Thursday, 19 December 2024

รสน้ำประปาอาจมีเปลี่ยน เหตุน้ำทะเลหนุนสูง-แต่คุณภาพยังมาตรฐาน

นายมานิต ปานเอม ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) เปิดเผยว่า การประปานครหลวงได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ภัยแล้งและน้ำต้นทุนในเขื่อนหลักมาโดยตลอดตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา พบว่าขณะนี้มีปริมาณน้ำน้อยกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา การประปานครหลวงจึงมีการเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยาถึงบริเวณสถานีสูบน้ำดิบสำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี (ซึ่งเป็นจุดรับน้ำที่มาผลิตน้ำประปาของ กปน.) ที่อาจส่งผลให้น้ำประปามีรสชาติเปลี่ยนแปลงในบางช่วงเวลา ในบางพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ที่อยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา แต่คุณภาพน้ำประปายังคงสะอาด ปลอดภัย ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก (WHO)ทั้งนี้ กปน. ได้เปิดศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์น้ำตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้ง และได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและกรมชลประทาน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกัน ซึ่งหากปริมาณหรือคุณภาพน้ำประปาเปลี่ยนแปลงไปจากช่วงปกติ การประปานครหลวงจะมีการแจ้งข่าวสารให้ทราบอย่างต่อเนื่องโดยลูกค้าสามารถติดตามคุณภาพน้ำประปารายวันได้ ผ่านช่องทางการติดต่อออนไลน์ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ทั้ง Facebook/Line/X และ Instagram : @MWAthailand และสามารถติดตามค่าคุณภาพน้ำต่างๆแบบเรียลไทม์ได้ทาง http://twqonline.mwa.co.th  และแอปพลิเคชัน MWA onMobile เพื่อให้ลูกค้าเตรียมตัวรับสถานการณ์ ตลอดจนวางแผนการใช้น้ำประปาและสำรองน้ำประปาได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที นอกจากนี้ กปน. ขอความร่วมมือในการใช้น้ำประปาอย่างรู้คุณค่า และช่วยกันประหยัดการใช้น้ำในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีน้ำใช้ตลอดฤดูแล้ง.อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่

Related posts
ชวนผู้กู้ กยศ. ถูกดำเนินคดีปี ๕๗ ที่ยังมีหนี้ค้าง “ปรับโครงสร้างหนี้” ปลดภาระผู้ค้ำ
ยอดโควิด-๑๙ ยังเพิ่มหลังสงกรานต์ รัฐบาลห่วงประชาชน แนะสวมหน้ากากในที่แออัด
ดาวพฤหัสย้าย ๒๕๖๗ ตัดเกรด ราศีสุดปัง รับโชคค้าขาย ทางแก้เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี
ไฟปะทุอีกรอบ เหตุเพลิงไหม้โกดังโรงงานเก็บกากสารเคมี ผู้ว่าฯ ระยอง ลงพื้นที่
“อ.ปริญญา” มองเลือกไขว้ สว. ฮั้วกันยาก แต่แนะ กกต. จับตาเงินซื้อเสียง
“วันนอร์” แนะก้าวไกล เสนอร่างแก้รธน. เข้าสภา หากถูกศาลตีตก อาจเสียเวลากว่าทำประชามติ