Thursday, 19 December 2024

เจาะใจ รัฐมนตรีว่าการยุติธรรม กับเป้าหมายนิรโทษกรรม : เปลี่ยนขัดแย้งสู่สันติ

เปิดกว้างทุกมิติศึกษาการนิรโทษกรรมนับเป็นประเด็นที่ต้องจับตามอง เมื่อ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการยุติธรรม และหัวหน้าพรรคประชาชาติ พลิกมุมคิดให้เห็นถึงกรอบการทำงานของคณะทำงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมที่ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ นักวิจัยที่มีชื่อเสียง ผู้แทนอิสระ ประเดิมรวบรวมงานวิจัยทั้งหมดที่เกี่ยวกับความขัดแย้ง และทำวิจัยในเรื่องนิรโทษกรรม ซึ่งรวมถึงนิรโทษกรรมทางเศรษฐกิจด้วยเพื่อเป็นเข็มทิศการนิรโทษกรรมตามหลักนิติธรรมเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งสู่สันติภาพ–สันติสุข–เยียวยางานวิจัยไหนที่พอเพียงสามารถใช้เป็นแนวแก้ไขกฎหมายหรือปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ก็ต้องทำเป็นไปตามที่รัฐบาลประกาศเรื่องหลักนิติธรรม สร้างความเข้มแข็งหลักนิติธรรม ประสิทธิภาพปราศจากการทุจริตคอร์รัปชัน รัฐบาลต้องเปิดเผยกระบวนการยุติธรรมทางอาญา-แพ่ง-หลักพื้นฐานสิทธิมนุษยชนของประชาชน เพื่อความโปร่งใสเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศสิ่งเหล่านี้เป็นดัชนีชี้วัดหลักนิติธรรมที่เป็นสากลของประเทศไทย ในบางประเด็นเราค่อนข้างได้คะแนนต่ำ จึงจำเป็นต้องศึกษาวิจัยยกระดับหลักนิติธรรมของประเทศไทยอย่างไรรวมถึงทำวิจัยปัญหายาเสพติด ที่ผ่านมาแก้โดยประกาศสงครามยาเสพติด ทุกคนมียาเสพติดถือเป็นศัตรู เป็นผู้กระทำผิด จนนักโทษล้นคุกมานาน ตอนหลังเปลี่ยนบริบทผู้เสพเป็นผู้ป่วย แต่ปัญหายาเสพติดยังคงอยู่ ก็พยายามลดทอนอันตรายของยาเสพติด และอาจมียาหรือสารบางอย่างเข้ามาช่วยบำบัดควบคุมพฤติกรรมtt ttน.ส.ขัตติยา สวัสดิผลสุดท้ายวิจัยกระบวนการสร้างสันติภาพหรือสร้างความเจริญในพื้นที่ แก้ไขความขัดแย้งเชิงพื้นที่ เช่น ปัญหาชายแดนภาคใต้ทั้งหมด สกสว. (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) สภาวิจัย (สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ) ยินดีให้การสนับสนุนก่อนหน้านั้นพรรคเพื่อไทย โดย น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล สส.บัญชีรายชื่อ เสนอญัตติให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตรา พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม (กมธ.)