Sunday, 19 January 2025

การค้นพบมหาสมุทรใต้พื้นผิวดวงจันทร์มิมาส

ดาวเสาร์มีจันทร์บริวารมากถึง ๑๔๕ ดวง ในจำนวนนั้นมีมิมาส (Mimas) ครองตำแหน่งดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ ๗ ของดาวเสาร์ ขณะที่ดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ ยังมีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธ ทว่าดวงจันทร์บางดวงก็มีขนาดเท่าตึกในเมือง และหากเทียบกับดวงจันทร์ของโลก ก็พบว่าบริวารของโลกมีมวลมากกว่ามิมาสถึง ๒,๐๐๐ เท่า อย่างไรก็ตาม ในหมู่ดวงจันทร์ทั้งหมดในระบบสุริยะของเรา มิมาสถูกจัดเป็นดวงจันทร์ที่เล็กที่สุดtt ttนักดาราศาสตร์ไม่ชี้ชัดว่ามิมาสมีความกลมหรือไม่ แต่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยราว ๔๐๐ กิโลเมตร และด้านหนึ่งจะหันเข้าหาดาวเสาร์อย่างถาวร แบบเดียวกับที่ดวงจันทร์ของเราหันหน้าด้านเดียวเข้าหาโลก ขณะที่ลักษณะเด่นที่สุดของมิมาสคือแอ่งเฮอร์เชล ที่ทอดยาวกินเนื้อที่ ๑ ใน ๓ บนด้านหนึ่งของดวงจันทร์ จนแลลักษณะคล้ายกับ “ดาวมรณะ” หรือ “เดธสตาร์” ในภาพยนตร์ชุด “สตาร์ วอร์ส” ซึ่งล่าสุดนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวปารีส ในฝรั่งเศส เผยว่า ข้อมูลที่ยานอวกาศแคสสินีขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา ซึ่งปลดระวางไปแล้ว แต่ได้เก็บรวบรวมการสำรวจดาวเสาร์ไว้อย่างมหาศาล มีชุดข้อมูลที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่แบบหมุน และวงโคจรของดวงจันทร์มิมาส ยืนยันถึงการมีอยู่ของมหาสมุทรที่น้ำอยู่ในสถานะของเหลว ภายใต้ชั้นน้ำแข็งหนา ๒๐-๓๐ กิโลเมตร มหาสมุทรบนมิมาสน่าจะก่อตัวขึ้นไม่น้อยกว่า ๒๕ ล้านปีก่อน โดยอาจอยู่ระหว่าง ๕-๑๕ ล้านปีที่แล้วtt ttการค้นพบนี้ทำให้มิมาสเป็นสถานที่ที่น่าสนใจต่อการสำรวจแวดล้อม และองค์ประกอบต่างๆ ที่อาจนำไปสู่การก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิต เมื่อพิจารณาจากสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกของโลกที่ถือกำเนิดขึ้นในทะเลยุคดึกดำบรรพ์บนโลกเมื่อหลายพันล้านปีก่อน ดังนั้น บนดาวดวงอื่นที่มีน้ำเป็นของเหลวเหมือนโลก ก็อาจมีสิ่งมีชีวิตได้เช่นกัน.tt ttอ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่