Monday, 20 January 2025

รู้จัก นายพลซีร์สกี ผบ.ทสส.คนใหม่ยูเครน ผู้รับเผือกร้อนจากเซเลนสกี

ประธานาธิบดียูเครน ตัดสินใจปลดพลเอกวาเลรี ซาลุชนี ออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด แล้วแต่งตั้งพลเอกโอเลกซานเดอร์ ซีร์สกี เข้ารับตำแหน่งแทนนายพลซีร์สกีเป็นผู้ที่เดินบนเส้นทางสายทหารมาตั้งแต่เด็ก เป็นผู้มีประสบการณ์ รวมถึงสร้างผลงานในการรบเอาไว้หลายครั้ง รวบถึงการปกป้องกรุงเคียฟ และปฏิบัติการตอบโต้รัสเซียแต่พลเอกซีร์สกี เข้ารับตำแหน่งในช่วงที่ยูเครนกำลังเผชิญความท้าทายหลายอย่าง ทั้งสถานการณ์ในแนวหน้าที่ไม่สู้ดี กระสุนและกำลังคนขาดแคลน ขณะที่ชาติตะวันตกก็กำลังมีปัญหาในการออกเงินช่วยเหลือก้อนใหม่เมื่อวันที่ ๘ ก.พ. ๒๕๖๗ เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดในกองทัพยูเครน นับตั้งแต่การต่อสู้กับรัสเซียอุบัติขึ้นในปี ๒๕๖๕ หลังประธานาธิบดีโวโลดีเมียร์ เซเลนสกี ตัดสินใจปลดพลเอกวาเลรี ซาลุชนี ออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด แล้วแต่งตั้งพลเอกโอเลกซานเดอร์ ซีร์สกี เข้ารับตำแหน่งแทนการเลือกพลเอกซีร์สกีเป็น ผบ.ทสส.คนใหม่ ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ เนื่องจากเขามีทั้งประสบการณ์และความชำนาญ ที่สามารถแทนนายพลซาลุชนี ผู้ถูกยกย่องเป็นวีรบุรุษของประเทศได้ นอกจากนั้นเขายังสร้างผลงานใหญ่อย่างการปกป้องกรุงเคียฟในช่วงแรกของสงคราม และประสบความสำเร็จในการโจมตีตอบโต้รัสเซียที่คาร์คิฟด้วยอย่างไรก็ตาม อดีตผู้บัญชาการกองทัพบกนายนี้ ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายอย่าง ทั้งสงครามที่กำลังใกล้เข้าสู่ปีที่ ๓, ขวัญกำลังใจที่ตกต่ำ, การขาดแคลนเครื่องกระสุนกับกำลังคนของกองทัพ และที่ใหญ่ที่สุดคือ การรักษาแรงสนับสนุนจากชาติตะวันตก ที่นับวันจะยากขึ้นทุกทีtt ttซีร์สกีผู้เดินบนเส้นทางสายทหารตั้งแต่เด็กซีร์สกีเกิดเมื่อ ๒๖ ก.ค. ๒๕๐๘ ที่หมู่บ้านโนวีกี ในแคว้นวลาดิเมียร์ในสมัยที่ยังเป็นของสหภาพโซเวียต ห่างจากกรุงมอสโกไปทางเหนือราว ๑๓๐ กม. พออายุ ๑๕ เขาย้ายไปยูเครนและอาศัยอยู่ที่นั่นเรื่อยมาซีร์สกีเดินบนเส้นทางสายทหารมาตลอดชีวิต เขาจบการศึกษาจาก Moscow Higher Combined Arms Command School ซึ่งเป็นสถาบันศึกษาวิชาทหารขั้นสูงในกรุงมอสโก ก่อนจะเข้าร่วมกองทัพของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน และหลังจากที่ยูเครนได้รับเอกราช เขาก็เข้าร่วมกับกองกำลังพิทักษ์ชาติและกองทัพยูเครนในปี ๒๕๓๙ ซีร์สกีเรียนจบจากวิทยาลัยกองทัพยูเครน และจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยการป้องกันชาติในกรุงเคียฟในปี ๒๕๔๘ พอถึงปี ๒๕๕๖ ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งความสงบสุขปีสุดท้ายของยูเครน ซีร์สกีก็ได้รับตำแหน่งพลตรีของกองทัพ และรองผู้บัญชาการกองทัพแห่งศูนย์บัญชาการหลัก รับผิดชอบเรื่องการประสานความร่วมมือกับนาโตเมื่อเกิดการลุกฮือของกลุ่มกบฏฝักฝ่ายรัสเซียในภูมิภาคดอนบาส ทางตะวันออกของยูเครนในปี ๒๕๕๗ ซีร์สกีได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้บัญชาการปฏิบัติการป้องกันยูเครน ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “ปฏิบัติการต่อต้านผู้ก่อการร้าย” (ATO) และ ๓ ปีต่อมา เขาก็ได้รับช่วงต่อเป็นผู้บัญชาการปฏิบัติการช่วงปีแรกหลังเกิดการก่อกบฏ ที่ว่ากันว่ารัสเซียเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง นายพลซีร์สกีมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการต่อสู้ที่เมือง เดบัลต์เวฟ, วูห์เลฮีสก์ และหมู่บ้าน ริดโคดับ กับ โลห์วินนอฟ ในแคว้นโดเนตสก์ และร่วมประสานงานในการถอนทหารยูเครนจากเมืองเดบัลต์เซฟที่เกือบถูกปิดล้อมในปี ๒๕๕๘ จนได้รับเหรียญกล้าหาญในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๒ ซีร์สกีก็ได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพบก และดำรงตำแหน่งนั้นเรื่อยมาจนกระทั่งรัสเซียเปิดฉากบุกโจมตีเต็มรูปแบกในวันที่ ๒๔ ก.พ. ๒๕๖๕tt ttพลเอกวาเลรี ซาลุชนี อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดของยูเครนสร้างผลงานในสงครามกับรัสเซียในช่วงเริ่มต้นของสงคราม ซีร์สกีรับผิดชอบในการปกป้องกรุงเคียฟ โดยในตอนนั้นมีรายงานมากมายว่ารัสเซียตั้งใจจะยึดเมืองหลวงแห่งนี้ได้ให้ภายใน ๓ วัน แต่กองทัพมอสโกกลับเสียหายอย่างหนักและต้องล่าถอยออกไป หลังต่อสู้อย่างดุเดือดกับกองทัพยูเครนนานเกือบ ๑ เดือนตามรายงานของสำนักข่าว วอชิงตัน โพสต์ ซีร์สกีแบ่งเมืองหลวงและพื้นที่โดยรอบออกเป็นส่วนๆ แล้วมอบหมายให้นายพลจากศูนย์ฝึกต่างๆ จัดตั้งกองพันพิเศษชั่วคราว แล้วไปประจำการในแต่ละพื้นที่ สร้างสายบัญชาการที่ชัดเจน ทำให้เจ้าหน้าที่ภาคพื้นสามารถตอบสนองได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคำสั่งจากส่วนกลาง และส่งระบบปืนใหญ่ที่ปกติจะใช้ในการฝึกซ้อมไปยังกรุงเคียฟด้วยซีร์สกียังเป็นผู้บัญชาการปฏิบัติการโต้กลับสายฟ้าแลบของยูเครนที่แคว้นคาร์คิฟ ในช่วงปลายปี ๒๕๖๕ และสามารถปลดปล่อยเมือง บาลาคลียา, คูเปียนสก์ และอื่นๆ จากการยึดครองจากรัสเซียได้สำเร็จ สร้างความตกตะลึงไปทั่วโลก เพราะไม่มีใครคาดคิดว่ายูเครนจะทำได้ขนาดนี้ในปี ๒๕๖๖ ซีร์สกีเป็นผู้บัญชาการกองทัพภาคตะวันออก ต่อสู้ในสมรภูมิที่ดุเดือดที่สุดในพื้นที่แนวหน้า รวมถึงที่เมืองบักห์มุต ในแคว้นโดเนตสก์ โดยหลังจากปะทะกันมานานกว่า ๑๐ เดือนและเสียหายหนักทั้ง ๒ ฝ่าย สุดท้ายรัสเซียก็ยึดเมืองแห่งนี้ไปได้ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๖ ซึ่งยูเครนก็เริ่มปฏิบัติการยึดบักห์มุตคืนทันที แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่สำเร็จนับตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ๒๕๖๖ กองกำลังคอร์ตีเซีย (Khortytsia) ภายใต้การนำของพลเอกซีร์สกี ต่อสู้กับกองทัพรัสเซียใกล้เมืองคูเปียนสก์ และลีมาน ในแคว้นคาร์คิฟมาตลอด โดยยูเครนตกเป็นฝ่ายตั้งรับ เนื่องจากรัสเซียโหมโจมตีอย่างหนักtt ttโวโลดีเมียร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครนเผือกร้อนของซีร์สกีการปลดพลเอกซาลุชนี เจ้าของฉายา ‘เสือดาวหิมะ’ ผู้ได้รับการยกย่องเป็นวีรบุรุษของชาติ ออกจากตำแหน่ง ผบ.