Sunday, 19 January 2025

ของดีปีมังกรทอง

จะเป็นโชคดีปีมังกรทองหรือไม่ นับถอยหลังจากเทศกาล “ตรุษจีน” คงได้เห็นสภาพความเป็นไปของบ้านเมืองของเรา “ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้”ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านจงประสบความสุขความเจริญเนื่องในโอกาสวันปีใหม่ของจีนและขอให้รัฐบาลนำพาประเทศให้เจริญก้าวหน้าแบบ “ควิกวิน” ก็ยิ่งดีโลดๆอย่างน้อยที่เห็นก็คือนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาฉลองตรุษจีนในเมืองไทยกันอย่างคึกคัก แม้ว่าจะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปบ้างจากที่เคยจ่ายหนักควักแหลกจองโรงแรมพักยาวๆ ก็สั้นลงและจ่ายน้อยลง นั่นเพราะสภาพเศรษฐกิจของเขายังไม่ค่อยดีนักแต่มาเที่ยวเมืองไทยก็ถือว่าโอเคแล้ว นั่นเพราะคนจีนกับไทยไม่ใช่อื่นไกล นับหัวดูแล้วคนไทย ๗๐ กว่าล้านคนนั้นส่วนใหญ่ล้วนลูกครึ่งไทย-จีนกันทั้งนั้นสามารถนับญาติกันได้…ว่างั้นเถอะแต่ก่อนนี้คนจีนที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองไทยแม้ลำบากยากเข็ญอย่างไรก็ยังสามารถดิ้นรนทำมาหากินส่งเงินไปให้ญาติพี่น้องที่เมืองจีนก็ไม่น้อยอีกส่วนหนึ่งก็สร้างเนื้อสร้างตัวจนร่ำรวยเป็นเศรษฐีลำดับต้นๆของเมืองไทย ดีกว่าคนไทยด้วยซ้ำไปนี่เป็นความผูกพันที่มิอาจแยกจากกันได้พูดถึงปีมังกรทองที่จะทำให้ไทยลืมตาอ้าปากได้อย่างที่ใฝ่ฝันกันอย่างถ้วนทั่วก็พอดีที่นายกรัฐมนตรีกัมพูชา “สมเด็จฯฮุน มาเนต” ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรก เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีในฐานะเพื่อนบ้านใกล้ชิด และอยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียนร่วมกันด้วยเริ่มต้นด้วยการลงนามเอ็มโอยู ๕ ฉบับ เพื่อกระชับและร่วมมือกันระหว่าง ๒ ประเทศ เพื่อขยายการลงทุน การค้าชายแดน ด้วยมั่นคงและร่วมมือกันปราบอาชญากรรมทางเทคโนโลยีข้ามชาติแม้กระทั่งเรื่องอากาศเป็นพิษ ซึ่งจะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด มิฉะนั้นแก้ไขไม่ได้ เพราะมวลอากาศลอยข้ามประเทศได้แต่ที่ได้รับความสนใจและถือเป็นเรื่องใหญ่มีความสำคัญด้านเศรษฐกิจคือ ทรัพย์สินใต้ทะเลในพื้นที่ทับซ้อนระหว่าง ๒ ประเทศซึ่งมีพื้นที่ติดกันเรื่องนี้มีการเจรจาเบื้องต้นกันมานานหลายรัฐบาลแล้ว แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากปัญหาการเมืองระหว่างประเทศแต่ปัจจุบันซึ่งบรรยากาศได้เปลี่ยนไปแล้ว เพราะมีความสัมพันธ์ในทุกระดับทุกภาคส่วนที่ดีและแนบแน่นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนดังนั้น หากมาเริ่มต้นเจรจากันใหม่น่าจะเป็นไปด้วยดีและต่างก็ได้ผลประโยชน์ร่วมกัน เนื่องจากมีการสำรวจแล้วพบพื้นที่บริเวณนั้นมี “ก๊าซธรรมชาติ” เป็นจำนวนมากปัญหาที่ค้างคาอยู่ใน ๒ ประเด็นคือ การแบ่งพื้นที่ทับซ้อนให้ชัดเจนและสินทรัพย์ใต้ทะเลที่มีมูลค่ามหาศาล ถ้าตกลงกันก็แบ่งกันคนละครึ่ง โดยเฉพาะไทยจะทำให้ปัญหาราคาค่าไฟแพงจะได้จบลงว่ากันว่าปัญหาแบ่งปันพื้นที่นั้นคงเป็นเรื่องยาก เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่ยอมกันได้ง่ายๆ แต่เรื่องสินทรัพย์ในทะเลนั้นน่าจะง่ายกว่าด้วยการทำข้อตกลง “พื้นที่พัฒนาร่วมกัน”ซึ่งไทย-มาเลเซียก็ทำกันมาแล้ว จีน-เวียดนามก็ทำกันมาแล้ว หลายประเทศจึงใช้วิธีนี้เป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนก็หวังว่าจากก้าวแรกนี้จะเป็นก้าวสำคัญเพื่อให้ทั้ง ๒ ประเทศได้ประโยชน์ปีมังกรทองร่วมกัน!“สายล่อฟ้า”คลิกอ่านคอลัมน์ “กล้าได้กล้าเสีย” เพิ่มเติม