Sunday, 19 January 2025

แปลงใหญ่กล้วยตัดใบ ย่านมัทรี..ปากน้ำโพ

12 Feb 2024
120

จังหวัดนครสวรรค์นับเป็นแหล่งปลูกกล้วยน้ำว้าดง (น้ำว้าเขียว) ที่สำคัญ เนื่องจากพื้นที่สามารถปลูกได้ทั้งปี เกษตรกรในพื้นที่หมู่ที่ ๕ ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี จึงเกิดแนวคิดรวมกลุ่มแปลงใหญ่กล้วยตัดใบ เพื่อจัดหาและขยายตลาดโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางเป็นแปลงใหญ่กล้วยตัดใบแห่งเดียวในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เริ่มดำเนินการมาเมื่อปี ๒๕๖๕ สมาชิก ๓๒ ราย มีพื้นที่ปลูกรวม ๓๗๔ ไร่ ปลูกกล้วยพันธุ์น้ำว้าเขียว เนื่องจากสามารถตัดใบได้ตลอดทั้งปี สีสวยกว่ากล้วยพันธุ์อื่น เมื่อนำไปห่อหุ้มอาหารหรือขนมจะไม่มีรสขมของใบกล้วยปะปนกับอาหารtt ttสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ ๑๒ นครสวรรค์ (สศท.๑๒) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ผลิตของกลุ่มแปลงใหญ่กล้วยตัดใบ พบว่าในปีแรกจะมีต้นทุนก่อนให้ผลผลิตไร่ละ ๙,๘๗๕ บาท ประกอบด้วย ค่าหน่อพันธุ์กล้วย ค่าเตรียมพื้นที่ ค่าแรงงานปลูก และค่าใช้จ่ายอื่นๆการดูแลรักษา เกษตรกรจะให้น้ำสปริงเกอร์แบบท่อนในสวนกล้วยหรือสูบแบบเทราดเฉลี่ยเดือนละ ๒-๔ ครั้ง และหลังจากเกษตรกรนำหน่อพันธุ์กล้วยมาปลูกจนได้อายุ ๗-๘ เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นกล้วยเจริญเติบโตเต็มที่ในช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรจะมีต้นทุนเฉลี่ยไร่ละ ๑๓,๙๓๓.๗๕ บาท/ปี ค่าใช้จ่ายหลักๆคือ การเก็บเกี่ยวผลผลิต เนื่องจากเกษตรกรให้ความสำคัญในกระบวนการเก็บเกี่ยวและการรักษาใบกล้วยให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานตรงกับความต้องการของตลาด จึงต้องใช้ความพิถีพิถันtt tttt ttด้วยการตัดใบแล้วนำก้านใบมาซอย แยกใบออกจากก้าน พับใบเป็นมัด ในหนึ่งมัดจะมี ๑๐ พับ น้ำหนัก ๑๐ กก. โดยการเก็บ เกี่ยวจะทำในช่วงที่ไม่มีน้ำค้าง เพราะหากเก็บเกี่ยวช่วงมีความ ชื้นผลผลิตใบกล้วยจะแตกและฉีกขาด โดยจะนิยมเก็บเกี่ยวในช่วงเช้า ๐๖.๐๐-๐๘.๐๐ น. และช่วงเย็น ๑๗.๐๐-๑๘.๐๐ น. เกษตรกรจะได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ ๓,๓๖๐ กิโลกรัม/ปีสำหรับราคาขายได้ (ธันวาคม ๒๕๖๖) เฉลี่ย กก.ละ ๘-๑๐ บาท แต่หากเป็นช่วงฤดูแล้งที่ใบกล้วยขาดแคลน จะได้ราคาจะสูงถึง กก. ๑๑-๑๔ บาท เกษตรกรจะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยไร่ละ ๒๖,๘๘๐ บาท/ปี คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ หรือกำไรไร่ละ ๑๒,๙๔๖.๒๕ บาท/ปีผลผลิตส่วนใหญ่ ร้อยละ ๘๕ พ่อค้าคนกลางในพื้นที่ที่เข้ามารับสินค้าเพื่อนำไปส่งต่อตลาดขายส่ง และผลผลิตร้อยละ ๑๕ จำหน่ายเองโดยตรงไม่ผ่านคนกลาง ส่วนใหญ่จะส่งไปขายที่ตลาดสี่มุมเมือง จะได้ราคาสูงกว่าที่จำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลางประมาณ กก.ละ ๓-๔ บาท.tt tttt ttชาติชาย ศิริพัฒน์คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม