Sunday, 19 January 2025

โควิดความจริงที่ถูกเปิดเผย (ตอนที่ ๕)

18 Feb 2024
144

รายงานฉบับเต็มของรัฐสภาสหรัฐฯมีความยาว ๓๐๑ หน้า ออกในเดือนมกราคม ๒๐๒๓ และเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปในเดือนเมษายน ๒๐๒๓ ทั้งนี้มีหลักฐานยืนยันประกอบไม่น้อยกว่า ๑,๕๗๐ รายการรายงานฉบับนี้มีความสมบูรณ์และเป็นหลักฐาน ทำให้มีการเรียกสอบสวนบุคคลที่เกี่ยวข้องต่างๆ ในรัฐสภาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน… กลับมาถึงประเด็นสำคัญที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ของเรายุติการทำงานและการรับทุนจากสหรัฐฯ เกิดขึ้นเมื่อมีการประชุมผ่านซูมกับ Daszak EHA ในวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๐๑๙ ทั้งนี้ องค์กรมีการเสนอขอรับทุนจาก NIH และต้องการให้ ศูนย์วิทยาศาสตร์รับผิดชอบ ตั้งศูนย์ภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เรียกว่า CREID ทั้งนี้ โดยจากการติดต่อครั้งต่อมา ในวันที่ ๑๘ สิงหาคมและวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๐๒๐ นั้น มีสิงคโปร์และสถาบันไวรัสอู่ฮั่นร่วมอยู่ด้วยเอกสารรายละเอียดของโครงการได้ระบุชัดเจนว่า จะมีการนำตัวอย่างส่งไปต่างประเทศ เพื่อทำการพัฒนา ทั้งในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง ในการตัดต่อพันธุกรรม เพื่อให้เข้ามนุษย์และสัตว์ที่ปรับเปลี่ยนคล้ายมนุษย์ให้ได้ดียิ่งขึ้น โดยเจาะจงไวรัสที่เกิดโรคระบาด ในตระกูลโคโรนา อีโบลา และนิปาห์ การทาบทามดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาดโควิดจนกระทั่งถึงหลังระบาดแล้วใหม่ๆ และเป็นเหตุผลสำคัญที่เราไม่ร่วมมือด้วยหลักฐานที่สำคัญจากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพคือ การพบกล่องตัวอย่างไวรัสที่เตรียมนำส่งไปยังสิงคโปร์ โดยคนไทยคนหนึ่ง…นอกจากนั้นทางศูนย์ไม่รับข้อเสนอของสิงคโปร์ที่จะให้นักวิทยาศาสตร์ของศูนย์ไปทำปริญญาเอกต่อ โดยนำไวรัสโคโรนาจากค้างคาวไปด้วยเพื่อไปศึกษา ตัดต่อพันธุกรรมเพื่อให้เข้ามนุษย์ได้ดีขึ้นและโครงการนี้ไม่ได้ให้ความสนใจในการวินิจฉัยหาโรคในมนุษย์และไม่มีการยืนยันว่าจะมีการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีจากการประชุมในวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๐๒๐ ในเดือนเมษายน ๒๐๒๒ ทางศูนย์ได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯและจาก Los Alamos ถึงท่าทีในการจะทำงานสัตว์ป่าต่อหรือไม่ ซึ่งเราได้ยืนยันชัดเจนว่า ไม่ร่วมด้วยและถือว่า โรคในคนเป็นจุดสำคัญที่สุดซึ่งจะช่วยชีวิตมนุษย์ได้ และการได้รับการวินิจฉัยโดยเร็วที่สุดนั้น สามารถบอกได้ว่ามีโรคอุบัติใหม่เข้ามาในมนุษย์หรือไม่ ซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับคำอธิบายดังกล่าว เราได้แสดงว่า ระยะเวลาเป็น ๑๐ ปีในการรวบรวมไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่า ไม่ได้นำมาถึงการคาดคะเนหรือการพยากรณ์ว่าตัวใดจะทำให้เกิดโรคระบาดศูนย์ได้ประกาศแจ้งชัดในจุดยืนต่อองค์กรระหว่างประเทศทั้งหมด รวมทั้งแสดงจุดยืนใน GOARN survey (global outbreak alert and response work) ในวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๐๒๑ ซึ่งเป็นเครือข่ายร่วม ระหว่างองค์การอนามัยโลกและองค์กรอื่นๆ ถึงจุดยืนที่ต้องปรับเปลี่ยน กระบวนความคิดและการปฏิบัติ ในการรับมือโรคอุบัติใหม่ และต้องยุติการหาไวรัสจากสัตว์ป่าและค้างคาวซึ่งไม่คุ้มค่าและอาจเกิดอันตรายอย่างสูงรวมทั้งการประชุมผ่านซูมขององค์การอนามัยโลกเจนีวาในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๐๒๑ รวมทั้ง การประชุมร่วมขององค์การอนามัยโลกและองค์การอนามัยสัตว์โลก ที่กรุงปารีสในเดือนธันวาคม ๒๐๒๒ ซึ่งนายแพทย์ธีระวัฒน์ได้รับเชิญให้ไปบรรยาย จากนั้นได้แสดงจุดยืน ในการประชุมของสภาความมั่นคงแห่งชาติที่ได้รับเชิญจากเลขาธิการสภาความมั่นคง ในเดือนมีนาคม ๒๐๒๓ รวมทั้งการบรรยายในการประชุมที่จัดโดยกรมควบคุมโรคในวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๐๒๓ และย้ำถึงอันตรายจากการเสาะหาค้างคาวและไวรัสต่างๆการที่ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการวิธีการในโรคอุบัติใหม่นั้น มีความจำเป็นมาก ทั้งนี้ ๕๐ ถึง ๘๐% ของโรคติดเชื้อในมนุษย์นั้น โดยเฉพาะโรคสมองอักเสบ ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ดังนั้น ต้องใช้งบประมาณ ทุ่มเทในเรื่องของการวินิจฉัยโรคในคนป่วยเป็นสำคัญ และถ้าสามารถวินิจฉัยเชื้อในคนที่ติดโรคได้ จะสามารถบอกได้ว่าเป็นเชื้อใหม่ที่เป็นโรคอุบัติใหม่ได้เลยโดยที่สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างทันท่วงทีในส่วนของตัวอย่างไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่าที่เก็บตั้งแต่ปี ๒๐๐๐ ถึง ๒๐๑๑ โดยได้รับทุนจากในประเทศ และตั้งแต่ ๒๐๑๒ จากองค์กรต่างประเทศ จนกระทั่งถึงที่ศูนย์ยุติโครงการทั้งหมดนั้น อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์ทั้งสิ้น ทั้งนี้ โดยทุนผ่านทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจากต่างประเทศผ่านมหาวิทยาลัยและจัดการผ่านศูนย์วิทยบริการโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ คือศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพและโรคอุบัติใหม่ และศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกทางด้านค้นคว้าและอบรมโรคไวรัสสัตว์สู่คน โครงการสุดท้ายที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ รับผิดชอบโดยโครงการจบสิ้นในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๐๒๐ และมีการรายงานในวันที่ ๘ กันยายน ๒๐๒๐โครงการจัดตั้งศูนย์ภาคพื้นตะวันออกเฉียงใต้ CREID Daszak ได้ประกาศในเว็บ ทั้งนี้ สืบค้นในเดือนธันวาคม ๒๐๒๒ ถึงหัวหน้าโครงการและผู้ร่วม โดยมีการระบุชื่อนายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ทั้งนี้ ได้รับการสอบถามจากทางหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ว่ายังร่วมอยู่อีกหรือ? และได้ตอบไปด้วยความตกใจว่า ยุติไปตั้งนานแล้ว…ทั้งนี้ หน่วยงานอิสระของรัฐบาลสหรัฐฯ GAO (US government accountability office) ได้สอบถามนายแพทย์ธีระวัฒน์ในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๐๒๓ โดยหน่วยงานนี้ ไม่ขึ้นอยู่กับพรรคการเมืองใด และทำหน้าที่ตรวจสอบการให้ทุนของรัฐบาลสหรัฐฯต่อสถาบันในประเทศและต่างประเทศ…ในส่วนที่ถามนั้น เกี่ยวข้องกับการหาไวรัสจากสัตว์ป่าและค้างคาวว่า ได้ประโยชน์หรือไม่ในการคาดคะเนว่าจะเกิดโรคอุบัติใหม่ และได้ประโยชน์หรือไม่ ในการพัฒนาการเตรียมพร้อมและรับมือสำหรับโรคอุบัติใหม่ รวมถึงการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี และมีความเสี่ยงหรือไม่ในการหาไวรัสดังกล่าว และมีความพร้อมเพรียงระดับใดในการป้องกันจากการติดเชื้อและการแพร่ออกไปสู่ชุมชนภายนอกทางศูนย์ได้ตอบไปว่าไม่ได้ประโยชน์ และมีอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ ทางศูนย์วิทยาศาสตร์ไม่ได้ตระหนักถึงเรื่องความเสี่ยงระดับนี้ ทั้งนี้โดยที่นักวิทยาศาสตร์จากกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯที่ควบคุมโครงการ ขณะที่มาเยี่ยมก็ไม่ได้มีการเคร่งครัดในเรื่องความปลอดภัยใดๆ จากที่ทำอยู่ และจากความที่รู้สึกว่า ไม่มีใครตายจากการศึกษาวิจัยดังกล่าวจากพระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ในปี ๒๕๕๘ ระบุชัดเจน จากที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้น มีโทษทั้งปรับและจำตามระดับความเสียหายที่เกิดขึ้น…จากการที่ไม่สามารถคาดคะเนถึงระดับความร้ายแรงของเชื้อที่ไม่ทราบชื่อจากค้างคาว รวมทั้งมีการระบาดของโควิดตั้งแต่ปลายปี ๒๐๑๙ และหลักฐานจากการตัดต่อพันธุกรรมและการหลุดจากแล็บ ตอกย้ำถึงการที่ต้องยุติและทำลายตัวอย่างเหล่านี้ทั้งหมด.หมอดื้อคลิกอ่านคอลัมน์ “สุขภาพหรรษา” เพิ่มเติม