ทสส. ในช่วงที่กองทัพยูเครนกำลังตกเป็นฝ่ายตั้งรับในพื้นที่แนวหน้าหลายสมรภูมิ และการโจมตีโต้กลับไม่คืบหน้าอย่างที่หวังนั้น ถือเป็นการเดิมพันครั้งใหญ่ของประธานาธิบดี เซเลนสกี และผู้ที่ต้องรับเผือกร้อนก็คือนายพลซีร์สกี ในวัย ๕๘ ปีความท้าทายแรกที่พลเอกซีร์สกีจะต้องเผชิญคือ เรื่องความคาดหวัง เนื่องจากนายพลซาลุชนีได้รับความเคารพและเชื่อมั่นอย่างสูงจากทั้งในกองทัพและจากสังคม ถึงแม้ว่าเซเลนสกีจะอ้างว่า นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อเติมพลังงานให้กองทัพ หลังจากสงครามผ่านมา ๒ ปี แต่ทหารและอาสาสมัครบางคนก็ไม่พอใจการแต่งตั้ง นายพลผู้ชอบใช้แผนโจมตีที่ทหารต้องตกอยู่ในความเสี่ยงมาก และมีบทลงโทษทางวินัยสุดโหดจนได้ฉายาว่า ‘butcher’ หรือ ‘จอมสับ’ รายนี้ขณะเดียวกัน ฝ่ายกองทัพกับผู้นำฝ่ายการเมืองยังมีความเห็นไม่ตรงกันเรื่องวิธีการเติมกำลังทหาร พลเอกซาลุชนีเรียกร้องให้เซเลนสกีเกณฑ์ทหารเพิ่ม ๕๐๐,๐๐๐ นาย แต่ผู้นำยูเครนปฏิเสธและเสนอให้ใช้วิธีหมุนเวียนตำแหน่งแทน ซึ่งจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่การแต่งตั้งนายพลซีร์สกี ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับฝ่ายรัฐบาล อาจช่วยให้เรื่องนี้คลี่คลายลงได้ในส่วนของแนวหน้าการปะทะ ปฏิบัติการโต้กลับครั้งที่ ๒ ของกองทัพยูเครนล้มเหลวในการทะลวงฝ่าแนวป้องกันของรัสเซีย ขณะที่การป้องกันแนวหน้าที่ยืดยาวกว่า ๑,๐๐๐ กม. ก็เป็นเรื่องยาก ท่ามกลางการโจมตีของรัสเซียในเมืองทางตะวันออกอย่าง อาฟดิฟกา และคูเปียนสก์ ซึ่งซีร์สกีต้องเข้ามารับช่วงดูแลทั้งหมดอุปสรรคอีกอย่างคือศึกชิงน่านฟ้า เซเลนสกีกำหนดให้การชิงการควบคุมน่านฟ้ากลับมาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในปีนี้ หลังพวกเขาต้องเผชิญการโจมตีด้วยโดรนและมิสไซล์ของรัสเซียระลอกแล้วระลอกเล่า แม้ยูเครนจะได้รับระบบป้องกันทางอากาศจากชาติตะวันตก แต่กลับเกิดปัญหาขาดแคลนกระสุนที่ยังแก้ไม่ได้นายพลซีร์สกีต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่า จะใช้อาวุธเหล่านี้ในการป้องหรือโจมตีกองกำลังทางอากาศของมอสโกในดินแดนรัสเซีย หรือที่ทะเลดำ เพื่อเปิดทางให้เครื่องบินรบ F-๑๖ จากชาติตะวันตก ที่คาดกันว่ายูเครนจะเริ่มได้รับในปีนี้แต่ปัญหาใหญ่ที่สุดที่อาจกระทบต่อความอยู่รอดของยูเครน คือความช่วยเหลือต่างๆ จากชาติตะวันตก โดยพันธมิตรหลังของเคียฟอย่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป กำลังเผชิญแรงต้านภายในกับการออกแพ็กเกจช่วยเหลือก้อนใหม่แก่ยูเครนเมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ EU เพิ่งคลายล็อกออกเงินช่วยเหลือยูเครนมูลค่า ๕ หมื่นล้านยูโรได้สำเร็จ แต่วุฒิสมาชิกของสหรัฐฯ เพิ่งเคลียร์ด่านแรกในการออกแพ็กเกจช่วยเหลือได้เท่านั้น ท่ามกลางภาวะชะงักงันทางการเมืองในสหรัฐฯ สวนทางกับรัสเซียที่สามารถใช้เศรษฐกิจของประเทศเป็นฐานที่มั่นของสงคราม ยกระดับการผลิต และเกณฑ์ทหารมากขึ้นได้ผู้เขียน : ทิตชนม์ สว่างศรีที่มา : kyivindependent , france๒๔