 19 December 2024

รองโฆษก รทสช. ขู่พวกป่วนขบวนเสด็จ คุกสูง ๒๐ ปี แถมโทษเท่าก่อการร้าย

“พงศ์พล” แนะ เด็กป่วนขบวนเสด็จ “อย่าหาทำ” ชี้ในระดับสากลเป็นโทษระดับก่อการร้าย สอนซ้ำ ควรเอาเวลาไปเรียนให้จบจะได้ตาสว่าง ขู่ ประทุษร้ายต่อกษัตริย์ คุกสูง ๒๐ ปี วอนสื่ออย่าให้พื้นที่ ไม่สร้างตัวตนฮีโร่ให้กับผู้ก่อเหตุวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวถึงกรณี เยาวชนที่เป็นผู้ต้องหา คดี๑๑๒ บีบแตรป่วนขบวนเสด็จ และมีปากเสียงกับเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาดูแลความเรียบร้อย ว่า ไม่เห็นด้วยกับการกระทำระรานคนอื่น แต่เปรียบตัวเองเป็นฮีโร่ สร้างบรรทัดฐานสังคมผิดๆ ยัดเยียดความรุนแรงในสังคม โดยใช้เสรีภาพคำกล่าวอ้าง เป็นใบผ่านทาง“เยาวชนท่านนี้ ควรเอาเวลาไปเรียนให้จบ จะได้ตาสว่างอย่าเป็นเบี้ยของใครง่ายๆ โดยเฉพาะเครือข่ายต่างๆ กลุ่มการเมืองที่จ้องดิสเครดิตสถาบันฯ เพราะน้องทำวันนี้ เพื่อเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม หรือด้วยค่าขนม แต่โทษอาญาติดอยู่กับเราไปตลอดชีวิต หมดอนาคต กว่าจะรู้ก็สายบ้านเมืองเราที่น้องๆ โดนกล่อมอยู่ตลอด ว่าไร้สิทธิเสรีภาพ ไม่ทราบว่า เคยรู้หรือไม่ว่ากฎหมายของเราเปิดพื้นที่ให้แสดงออกมากกว่า และโทษต่อประมุขของรัฐ ยังเบากว่า ประเทศเสรีอย่างฝรั่งเศส หรือ สหรัฐอเมริกาถ้าน้องทำรูปแบบเดียวกัน คือขับรถโฉบซิ่งเข้าไปป่วนขบวนประธานาธิบดีสหรัฐฯ สิ่งที่เกิดขึ้นไม่อยากจะนึก อาจจะไม่ได้อยู่รอดปลอดภัย เพราะเป็นคดีอุกฉกรรจ์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานสามารถลงมือรุนแรงเพื่อป้องกันภัยได้โดยข้อหาที่เกิดขึ้นของไทย อาจเข้าข่ายเดียวคือก่อความไม่สงบ กฎหมายอาญา “มาตรา ๑๑๐ กระทําการประทุษร้ายต่อกษัตริย์ วงศาคนาญาติ มีโทษจําคุกตั้งแต่ ๑๖-๒๐ ปี”ส่วนถ้าน้องไปก่อเรื่องนี้ในสหรัฐอเมริกา น้องจะเสี่ยงโดนจำคุกตลอดชีวิต จาก ๔ ข้อหานี้ รวมกัน๑. ขัดขวางการทำงาน จนท.รัฐ (Obstruction of official duties) ผิดกฎหมายระหว่างรัฐ จำคุก ๕ ปี๒. คุกคาม/ ประทุษร้าย (Assualt) จำคุก ๒ ปี๓. จลาจล/ ก่อความไม่สงบ (Disorderly Conduct) จำคุก ๖ เดือน๔. เข้าข่ายก่อการร้าย (Terrorism) หากเป็นการกระทำที่มีแรงจูงใจทางการเมือง หรือสร้างภัยต่อความมั่นคงชาติ โทษจำคุกตลอดชีวิตจึงอยากเตือนสติน้องๆ การเรียกร้อง และแสดงสิทธิเสรีภาพ ต้องตั้งอยู่บนกรอบ การเรียกร้องความสนใจ จนเกินเลยขอบเขตกฎหมายเช่นนี้ สร้างความเกลียดชัง และเกิดการเลียนแบบพฤติกรรมที่รุนแรง อย่างที่เห็นคดีเด็กและเยาวชนจำนวนมาก ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธจนถึงแก่ความตาย ขณะที่สื่อมวลชนทั้งหลายควรนำเสนอข้อมูลด้วยจรรยาบรรณสากล ว่าด้วยเรื่อง “No Notoriety” ไม่สร้างตัวตนฮีโร่กับผู้ก่อเหตุ และขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ที่เข้ากำกับดูแลความเรียบร้อยด้วยความใจเย็นทุกคน