โดยชี้ให้เห็นถึงสังคมไทยผ่านช่วงความขัดแย้งทางการเมืองแบบแบ่งขั้วแบ่งข้างอย่างรุนแรง หยั่งรากลึกอยู่ในสังคมมากกว่า ๒๐ ปีตั้งแต่สงครามเสื้อสี การรัฐประหาร ๑๙ กันยายน๒๕๔๙ การชุมนุมของ นปช. การชุมนุมของ กปปส. รัฐประหาร ๒ พฤษภาคม๒๕๕๗ การชุมนุมของคนรุ่นใหม่ ปี ๒๕๖๓ และ ๒๕๖๔ส่งผลให้มีประชาชนจำนวนมากกลายเป็นผู้ต้องหาทางการเมือง นักโทษทางการเมือง และผู้ลี้ภัยทางการเมือง ถูกพันธนาการด้วยโซ่ตรวนทางกฎหมาย กุญแจดอกสำคัญนิรโทษกรรมสามารถไขปลดโซ่ตรวนดังกล่าวได้ภายใต้ดำเนินการเรื่องนี้ด้วยความระมัดระวัง ไม่สะดุดหยุดล้ม ไม่ให้เป็นชนวนความขัดแย้งครั้งใหม่ สร้างกระบวนการรับฟังความแตกต่างจากหลายกลุ่มให้มากที่สุด ครอบคลุมทุกมิติมากที่สุดtt ttนายชูศักดิ์ ศิรินิลนำไปสู่การหาฉันทามติร่วมกับฝ่ายที่เห็นต่าง ที่ยังพอรับได้ ให้กระบวนการนิรโทษกรรมเดินหน้าภายในช่วงรัฐบาลชุดนี้ เปิดประตูพาสังคมไทยเดินต่อไปข้างหน้า โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และสร้างบรรทัดฐานให้สังคมว่า ความเห็นทางการเมืองไม่ใช่อาชญากรรมที่ต้องถูกลงโทษอีกต่อไปต้องยอมรับการนิรโทษกรรมในประเทศไทยทั้ง ๒๓ ครั้งที่ผ่านมา ทำบนเป้าหมายลดความขัดแย้ง เพิ่มเสถียรภาพทางการเมือง ทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าที่ประชุมสภาฯเห็นชอบตั้ง กมธ.เรียบร้อย วางกรอบเวลาทำงาน ๖๐ วัน หากไม่แล้วเสร็จสามารถขอขยายเวลาได้ มีนายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เป็นประธาน ซึ่งผ่านประชุมนัดแรก วางกรอบการทำงานเรียบร้อยนัดประชุมครั้งต่อไปวันที่ ๑๕ ก.พ. เวลา ๑๓.๐๐ น. เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ นายคณิต ณ นคร และนายโคทม อารียา ผู้มีประสบการณ์ศึกษาเรื่องนิรโทษกรรมและสร้างความปรองดองมาให้ความเห็นต่อ กมธ.กมธ.ยังเตรียมนำร่าง พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ทุกฉบับที่เสนอเข้าสภาฯ ทั้งของพรรคก้าวไกล พรรคครูไทยเพื่อประชาชน พรรครวมไทยสร้างชาติ และฉบับของตัวแทนเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน หยิบมาพูดคุยด้วยtt ttนายคณิต ณ นครทั้งหมดต้องหาจุดร่วมถึงการนิรโทษกรรมครอบคลุมเพียงใด โดยเฉพาะประเด็นที่พรรค การเมือง และสังคมถกเถียงกันยังไม่ตกผลึกอาทิ คดี ๑๑๒ คดีอาญา ร้ายแรง คดีทุจริต ส่วนช่วงเวลานิรโทษกรรม นับเป็นอีกประเด็นยังไม่ลงเอยว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ ซึ่งส่วนใหญ่ให้เริ่มตั้งแต่รัฐ ประหาร ปี ๒๕๔๙ และนิรโทษกรรมกับบุคคลใดบ้างในจังหวะที่ กมธ.กำลังศึกษาเพื่อออก พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมคดีทางการเมือง พ.ต.อ.ทวี บอกว่า เห็นด้วย เพราะเป็นการแก้ปัญหาทางการเมืองที่เป็นลักษณะเฉพาะ ฉะนั้นต้องนิรโทษกรรม และมีการเยียวยาฟื้นฟูในส่วนของ รัฐมนตรีว่าการยุติธรรม เป็นประธานพิจารณานิรโทษกรรมประชาชนเกี่ยวกับที่ดินทำกิน ที่ขัดแย้งกับรัฐย้อนหลังไปถึงปี ๒๔๘๔ เช่นอาจเริ่มนโยบายทวงคืนผืนป่าของรัฐบาลที่ผ่านมามีประชาชนถูกดำเนินคดีอาญาหลายหมื่นคดีพอเข้าสู่การร่างกฎหมายนิรโทษกรรมพบว่า มีเจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนได้รับผลกระทบ และขณะที่กำลังยกร่างฯก็ได้พิจารณาถึงกฎหมายป่าไม้ทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศไทยปัญหา