ด็อกเตอร์อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันการกำหนดชุดทักษะที่จำเป็นกลายเป็นเรื่องระดับสากล ดังจะเห็นได้จาก World Economic Forum (WEF) จะเผยแพร่ชุดทักษะที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ในหลายประเทศทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับชุดทักษะที่จำเป็นของประเทศตนเป็นการเฉพาะ เช่น สิงคโปร์ สวีเดน เยอรมนี ญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์ เป็นต้น สำหรับประเทศไทยยังไม่เคยมีการกำหนดชุดทักษะที่จำเป็น ดังนั้น อนุกรรมการสภาการศึกษาด้านวิจัย เทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมด้านการศึกษาได้ศึกษาที่มี ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา เป็นประธาน จึงได้กำหนดชุดทักษะที่จำเป็น (Essential Skills Set) สำหรับเด็กและเยาวชนไทยโดยได้ศึกษาและจัดทำข้อเสนอเรียบร้อยแล้ว และเตรียมเสนอต่อสภาการศึกษาพิจารณาผลักดันชุดทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็กและเยาวชนไทยในเร็วๆนี้เลขาธิการ สกศ.กล่าวอีกว่า สำหรับข้อเสนอชุดทักษะที่จำเป็นครอบคลุม ๔ มิติ คือทักษะด้านความรู้ ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและสมรรถนะที่ไม่ใช่ความรู้หรือทักษะทางเทคนิคเฉพาะทาง ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ และทักษะใหม่ที่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง โดยจัดเป็น ๒ กลุ่มทักษะ ได้แก่ ชุดทักษะพื้นฐาน และชุดทักษะขั้นสูง อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะกรรมการสภาการศึกษา เห็นชอบชุดทักษะที่จำเป็นนี้แล้ว จะนำไปสู่การนำร่องของหน่วยงานที่มีสถานศึกษา โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาจะสนับสนุนด้านวิชาการ หากประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนให้เด็กและเยาวชนไทยมีชุดทักษะที่จำเป็นจะเป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจในเรื่อง Skills Mitmatch ของตลาดงานที่ไทยเผชิญมาอย่างยาวนานด้วย.อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่
Related posts