Monday, 18 November 2024

แจกเงินหมื่นมิใช่เงินร้อย

แม้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะได้เปิดเผยข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล เรื่องโครงการแจกเงินหมื่นอย่างละเอียดรอบด้าน แต่ไม่มั่นใจว่าโครงการจะเดินหน้าต่อไปได้ทันทีหรือไม่ หลังจากที่หยุดชะงักมานาน เพื่อรอคอยข้อเสนอแนะจาก ป.ป.ช. แต่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการ ป.ป.ช. ได้เปิดเผยข้อเสนอแนะรัฐบาล มีรายละเอียดมากมาย ที่สำคัญที่สุดน่าจะได้แก่ข้อเสนอแนะ ๘ ข้อ ข้อที่ ๑ ต้องศึกษาวิเคราะห์การดำเนินการตามโครงการ ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ต้องมิใช่พรรคการเมือง นักการเมือง หรือเอื้อประโยชน์แก่รายใดรายหนึ่งต้องไม่เอื้อประโยชน์กลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีศักยภาพมากกว่ากลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย เพราะอาจเป็นการทุจริตเชิงนโยบาย ข้อเสนอที่ ๘ ข้อสุดท้าย ขอให้รัฐบาลช่วยเหลือประชาชนกลุ่มยากจนที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เท่านั้น โดยแจกจากแหล่งที่มิใช่จากเงินกู้ และจ่ายในรูปเงินบาทที่เหมาะสมแค่สองข้อคือข้อที่ ๑ และข้อที่ ๘ ก็ขัดกับนโยบายรัฐบาลเสียแล้ว เพราะทั้งสองฝ่ายมีมุมมองที่ต่างกัน ฝ่าย ป.ป.ช.มองแบบข้าราชการ ส่วนรัฐบาลมองแบบนักการเมือง นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ให้สัมภาษณ์ว่าขอน้อมรับข้อสังเกตเรื่องการทุจริต แต่ถ้าต้องปรับเกณฑ์การแจกเงิน ต้องไปดูหน้าที่ของ ป.ป.ช.ข้อวิจารณ์ที่ว่าโครงการใหญ่ๆ ของรัฐบาล มักจะเอื้อประโยชน์ต่อพรรคการเมือง หรือกลุ่มผู้ประกอบการระดับเจ้าสัว เป็นปัญหาที่แก้ไม่ตกสำหรับประเทศไทย อย่างโครงการแจกเงินหมื่นให้คน ๕๐ ล้านคน เป็นเงิน ๕ แสนล้านบาท และให้ผู้ที่รับแจกไปซื้อสินค้า จะซื้อตามร้านโชห่วยหรือร้านใหญ่กลไกของรัฐบาลคงจะไม่สามารถ ตามไปควบคุมตรวจสอบ เพื่อดูว่าเงิน ๕ แสนล้านเข้ากระเป๋าใคร พรรคเพื่อไทยประกาศโครงการนี้ เพื่อการหาเสียงและกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างความตื่นเต้น “แจกเงินหมื่น” ไม่ใช่แจกแค่หลักร้อยเหมือนบัตรสวัสดิการรัฐ เป็นการหาเสียงที่โดนใจประชาชน แต่มีความเสี่ยงพรรคเพื่อไทยยิ่งสืบทอดมาจากพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน น่าจะจดจำบทเรียนครั้งใหญ่สุดได้ ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่มีผู้บันทึกไว้ว่าใช้เงินปีละ ๕ แสนล้านบาท รวมเป็น ๒ ล้านล้านบาท จบลงด้วยโครงการเจ๊ง เป็นหนี้ยังใช้ไม่หมด มีรัฐมนตรี ข้าราชการและนักธุรกิจติดคุกกันระนาว.คลิกอ่านคอลัมน์ “บทบรรณาธิการ” เพิ่มเติม