Thursday, 19 December 2024

เท "แก้มลิงบึงคลองคู้บอน" พื้นที่รับน้ำฝั่งตะวันออก-กทม.ไม่มีงบเวนคืน

17 Feb 2024
136

นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการวางผังและพัฒนาเมือง (สวพ.) กทม.กล่าวถึงกรณีมีการตั้งข้อสังเกตโครงการบึงรับน้ำคลองคู้บอนไม่มีในร่างผังเมืองรวม กทม.ฉบับใหม่ (ปรับปรุงครั้งที่ ๔) ว่า โครงการบึงรับน้ำคลองคู้บอนเป็นหนึ่งในโครงการป้องกันน้ำท่วมของ กทม.โดยสำนักการระบายน้ำ (สนน.) ได้ออกแบบเบื้องต้นโครงการดังกล่าวแล้ว แต่กระบวนการจัดหาพื้นที่ยังไม่แล้วเสร็จ ต่อมา สนน.มีแผนพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำคลองสายหลักในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครเพิ่มเติม ได้แก่ คลองพระยาสุเรนทร์ คลองบางชัน คลองคู้บอน ให้มีประสิทธิภาพการระบายน้ำลงสู่คลองแสนแสบด้านใต้เพิ่มขึ้น ควบคู่กับการพัฒนาระบบระบายน้ำต่างๆตามแผนงาน รวมทั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำชั่วคราวเพิ่มเติมในพื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วม เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาทบทวนโครงการบึงรับน้ำคลองคู้บอนอีกครั้งว่ายังมีความจำเป็นและเหมาะสมหรือไม่ ประกอบกับสภาพพื้นที่ปัจจุบันไม่มีสภาพเป็นบึงรับน้ำ จึงไม่ได้กำหนดเป็นพื้นที่รับน้ำตามร่างผังเมืองรวม กทม. (ปรับปรุงครั้งที่ ๔)ด้านนายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กล่าวว่า โครงการจัดทำบึงรับน้ำคลองคู้บอนเป็นโครงการก่อสร้างแก้มลิง เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมตามผลการศึกษาระบบระบายน้ำในปี ๒๕๕๖ ที่ได้เสนอแนะให้เวนคืนที่ดินว่างเปล่าริมคลองคู้บอน จำนวน ๑๓๐ ไร่ และจัดทำแก้มลิงขนาด ๘๗๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ซึ่ง สนน.และสำนักการโยธา (สนย.) ได้ประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเมื่อปี ๒๕๖๐ โดยดำเนินการต่อเนื่องตามขั้นตอน เพื่อออก พระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน แต่เนื่องจากการพัฒนาของเมือง ทำให้สภาพพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ได้ศึกษาไว้ สนน.จึงได้ศึกษาทบทวนถึงความจำเป็น ความเหมาะสม และความคุ้มค่าของโครงการอีกครั้ง เนื่องจากการจัดทำบึงรับน้ำคลองคู้บอนจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก คาดว่าการศึกษาดังกล่าวจะแล้วเสร็จในเดือน มีนาคม๖๗รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการบึงรับน้ำบริเวณคลองคู้บอน เขตคันนายาว เป็นโครงการบึงรับน้ำที่ สนน.ได้ดำเนินการตามแผนแม่บทระบบระบายน้ำของ กทม. สนน.จึงได้ประสาน สนย.ดำเนินการออก พระราชกฤษฎีกาเวนคืนพื้นที่ ๑๓๐ ไร่ เพื่อจัดทำโครงการบึงรับน้ำคลองคู้บอน ปริมาณกักเก็บ ๘๗๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ สนย.ได้จัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พบว่า ประชาชนเห็นด้วยกับโครงการร้อยละ ๙๓.๓๖ และอยู่ในขั้นตอนการออก พ.ร.ฎ. กระทั่งคณะผู้บริหาร กทม.ชุดใหม่เข้ามา มีการสั่งให้ทบทวนและยุติโครงการดังกล่าว เพราะ กทม.ไม่มีงบประมาณในการเวนคืนที่ดิน.อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่