คือการประกาศแนวเขตป่า ซึ่งภายหลังมีแนวเขตที่พิพาทระหว่างรัฐกับประชาชน ระหว่างรัฐกับรัฐ มีประชาชนจำนวนมากได้รับผลกระทบในหลายกฎหมายหลายฉบับtt ttนายโคทม อารียาและยังมีเรื่องใหญ่ที่อาจถูกมองข้าม ป่าตามแนวเขตมี ๑๓๕ ล้านไร่ แต่ปรากฏว่าป่าที่เป็นป่าจริง กรมป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรฯ สำรวจป่าทุกปี ป่าหายไปปีละ ๓-๔ แสนไร่ ป่าที่วัดตามนิยามความเป็นจริงมีแค่ ๑๐๒ ล้านไร่“ปัญหาในที่ดินทำกินเป็นความขัดแย้งขนาดใหญ่ ตอนนี้กระทรวงยุติธรรมระดมร่าง พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมที่ดินทำกินเสร็จแล้วได้ส่งไปให้หน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าของที่ดินดู ต่อไปเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชน และอาจเสนอเข้า ครม. ส่งกฤษฎีกา ปรับปรุงอีกรอบก่อนเป็นกฎหมายการนิรโทษกรรมคดีการเมืองก็มีความสำคัญ เป็นการสร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชน หลังจากมี ประชาชนจำนวนมากออกมาเรียกร้อง ต้องการอนาคตที่ดีขึ้นที่ผ่านมาส่วนใหญ่นิรโทษกรรมให้เฉพาะผู้ยึดอำนาจ คนทำรัฐประหาร แต่ประชาชนได้รับนิรโทษกรรมน้อย ฉะนั้นถือเป็นนิมิตหมายที่ดี”กมธ.ศึกษาออก พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมเดินหน้าทำไป กระทรวงยุติธรรมขยับศึกษาแนวนิรโทษกรรมเพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศ ทำเป็นคู่ขนานกันไป พ.ต.อ.ทวี บอกว่า เป็นการเสริมกันและกันโดยกระทรวงยุติธรรมทำเป็นกฎหมายแก้ความขัดแย้งใหญ่ของประเทศไทย เพราะเราไม่เคยออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ประชาชนหรือ ภาคประชาชนกลุ่มนี้เลย เพื่อลดความขัดแย้งในระดับกว้างได้เป็นอย่างดีอันหนึ่ง และถึงเวลาสังคายนามีประมวลกฎหมายป่าไม้ ๑ ฉบับ แนวเขตป่าถึงไม่ซ้ำกันไปมากรอบการศึกษานิรโทษกรรมของกระทรวงยุติธรรม รวมถึงปม คดี ๑๑๒ คดีอาชญากรรมร้ายแรง คดีทุจริตด้วย พ.ต.อ.ทวี บอกว่า เชิงวิชาการศึกษาไม่มีกรอบ เพราะไม่มีพิษเป็นภัยกับใคร ภายใต้รับฟังรอบด้านตามเกณฑ์มาตรฐานทำวิจัย ทำให้ผลออกมาถูกต้องแม่นยำ เอาอันนี้มาใช้ประโยชน์ขอย้ำเปิดกว้างทุกมิติ ส่วนจะย้อนไปถึงช่วงไหน ควรย้อนไปช่วงปี ๒๕๔๙ หลายคนอาจย้อนไปมากกว่านั้นก็ได้ แต่ว่าการนิรโทษกรรมที่เป็นโทษอาญา ช่วงนี้อยู่ในเรือนจำก็มี อาจเอาสักประมาณปี ๒๕๔๙การออก พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม เชื่อมั่นทำให้เกิดความปรองดอง ประเทศไทยเดินต่อไปได้ พ.ต.อ.ทวี บอกว่า ที่ผ่านมาการนิรโทษกรรม เป็นการเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งไปสู่สันติสุข สันติภาพย่อมเกิดขึ้นฉะนั้นเชื่อมั่นทำให้เกิดความสามัคคีสร้างความปรองดอง และสมานฉันท์.ทีมการเมืองคลิกอ่านคอลัมน์ “วิเคราะห์การเมือง” เพิ่มเติม